ใครที่ทำงานอยู่บ้านแล้วนั่งทั้งวัน ไม่ได้ออกกำลังกายเลยเพราะงานยุ่ง ตอนนี้มีตัวช่วยใหม่ที่ทำให้เราสามารถทำงานไปด้วยและมีสุขภาพที่ดีขึ้นไปด้วย ตัวช่วยนี้มีชื่อว่า Walkolution เป็นลู่วิ่งไม้แบบไม่ใช่ไฟฟ้าที่ทำให้เราวิ่งหรือเดินไปพร้อมกับการทำงานหน้าคอมได้ นวัตกรรมนี้ได้รับการออกแบบโดย Dr.Eric Söhngen และ Frank Ackermann จากประเทศเยอรมัน และช่วยให้คนทำงานสามารถเอนจอยกับการวิ่งได้แม้ในตอน meeting ออนไลน์ เพราะมันเป็นลู่วิ่งอนาล็อกจึงทำให้เกิดเสียงเบามาก แถมตัวลู่วิ่งยังมาพร้อมกับดีไซน์พิเศษที่มีลักษณะเหมือนที่พิงหลัง ช่วยให้เราสามารถพิงหลังได้อย่างสบาย แถมยังช่วยแก้โรคปวดหลังและปวดอกอีกจากการนั่งเป็นเวลานานอีกด้วย นอกจากนี้ การใช้งานลู่วิ่งยังไม่จำเป็นต้องใส่รองเท้ากีฬา เพราะที่พื้นมีแผ่นบานเกล็ดที่มีคุณสมบัติเด่นเรื่องความยืดหยุ่นคล้ายสปริง เวลาวิ่งบนเครื่องจะให้ความรู้สึกเหมือนเหยียบพื้นป่าอ่อน ๆ ยิ่งไปกว่านั้น การกระดอนกลับและความแข็งหลายระดับของพื้น ยังช่วยคลายความตึงของกล้ามเนื้อและเกิดความผ่อนคลายอีกด้วย สิ่งนี้ช่วยป้องกันการเกิดการเจ็บปวดที่เดิมซ้ำ (Repetitive Strain Injury: RSI) ไปพร้อมกับการช่วยพัฒนาการประสานงานและสมดุล แถมพอเราซื้อสินค้า เราอาจมีส่วนช่วยโลกด้วย เพราะเมื่อขายสินค้าได้แต่ละชิ้น ทางบริษัทจะมีการปลูกต้นไม้ทดแทน 10 ต้น เพื่อชดเชยการนำวัสดุไปใช้และการปล่อยก๊าซในขั้นตอนการผลิด ความพิเศษของตัวลูวิ่งยังมีอีก คือ เราไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษามัน แถมยังไม่ต้องทาน้ำมัน หรือ หล่อลื่นอีกด้วย ตัวลู่วิ่งทำมาจากบีชและไม้อัดเบิร์ช ส่วน inner frame ทำมาจากเหล็กแข็งที่รองรับน้ำหนักได้มากกว่า 160 กิโลกรัม
ชีวิตของคนทำงานหลายคน คงเคยเจอกับผู้จัดการหรือบอสที่มีนิสัยจุกจิกจู้จี้ ชอบติดตามและวิจารณ์เราในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องเล็ก หรือ เรื่องใหญ่ อยู่ตลอดเวลา เราเรียกคนประเภทนี้ว่าเป็น micromanager และนิสัยของพวกเขา (micromanangement) ทำร้ายเพื่อนร่วมงานได้อย่างร้ายแรง UNLOCKMEN จึงอยากมาแนะนำวิธีรับมือกับ micromanangement เพื่อให้คนที่เป็น micromanagers หรือ คนที่ถูก micromanangement สามารถรับมือกับพฤติกรรมนี้ได้อย่างเป็นมืออาชีพมากขึ้น วิธีการสังเกต micromanager ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า micromanager คือ กลุ่มคนที่ชอบให้ความสนใจและพยายามควบคุมรายละเอียดที่ไม่สำคัญของงาน และมักเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกี่ยวข้องกับที่งานของตัวเองจริง ๆ ลักษณะที่เห็นได้บ่อยในคนกลุ่มนี้ก็เช่น ถ้าพนักงานของพวกเขาไม่ได้ทำงานด้วยวิธีที่สั่งไว้แบบ 100% พวกเขาจะไม่พอใจเลย แม้สุดท้ายงานจะออกมาดีก็ตาม, พวกเขามักอยากรู้ว่าพนักงานทำอะไร หรือ อยู่ที่ไหนตลอดเวลา โดยอาจแสดงพฤติกรรม เช่น ถามสถานะของโปรเจ็กต์จากพนักงานอย่างต่อเนื่อง พวกเขามักขอให้พนักงานส่งต่อสำเนาอีเมล์ทุกอย่าง แม้จะเป็นเมล์ที่ไม่สำคัญกับงานก็ตาม และซ้ำร้ายพวกเขามักไม่รู้ตัวด้วยว่าพฤติกรรมของตัวเองทำลายความโปรดักทีฟในการทำงานของทีมมากแค่ไหน งานวิจัยพบว่า micromanagement เป็นหนึ่งในเหตุผล top 3 ที่ทำให้พนักงานตัดสินใจลาออก และมันสามารถส่งผลเสียต่อพนักงานในระยะยาวได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ทำให้ความโปรดักทีฟในการทำงานต่ำลง ทำให้พนักงานลาออกเยอะ สร้างความไม่พอใจ
ท่ามกลางสมรภูมิการทำงานที่แต่ละบริษัทสู้รับกันอย่างดุเดือด มองเผิน ๆ แล้วเราอาจแบ่งบริษัทได้เป็นสองประเภทหลัก คือบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานนับร้อยพ่วงมากับเงินทุนหลายล้าน ซึ่งดูเป็นบริษัทที่มั่นคงและค่อนข้างมีระเบียบ ในทางกลับกันก็มีบริษัทขนาดย่อมที่รวมพนักงานทั้งหมดแล้วยังไม่ถึงครึ่งแผนกของบริษัทแรก แต่สิ่งที่ได้เปรียบคือพนักงานจำนวนน้อยนิดนั้นทำงานเข้าขากันสุด ๆ แต่ถ้าจะให้วัดประสิทธิภาพการทำงานของทั้งสองบริษัทข้างต้น อาจตอบไม่ได้เต็มปากว่าบริษัทไหนจะเจ๋งกว่ากัน เพราะบริษัทใหญ่อาจไม่ได้เป็นต่อเสมอไป และการทำงานในบริษัทเล็กก็คงไม่ได้แปลว่าด้อยกว่าไปเสียทุกเรื่อง แล้วอยากรู้ไหมครับว่าการทำงานในบริษัทเล็กดีกว่าบริษัทใหญ่ตรงไหนกัน? ทีมเล็ก ๆ ก็แก้ไขปัญหาใหญ่ ๆ ได้ การทำงานในทีมเล็ก ๆ ไม่เพียงทำให้คนในทีมรู้จักสนิทสนมกันมากกว่าทีมใหญ่ หากยังช่วยให้มองเห็นทักษะของเพื่อนร่วมงานแต่ละคนได้อย่างใกล้ชิด พร้อมเรียนรู้และนำความสามารถของกันและกันไปแก้ปัญหาอย่างตรงจุด เมื่อต้องตัดสินใจแก้ปัญหาเรื่องอะไรสักเรื่อง ทุกคนในทีมเล็ก ๆ มีแนวโน้มจะเข้าใจและเห็นภาพตรงกันมากกว่าทีมใหญ่ ทำให้สามารถตัดสินใจเรื่องยากได้ดีขึ้นในขอบเขตเวลาที่สั้นลง ทุกคนโฟกัสในเรื่องเดียวกัน เมื่อคนเยอะ ปัญหาก็เยอะขึ้น และความคิดเห็นที่แตกต่างอาจนำมาสู่การถกเถียงกันไม่จบสิ้น กลับกันถ้าทีมของคุณมีเพียงไม่กี่คน พนักงานทุกคนคงจะโฟกัสการทำงาน การประชุม และทำให้หลาย ๆ ความคิดกลมเกลียวกว่าเดิม มีงานวิจัยด้านจิตวิทยาอ้างว่า เมื่ออยู่ในทีมที่มีขนาดเล็กลงจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละคนเพิ่มขึ้นตามมา เพราะถ้าทำงานในทีมใหญ่ ๆ ก็อาจไม่จำเป็นต้องแสดงความคิดเห็น และบางคนมักจะรู้สึกว่าตนไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น การสื่อสารที่ง่ายและราบรื่นกว่า การสื่อสารเป็นกำแพงพื้นฐานที่ทุกคนในบริษัทต้องทลายมันร่วมกัน เนื่องจากการทำงานที่ดีต้องอาศัยทักษะการสื่อสารที่เป็นระบบ ซึ่งการทำงานในทีมเล็ก ๆ ก็มีลักษณะแกมบังคับให้คุณต้องแสดงความคิดเห็นและสื่อสารกับคนในทีมแบบเลี่ยงไม่ได้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือทุกคนจะทำงานเข้าขากันมากขึ้น ทำให้ความสัมพันธ์ของคนในทีมใกล้ชิดกันกว่าที่เคย และมีโอกาสที่ทุกคนในทีมจะรักใคร่ปรองดอง ตลอดจนเคารพซึ่งกันและกันมากกว่า
เพราะการทำงานกินเวลามากถึง 1 ใน 3 ของวัน ผู้ชายเราจึงต้องใช้เวลาทำงานแทบทุกวินาทีให้คุ้มค่ามากที่สุด แต่คงต้องยอมรับว่ามีหลายปัจจัยในออฟฟิศที่บ่อนทำลายการทำงานที่เป็นระบบระเบียบของเราจนพังไม่เป็นท่า หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้นเรื่อง ‘ความเป็นส่วนตัว’ ที่หนุ่ม ๆ ถูกรุกล้ำจากเพื่อนร่วมงานโดยที่พวกเขาตั้งใจหรือไม่ก็ตาม สาเหตุที่ทำให้คนในออฟฟิศยุคนี้ไม่ค่อยเคารพพื้นที่ส่วนตัวของกันและกัน อาจเป็นเพราะปัจจุบันวัฒนธรรมการทำงานขององค์กรที่เน้นการพูดคุยและแชร์ไอเดีย จนทำให้ใครหลายคนหลงลืมไปว่าความเป็นส่วนตัวก็ยังเป็นเรื่องที่สำคัญอยู่ เมื่อเราเริ่มเคยชินกับวัฒนธรรมการทำงานแบบนี้ จนอาจหลงลืมเรื่องการไม่ละเมิดสิทธิต่อเพื่อนร่วมงานลดน้อยลงไปด้วย แถมออฟฟิศหลายแห่งก็ออกแบบให้เปิดโล่งและไม่ได้แบ่งสัดส่วนที่แน่ชัด หวังจะสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีและช่วยให้คนในออฟฟิศปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น แต่ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำลายความเป็นส่วนตัวอย่างเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน นี่คือ 3 เหตุผลดี ๆ ที่คุณยังต้องการความเป็นส่วนตัวในที่ทำงาน (ต่อให้ไม่ได้แอบทำงานนอกหรือมีความลับอะไรก็ตาม) เพื่อความคิดสร้างสรรค์ ต้องบอกว่าความเป็นส่วนตัวจำเป็นอย่างมากต่อความคิดสร้างสรรค์ ลองจินตนาการภาพตอนที่คุณนั่งคิดงานเงียบ ๆ คนเดียว กับตอนที่นั่งคิดงานท่ามกลางเสียงพูดคุยจ้อกแจ้กจอแจ มันคงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แม้การทำงานร่วมกันจะไม่สามารถหนีจากการระดมความคิดเป็นหมู่คณะได้ แต่เมื่อใดที่คุณได้ครุ่นคิดบางเรื่องเงียบ ๆ คนเดียว สมองซีกขวาที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของคุณคงได้ทำงานได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีสิ่งเร้าใด ๆ มารบกวน มีสมาธิและจดจ่ออยู่กับสิ่งตรงหน้ามากขึ้น นอกจากความเป็นส่วนตัวจะเอื้อประโยชน์ต่อความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังทำให้เรามีสมาธิและจดจ่ออยู่กับงานที่ทำมากขึ้นอีกด้วย เราเชื่อว่าการทำงานโดยไม่มีใครมาคอยขัดจังหวะทุก ๆ 5 นาที หรือใส่หูฟังทำงานแบบไม่สนใจบทสนทนาฟุ่มเฟือยของเพื่อนร่วมงาน อาจทำให้หนุ่ม ๆ ทำงานเสร็จรวดเร็วและรอบคอบกว่าเดิมก็เป็นได้ อยากมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของบริษัท การที่หนุ่ม ๆ ปกป้องความเป็นส่วนตัวได้และไม่ถูกรบกวนเวลาทำงาน
พอทำงานมาได้สักพักหนึ่ง คงมีผู้ชายหลายคนที่ยังสนุกอยู่กับงานที่ทำ รู้สึกตื่นเต้น ท้าทาย และมีความสุขทุกครั้งเมื่อต้องทำงานภายใต้แรงกดดัน หรือได้ลองทำโปรเจกต์หินเพื่อพิสูจน์ตัวเอง แต่เราเชื่อว่ามีผู้ชายไม่น้อยที่กำลังเบื่องาน เบื่อคน และมีแพลนจะย้ายงานในเร็ววันนี้ UNLOCKMEN เลยอยากให้หนุ่ม ๆ พิจารณาให้ถี่ถ้วนเสียก่อน เพราะไม่ใช่ทุกออฟฟิศที่จะน่าทำงาน และไม่ใช่ว่าผลตอบแทนสูงลิ่วจะการันตีถึงความมั่นคงได้เสมอไป แล้วออฟฟิศแบบไหนที่ผู้ชายอย่างเราไม่ควรทนทำงานต่อหรือไม่ควรหลวมตัวสมัครเข้าไปทำงาน? ค่าตอบแทนสูงแต่ไม่มั่นคง ระบบการจ้างงานในปัจจุบันคงจำแนกได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือการจ้างงานแบบประจำและการจ้างงานแบบชั่วคราวหรือสัญญาจ้าง ซึ่งต้องยอมรับว่าข้อตกลงแบบสัญญาจ้างนั้นให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่า แม้จะได้เงินเดือนสูงแต่อาจต้องแลกมากับชีวิตการทำงานที่ไม่มั่นคง เพราะคุณไม่สามารถรู้ได้เลยว่าบริษัทจะว่าจ้างคุณทำงานต่อในปีถัดไปหรือไม่ ถ้าไม่ คุณจะวางแผนการหางานอย่างไร ไม่ให้ตัวเองตกงาน? วัฒนธรรมองค์กรสุดพิลึก เราเคยได้ยินมาว่าความรู้สึกแรกเชื่อได้เสมอ ถ้าคุณไปสัมภาษณ์งานวันแรกและรู้สึกประทับใจหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่สภาพแวดล้อมในการทำงาน มันอาจทำให้คุณมีความสุขเมื่อได้ทำงานที่นี่จริง ๆ เพราะวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวกนั้นช่วยขับเคลื่อนประสิทธิภาพการทำงานและความก้าวหน้าของบริษัทได้ ในทางตรงกันข้ามถ้าวันสัมภาษณ์งานของคุณเต็มไปด้วยปัญหา เห็นความขัดแย้งของหัวหน้ากับพนักงานคนอื่น ๆ หรือได้ฟังคำถามที่บ่งบอกถึงตรรกะแปลกประหลาดบางอย่าง อย่ารอช้า รีบเผ่นเถอะ! พนักงานลาออกบ่อย ก่อนที่จะตัดสินใจไปสัมภาษณ์งาน เราอยากให้หนุ่ม ๆ ศึกษาข้อมูลที่ทำงานใหม่ก่อน ว่าที่นี่เปิดรับพนักงานมากน้อยเพียงใดและเปิดรับสมัครบ่อยแค่ไหน ถ้าบริษัทดังกล่าวเปิดรับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงทุก ๆ 3-6 เดือน แปลว่าบริษัทนี้กำลังเข้าขั้นวิกฤตและขาดการบริหารจัดการที่ดี หรือเมื่อเข้าทำงานแล้วเห็นเพื่อนร่วมงานพากันลาออกยกแก๊ง คุณอาจต้องกลับไปคิดว่าสาเหตุของปัญหานี้คืออะไร เพราะมันอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและความมั่นคงของบริษัทคุณได้ บทบาทงานไม่เหมือนที่คุยกันไว้
‘ความเหงา’ เป็นความรู้สึกปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกคน ผู้ชายส่วนใหญ่มักจะเหงาตอนที่ต้องอยู่คนเดียว บ้างเหงาตอนที่สายฝนโหมกระหน่ำยามค่ำคืน แต่ผู้ชายบางคนกลับรู้สึกเหงาขึ้นมาดื้อ ๆ ในที่ทำงาน แม้ตลอด 8 ชั่วโมงที่วุ่นวายดูจะไม่มีเวลาว่างให้ความเหงาเข้าแทรกได้ แต่ผลสำรวจของเว็บไซต์ CV-Library เผยว่ามีพนักงานกว่าครึ่งกำลังรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว และเปล่าเปลี่ยวในที่ทำงาน ยิ่งไปกว่านั้นไอ้ความเหงาที่แสนธรรมดานี้ดันส่งผลเสียต่อการทำงานของพวกเขาอย่างไม่น่าเชื่อ CV-Library หนึ่งในเว็บไซต์จัดหางานของอังกฤษได้สำรวจพนักงาน 2,000 คน เรื่องความรู้สึกเหงาในที่ทำงาน แม้พนักงานที่มีอายุระหว่าง 35-44 ปี จะเป็นช่วงวัยที่เหงามากที่สุด แต่ก็มีพนักงานกว่าครึ่งในบริษัทที่กำลังเผชิญปัญหาเช่นเดียวกันนี้ ปัจจัยที่ทำให้พนักงานรู้สึกเหงา เป็นเพราะพวกเขาต้องนั่งทำงานท่ามกลางหนุ่มสาวหน้าใหม่ไฟแรง เลยอดคิดไม่ได้ว่าตนแตกต่างจากเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ จึงเลือกจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับตัวเองมากกว่าเข้าไปทักทายหรือพูดคุย นานเข้าชีวิตที่ไร้บทสนทนากับเพื่อนร่วมงานจึงก่อตัวเป็นความเหงาโดยที่พวกเขาไม่อาจหลีกเลี่ยง หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังรู้สึก ‘เหงา’ ในที่ทำงาน ไม่ว่าจะด้วยความต่างของช่วงวัย ลักษณะนิสัยส่วนตัว หรือบรรยากาศในออฟฟิศ นี่คือ 5 วิธีที่จะช่วยกำจัดความเหงาและทำให้คุณกลับมามีความสุขกับการทำงานอีกครั้ง! เริ่มบทสนทนากับเพื่อนร่วมงาน ออฟฟิศของคุณมีบรรยากาศเงียบเหงาหรือตัวคุณเองที่เงียบกันแน่? ถ้าไม่อยากรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดายในที่ทำงาน หนุ่ม ๆ อาจต้องพยายามสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ให้มากขึ้น เริ่มจากคำทักทายสั้น ๆ “อรุณสวัสดิ์ เมื่อคืนเป็นไงบ้าง” หรือประโยคบอกลาง่าย ๆ
หลายครั้งที่ขัดใจกับการกระทำของใครสักคน แล้วอยากจะเข้าไปบอกตรง ๆ ว่า “นายทำงี้ไม่ได้ว่ะ” แต่ด้วยสถานะ ความปากไว หรือความอ่อนไหวของคนฟังที่เราไม่อาจหยั่งรู้ได้ว่าใคร Sensitive กับเรื่องราวหรือคำพูดแบบไหน จนทำให้ต้องเก็บคอมเมนต์ไว้ในใจ แต่ถ้าไม่พูดเลยก็คงไม่ได้ เพราะในเมื่อจุดประสงค์ของเราจริง ๆ คือการติเพื่อก่อ ไม่ใช่เพื่อความสะใจส่วนตัว ยิ่งในการทำงาน การคอมเมนต์กันถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นในครั้งต่อ ๆ ไป UNLOCKMEN อยากชวนใครที่อึดอัดอยากจะติเตียนใคร แต่กลัวจะมองหน้ากันไม่ติด ด้วยเทคนิคเจ๋ง ๆ ที่เราแนะนำ ตำหนิให้ถูกคน ก่อนอื่นเลยต้องหาให้ถูกตัวซะก่อน ปัญหานี้มักเกิดในกลุ่มคนทำงานนี่แหละ บางครั้งมองในภาพรวมเราก็เดาไม่ออกว่าใครที่เป็นต้นเหตุของเรื่องกันแน่ จะไปติเขาแบบสุ่มสี่สุ่มห้าก็ไม่ได้ เพราะถ้าหากอีกฝ่าย Strike Back กลับมาว่า “ไม่ใช่กู” “กูไม่ได้ทำ” เรานี่แหละที่จะหน้าแตกแบบเต็ม ๆ ทางออกของเรื่องนี้ง่ายมาก ๆ ถ้าไม่ทุ่มเทความสนใจตั้งแต่แรก จนรู้หมดว่า Process นี้ใครทำ ก็ต้องมีสปายคอยสอดส่องว่า ใครรับผิดชอบจุดไหน จะได้จับมือมาดมกันได้ถูกคน ดูสถานะ บางครั้งดูแค่เจ้านายกับลูกน้องมันยังไม่พอ ง่าย ๆ เลย เราจะไม่ตำหนิหัวหน้าทีมเหมือนกับเด็กฝึกงานหรือน้องใหม่
“แค่คิดว่าอยากแก้ จะรื้อแล้วให้ผมเสกขึ้นมามันทำไม่ได้หรอกนะ” “ช้าที่พี่แล้วมาบีบเวลาผมตอนท้ายให้งานมันเสร็จ มันไม่ได้นะพี่” “ก็พี่บรีฟไว้อย่างนี้ ทำไปจนเสร็จแล้วโละ บอกไม่ใช่ที่อยากได้ได้ไง” เราเชื่อว่าใครที่ต้องทำงานกับคนหลายคน หรือทำงานที่ควบคุมให้จบในตัวไม่ได้ คงต้องเคยพูดประโยคด้านบนกันสักหนสองหนหรือมากกว่านั้น เผลอ ๆ ระหว่างพูดคงมีเงื้อหมัด พูดสบถระบายอารมณ์กันบ้าง การทำงานที่เฟืองทุกชิ้นของระบบไม่ได้ทำงานเต็มร้อยพร้อมกัน หรือต่อให้ทำงานได้เต็มที่สุดฝีตีนแต่ผลสุดท้ายก็ยังพังไม่เป็นท่าเพราะลูกค้าปฏิเสธด้วยเหตุผลว่า “เห็นภาพงานไม่ตรงกัน” ส่วนมากมักเกิดจากจุดอ่อนของกระบวนการทำงานแบบดั้งเดิมที่แต่ละงานทุกคนจะส่งต่องานกันแบบไม้ผลัดซึ่งคนในวงการ IT นิยามการทำงานแบบนี้ว่า Waterfall Waterfall คือระบบการทำงานแบบส่งต่อไม้ผลัด ลองคิดภาพตามว่าถ้าเราลงวิ่งผลัดในสนามที่ทีมเรามีสมาชิกวิ่งอยู่ 4 คน คนแรกออกวิ่งส่งต่อให้คนที่สอง คนแรกก็จะไม่รู้เรื่องของคนอื่นนอกจากคนที่สองที่ตัวเองต้องส่งไม้ให้ หรือถ้ามีปัญหาระหว่างทาง กว่าจะไปถึงคนที่ 4 ที่เป็นไม้สุดท้าย ทุกอย่างก็แก้ไขอะไรไม่ได้แล้วเพราะมันมาถึงจุดที่หวนกลับไปแก้ไม่ได้อีก สุดท้ายจึงต้องลงเอยด้วยการกลับไปนับหนึ่งอีกครั้ง ถ้านั่นเป็นวิถีการทำงานที่ผู้ชายอย่างเราทำอยู่ UNLOCKMEN อยากพาทุกคนไปรู้จักกับแนวทางการทำงานแบบใหม่ที่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้อย่าง “Agile” เทคนิกการทำงานที่ทำให้เราไหวตัวทันต่อทุกปัญหาและแก้ไขได้เสมอซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่บริษัทใหญ่ยักษ์แบบ Google หรือ Facebook ใช้งานจริง AGILE คืออะไร คำว่า “Agile” มีต้นกำเนิดจากสายพัฒนาซอฟต์แวร์ ตั้งแต่ปี 2001 โดยเกิดขึ้นจากจุดประสงค์ที่กลุ่มคน