เจ้านายใจแคบไม่เคยรับฟังผมเลย, ใช่สิ เรามันไม่ใช่พนักงานคนโปรดนี่นา หัวหน้าถึงไม่เคยรับฟังเราเลย ประโยคตัดพ้อทำนองนี้และอีกสารพัดสารพันประโยชน์อาจเกิดขึ้นกับคนทำงานได้ เพราะมีความตั้งใจเต็มเปี่ยมที่จะพูด แต่กลับขาดคนรับฟัง โดยเฉพาะหลาย ๆ เรื่องที่เป็นเรื่องสำคัญ ต้องการสื่อสารกับระดับหัวหน้างาน หรือ CEO เท่านั้นถึงจะคลี่คลายไปได้ หลายครั้งพูดไปก็ดูคล้ายไม่เคยถูกรับฟัง หรือบางครั้งยังพูดไปไม่ถึงไหน CEO ก็ต้องเจียดเวลาไปทำงานอื่นเสียแล้ว แทนที่จะตัดพ้อต่อไป UNLOCKMEN ชวนมาปลดล็อกศักยภาพการทำงานไปอีกขั้นด้วยกลวิธีที่อาจทำให้ CEO ต้องหยุดฟังคุณมากขึ้น หยุดชักแม่น้ำทั้งห้า “ว่าด้วยสิ่งที่ CEO ยังไม่รู้และต้องรู้” เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่เมื่อต้องการนำเสนอ หรือโน้มน้าวให้ผู้ฟังเชื่ออะไรสักอย่างที่เราต้องการจะสื่อเราจะเกริ่นสารพัดสิ่งให้ดูน่าเชื่อถือ ให้อีกฝ่ายมีอารมณ์ร่วม หรือคล้อยตาม โดยเฉพาะเมื่อตั้งใจจะโน้มน้าว CEO ด้วยแล้ว เราก็ยิ่งเผลอขุดทุกสกิลชักแม่น้ำทั้งห้ามาเพื่อบอกว่าเชื่อเราสิ เราถูกนะ สิ่งที่เราคิดมันใช่แหละ แต่อย่าลืมว่าคนระดับ CEO หรือหัวหน้างานวัน ๆ หนึ่งเขามีสิ่งที่ต้องทำ มีผู้คนให้ต้องพบปะพูดคุยมากเท่าไร ถ้าเรามัวแต่เกริ่นแม่น้ำมาครบทุกสาย ก็ไม่แปลกใจที่จะถูกตัดสินว่าเรื่องเรามีแต่น้ำ และยังไม่มีอะไรสำคัญเร่งด่วน รวมถึงหลาย ๆ หนที่เราเกริ่นไปยืดยาวก็เป็นสิ่งที่ CEO ไม่เข้าใจว่าจะมาบอกเขาทำไม เพราะเขารู้อยู่แล้ว ดังนั้นไม่ต้องเกริ่นเพื่อโน้มน้าวให้เปลืองเวลามากนัก อะไรที่ CEO
ในหนึ่งชีวิตการทำงานของมนุษย์มีคุณสมบัติหลายต่อหลายอย่างที่นำไปสู่ “การประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน” แต่หลายครั้งเราก็อดถามตัวเองไม่ได้ว่า จบมหาวิทยาลัยที่น่าเชื่อถือก็แล้ว ประวัติการทำงานน่าชื่นชมก็แล้ว เก่งก็เก่งแล้ว ทำงานหนักก็ทำแล้ว แต่ทำไมยังไม่พอ? ทำไมเราถึงไม่ไปสู่จุดที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเสียที? ทำไมหัวหน้าไม่เคยเห็นความพยายามนี้? ทำไมเรายังดูเป็นค่าเฉลี่ยทั่ว ๆ ไป ทั้ง ๆ ที่เราก็พยายามในทางของเรา? อาจเป็นเพราะบางครั้งแค่เก่ง และทำงานหนักอาจยังไม่พอ การที่มนุษย์ประสบความสำเร็จ หรืออย่างน้อยก็โดดเด่นพอให้คนมองเห็นความสามารถนั้น ต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย UNLOCKMEN อยากชวนมาปลดล็อกศักยภาพการทำงานไปอีกขั้น ที่เก่งและทำงานหนักก็ดีอยู่แล้ว แต่เราอยากชวนมาทบทวนตัวเอง เผื่อหลงลืมปัจจัยบางสิ่งไป จะได้ไหวตัวทัน หาทางปรับตัวอีกตั้ง แล้วลองมุ่งสู่ความสำเร็จหรือการเติบโตที่เราตั้งใจ ก่อนจะท้อหรือหมดไฟ เพราะคิดว่าเก่งไปก็เท่านั้น ขยันไปก็ไม่ได้อะไร เก่งและทำงานหนัก แต่ยึดติดพื้นที่เดิม ๆ “ต้องกล้าเริ่มในพื้นที่ใหม่ ๆ บ้าง” การเป็นคนทำงานที่มีเครดิตดี ดูเป็นคนเก่ง แถมพ่วงด้วยการทำงานหนักมาตลอดก็มีราคาที่ต้องจ่าย หนึ่งในนั้นคือ “ค่าความกลัวที่จะออกจากคอมฟอร์ตโซน” เพราะการที่เรารู้ว่าถ้าเราทำงานหนักในแบบของเรา ในพื้นที่ของเรา มันคือสูตรที่เราคุ้นเคย คือพื้นที่ที่เรามั่นใจในความสามารถของเราเต็มเปี่ยม เราจะทำงานหนักไปอีกกี่ปี เราก็รู้ว่าเราไม่มีทางผิดพลาดแน่ ๆ แต่วิธีการทำงานแบบนี้เองก็เป็นกับดักของคนเก่งและทำงานหนัก เพราะความสำเร็จใหม่ ๆ
กว่าจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหาร หรือเป็นผู้นำในองค์กรที่ใครต่อใครเคารพนับถือนั้นไม่ใช่แค่ทำงานเก่ง หรือมีอำนาจ สักแต่ชี้นิ้วบังคับให้ใครทำอะไรตามใจเท่านั้น แต่ทักษะหนึ่งที่มีความหมายต่อการทำงานบริหาร (และในแทบทุกตำแหน่ง) คือ “การโน้มน้าวใจคน” จะมีประโยชน์อะไรถ้าไอเดียที่คิดมาสุดจะแหลมคม แต่เสนอออกไปก็ไม่มีใครอินหรืออยากทำด้วย โดยเฉพาะเมื่อต้องขายโปรเจกต์นี้ให้ทั้งองค์กรฟัง รวมไปถึงเมื่อต้องขายลูกค้า เพราะอย่างนั้นไอเดียที่หลักแหลม การทำงานที่เก่งกาจ จึงต้องมาพร้อมศาสตร์และศิลป์แห่งการโน้มน้าวใจคน ลองใช้วิธีเหล่านี้โน้มน้าวคน การโน้มน้าวครั้งต่อไปอาจสำเร็จมากขึ้นได้ เพราะโน้มน้าวไม่ใช่บังคับ ต้องว่าด้วย “คุณค่า” ไม่ใช่การกระทำ การเป็นผู้บริหาร แล้วอยากให้คนในทีมทำตามต้องการอาจไม่ยากอย่างที่คิด เพราะการชี้นิ้วสั่ง ๆ ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร แต่การจะทำให้คนในทีมทำตามที่เราวางแผนไว้ด้วยแพสชันเต็มเปี่ยม ด้วยความตั้งใจทะลักล้นก็ย่อมต้องอาศัยการโน้มน้าวใจให้เขาเต็มใจทำให้ได้ การโน้มน้าวขึงไม่ได้ว่าด้วยการชี้นิ้วสิ่งให้ใครไปทำอะไร แต่คือการสื่อสารกับอีกฝั่งด้วย “คุณค่า” ที่บุคคลนั้นยึดถือ นึกภาพง่าย ๆ ว่าถ้าเรากำลังทำโปรเจกต์ด้านการศึกษาขึ้นมาสักงาน แล้วอยากให้ AE ในทีมไปขายโปรเจกต์นี้ให้ได้ การสั่งอาจง่าย ๆ ด้วยการบอกว่า “คุณรีบไปขายงานนี้ให้ได้ภายในอาทิตย์นี้เลยนะ ผมอยากทำยอดให้ทันเวลา” แต่การโน้มน้าวใจให้ AE อยากทำงานนี้ อาจเป็นการเล่าถึงคุณค่าของโปรเจกต์นี้ การศึกษาที่จะได้ส่งต่อออกไปให้เด็กทั่วประเทศที่อยู่ห่างไกล อนาคตทางการเรียนรู้ที่ AE จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้ลูกหลานในอนาคต การโน้มน้าวใจละเอียดอ่อนกว่าการสั่งให้ใครทำอะไรเฉย
“อคติ” พูดถึงคำนี้อาจจะดูไกลตัวออกไปหน่อย แต่ถ้าถามว่าคุณเคยรู้สึกลำเอียงบ้างไหม? หมั่นไส้ใครเป็นพิเศษหรือเปล่า? หรือชื่นชมใครออกนอกหน้าเกินไปหรือไม่? ไม่แปลกที่ในองค์กรเราอาจมีใครสักคนที่ถูกชะตานักหนา และเกลียดขี้หน้าแบบไร้สาเหตุ โดยที่ 2 คนนี้แทบไม่ได้ทำอะไรต่างกันเลย แต่เราก็รู้สึกแตกต่างกันราวฟ้ากับเหว นี่เองที่เรียกว่า “อคติ” หลายคนเข้าใจว่าอคติมีแต่การไม่ชอบแบบไม่มีเหตุผล แต่ที่น่าสนใจคือการที่เราชอบแบบไม่มีเหตุผลก็นับเป็นอคติรูปแบบหนึ่งเช่นกัน ในสถานการณ์ทั่วไปอคติก็ไม่ใช่เรื่องดีเท่าไร แต่ถ้าพูดถึงพื้นที่ทำงานที่ต้องการความมืออาชีพอย่างสูงอคติคือสิ่งที่ต้องกำจัดให้ไวเพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ “ยอมรับก่อนว่ามีอคติ” หนทางลดอคติขั้นต้น ถ้าคุณเสพติดอะไรสักอย่างที่ไม่ดี น้ำอัดลม กาแฟ บุหรี่ หรือสิ่งใดก็ตามที่เสพปริมาณมาก คุณจะไม่มีวันลด ละ หรือเลิกมันลงได้ ถ้าคุณไม่ยอมรับก่อนว่าคุณเสพติดมัน หรือไม่ยอมรับว่ามันมีข้อเสีย “อคติ”เองก็เช่นกัน หากเราคิดว่าก็ไม่ได้อคติสักหน่อย หรือก็ใช่ ลำเอียงบ้าง แต่ก็ไม่เห็นจะกระทบกับการทำงานเลย เมื่อนั้นเราก็จะไม่มีวันลงมือจัดการอคติของตัวเองที่อาจส่งผลในที่ทำงานสักที โดยปกติมนุษย์เราสามารถมีอคติหลาย ๆ รูปแบบอยู่ในตัวอยู่แล้ว เช่น เราอาจคิดว่าเพื่อนร่วมงานคนนี้พูดมาก เพราะเธอเป็นผู้หญิง (แต่ข้อเท็จจริงคือไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนจะพูดมาก) เช่นเดียวกันกับที่ใรที่ทำงานจะมีคนที่เราไม่ชอบขี้หน้าเอามาก ๆ อยู่หนึ่งคน และคนที่ไม่ว่าทำอะไรก็ช่างน่าชื่นชมอีกหนึ่งคน ขั้นแรกให้เราสำรวจตัวเองให้ดีว่าที่เราชอบหรือไม่ชอบบุคคลนี้ เพราะอะไร? ทบทวนดูว่าคำตอบที่เราให้กับตัวเองนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่? หรือถ้ากลัวเราตอบแบบอคติอีก ก็ลองแทนชื่อพวกเขาด้วยชื่อสมมติ แล้วลองถามคนอื่น ๆ ดูว่าคำตอบที่เราให้มันดูสมเหตุสมผลพอที่จะชอบหรือไม่ชอบหรือเปล่า? อีกทางอาจลองแทนค่าคำตอบเหล่านั้นด้วยชื่อคนอื่นดู
“การสื่อสาร” ถือเป็นทักษะสำคัญโดยเฉพาะในวันที่โลกไร้พรมแดน ใครสื่อสารได้ไวกว่า แถมทรงประสิทธิภาพกว่า โน้มน้าวใจได้มากกว่า หรือทำให้ลูกค้า เจ้านาย คนในทีมเห็นภาพร่วมกันได้มากกว่าก็ถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง จึงไม่แปลกที่ผู้ทรงอิทธิพลและประสบความสำเร็จระดับโลกจะเป็นคนที่มีทักษะการสื่อสารอันทรงพลัง อย่างไรก็ตามคำว่าสื่อสาร เหมือนจะถูกลดลงเหลือแค่เพียง “การส่งสารออกไป” เรามีคอร์สเรียนจำนวนมากที่สอนว่าต้องพูดอย่างไรให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ต้องพรีเซนต์งานแบบไหนถึงจะจับใจคนฟังในครั้งเดียว จนเราหลงลืมไปว่าในการสื่อสารนั้น นอกจากส่งสารออกไปแล้ว เราต้องรู้จัก “รับฟัง” และรับสารอย่างมืออาชีพให้ได้ด้วย ผู้ที่ประสบความสำเร็จหลายต่อหลายคนก็ไม่ใช่เพราะเขาเก่งอยู่คนเดียว หรือพูดดีเพียงอย่างเดียว แต่เขาเหล่านั้นมีศิลปะการรับฟังอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน การรู้จักฟังผู้อื่นยังมีส่วนช่วยให้เราเป็นผู้บริหารหรือคนทำงานที่มีประสิทธิภาพขึ้นได้ เพราะเราจะได้รับความคิดเห็นจากมุมที่แตกต่างมากขึ้น รวมถึงการสร้างบรรยากาศแห่งการกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น (และไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ) เมื่อเราแสดงให้ทุกคนในทีมเห็นว่าเราพร้อมรับฟัง (โดยเฉพาะเมื่อคุณเป็นผู้บริหาร) นอกจากนั้นการรู้จักฟัง ยังช่วยป้องกันความผิดพลาดได้มากกว่า เมื่อเราคิดคนเดียวแล้วอาจพลาดอะไรไป การฟังหลายรอบ หรือรอบเดียวจากหลายคนช่วยให้เราพิจารณาหลายอย่างได้ถี่ถ้วนขึ้น หรือแม้แต่การแก้ไขปัญหาที่ฟังความคิดเห็นหลายแบบแล้วมากลั่นกรอง ก็ทำให้เราเห็นวิธีแก้ได้เร็วขึ้นและมากขึ้นเช่นกัน สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าที่ผ่านมา เราเป็นผู้ฟังที่ดีพอหรือยัง? หรือถ้าอยากฝึกทักษะการฟังให้ดีขึ้นกว่านี้ทั้งเพื่อใช้ในที่ทำงาน ทั้งเพื่อจะเจรจาธุรกิจจะทำอย่างไรได้บ้าง นี่คือ ‘5 วิธีฟังอย่างมืออาชีพ’ ที่เราอยากให้คุณลองฝึกดู จดจ่อกับการฟัง คือการใส่ใจและให้เกียรติ โลกอาจฝึกเราให้ทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกันมาอย่างเชี่ยวชาญ แต่ไม่ใช่กับ “การฟัง” แม้เราจะรู้ตัวเองดีว่าเราสามารถฟังใครพูดก็ตามไปพร้อม ๆ กับการเปิดโน้ตบุ๊กเช็กอีเมลได้ เปิดเฟซบุ๊กอัปเดตข่าวล่าสุดได้ หรือเขียนรายงานไปพลาง
ชีวิตเรายากกันไปคนละแบบ มีเรื่องท้าทายกันไปคนละอย่าง โดยเฉพาะในสถานการณ์ตอนนี้ที่เหมือน COVID-19 พาชีวิตเราขึ้นประจำที่นั่งบนรถไฟเหาะตีลังกาที่ไม่มีจุดหมาย บางช่วงพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุด แต่บางทีก็ตีลังกาพลิกกลับหลัง หรือดำดิ่งจนหัวใจแทบวาย การคิด การวางแผน หรือการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อมุ่งมั่นทำให้ชีวิตให้ดีขึ้นนั้นไม่ผิดอะไร แต่การวางแผนหรือการแก้ปัญหาก็ต่างกับ “การคิดมาก” พอสมควร หลายคนคิดมากแล้วสามารถพาตัวเองออกจากความคิดเหล่านั้นได้ ในขณะที่บางคนจมอยู่กับ “การคิดมาก” จนบั่นทอนตัวเองและคนใกล้ตัว “กังวลกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ดึงดันกับสิ่งที่ผ่านไปแล้ว” สำรวจตัวเองหน่อยว่าคุณคิดมากไปหรือเปล่า? การเป็นคนคิดมาก กับการเป็นคนช่างคิดและวางแผนรอบคอบนั้นมีเส้นแบ่งบาง ๆ กั้นอยู่ หลายคนปล่อยให้ตัวเองจมอยู่กับความคิด ความกังวล หรือสิ่งที่แก้อะไรไม่ได้แล้ว แต่อ้างกับคนอื่นว่า ผมแค่เป็นคนรอบคอบ ฉันแค่เป็นคนช่างคิดช่างวางแผน ลองสำรวจตัวเองอีกครั้งว่าเรากำลังครุ่นคิด หมกตัวอยู่กับสิ่งที่เราจัดการได้แน่ ๆ จริงไหม? หรือบางเรื่องมันพลาดไปแล้ว ให้ตายอย่างไรก็แก้ไม่ได้ (ซึ่งคนละเรื่องกับการคิดถึงทางแก้ในอนาคต) ในขณะที่บางสิ่งที่เรากังวลก็คือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง และบางทีมันอาจไม่ได้มาถึงในรูปแบบที่เราเอาแต่คิดถึงมันก็ได้ (ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการวางแผนรับมือกับปัญหาที่เราเจอ) ดึงดันกับอดีต คิดมากในสิ่งที่แก้ไม่ได้และคิดไปก็ไม่ได้อะไร “เมื่อเช้าไม่น่าพูดแบบนั้นในที่ประชุมเลย หัวหน้าจะมองเรายังไงนะ? คนในทีมต้องมองว่าเราโง่แน่ ๆ” “ไม่น่าตัดสินใจลาออกจากที่ทำงานเก่าเลยว่ะ ถ้ายังอยู่ที่นั่น ป่านนี้คงมีความสุขไปแล้ว จะตัดสินใจลาออกทำไมวะ?” “ถ้าเลือกแผนการตลาดอีกแผนคงดีกว่านี้ เลือกแผนนี้แล้วห่วยจัง ทำไมทีมเลือกแผนห่วยแบบนี้?” กังวลกับอนาคต
เป็นสถานการณ์สุดฮิตที่เหล่าคนทำงานอย่างเรา ๆ คุ้นชินเป็นประจำ หรือถ้าว่ากันตามตรงก็เป็นกันมาตั้งแต่สมัยเรียนอนุบาลนั่นแหละ การผัดวันประกันพรุ่งอาจยังไม่เคยส่งผลกระทบกับใครจัง ๆ แรง ๆ เพราะว่ากันว่าคนผัดวันประกันพรุ่งเนื้อแท้ไม่ใช่คนขี้เกียจแต่มีวิธีจัดการเวลาและลำดับความสำคัญในการทำงานตามรูปแบบของตัวเอง แต่ก็ใช่ว่าการทำงานให้ทันเดดไลน์จะราบรื่นไปหมดทุกอย่าง ไหนจะความกดดัน ไหนจะความร้อนรน จะดีแค่ไหนถ้ามีเทคนิคการทำงานเพื่อคนชอบผัดวันประกันพรุ่งโดยเฉพาะ ที่รับรองว่าคุณจะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมแน่นอน! ‘Pomodoro Technique’ คือชื่อเทคนิคการทำงานทรงประสิทธิภาพที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย Francesco Cirillo นักพัฒนาและผู้ประกอบการ ผู้คิดค้นเทคนิคนี้ขึ้นมาช่วงปี 1980 เนื่องจากเขารู้สึกว่าตอนเรียนมหาวิทยาลัยมันเป็นอะไรที่ยุ่งมาก ทำงานก็ไม่ดี เรียนก็ไม่ได้เรื่อง ชีวิตไม่มีประสิทธิภาพเอาเสียเลย Pomodoro ก็ไม่ได้มาจากไหน แต่มาจากเครื่องจับเวลาสำหรับการทำอาหารที่ทำเป็นรูปมะเขือเทศของเขานั่นเอง (Pomodoro เป็นภาษาอิตาเลียนที่แปลว่ามะเขือเทศ) แต่อย่าคิดว่านี่เป็นแค่วิธีกิ๊กก๊อกของนักศึกษาธรรมดาคนหนึ่ง เพราะช่วงปี 1990 วิธีนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และได้รับการยอมรับว่าเป็นอีกหนึ่งเทคนิคการทำงานที่ทำให้คนทำงานได้มีประสิทธิภาพที่สุด สำหรับคนที่อยากรู้ว่า ‘Pomodoro Technique’ ทำอย่างไร? ต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง? จริง ๆ ก็ง่ายแสนง่ายแค่มีนาฬิกาปลุก สมาร์ทโฟน หรืออะไรที่สามารถตั้งเวลาได้ และความตั้งใจของเราก็พอแล้ว วิธีการก็ง่ายแสนง่ายด้วย 6 ขั้นตอนต่อไปนี้ 1.เลือกงานที่คุณต้องการจะทำให้เสร็จขึ้นมา งานแบบไหนก็ได้ งานเล็ก งานใหญ่ งานที่ค้างไว้เป็นอาทิตย์
‘BURNOUT’ ไม่ใช่อาการใหม่ อาการหมดไฟนั้นเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทำงานอย่างเรา ๆ และเราต่างหาวิธีรับมือกับอาการหมดไฟที่มาเยือนอยู่ตลอดเพื่อให้กลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ หลายคนเคยผ่านอาการหมดไฟมาได้หลายหน ราวกับได้เกิดใหม่ท่ามกลางเถ้าถ่านมอดดับ แต่หลายคนก็ไม่เคยเผชิญอาการหมดไฟมาก่อนในชีวิต จนกระทั่ง COVID-19 มาเยือน บรรยากาศการทำงานที่เปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน การย้ายสถานที่ทำงานจากออฟฟิศสู่พื้นที่พักอาศัย การต้องทำงานอย่างเดียวดายปราศจากเพื่อนร่วมงานรายล้อม หรือแม้กระทั่งคนในครอบครัวที่ไม่เข้าใจเวลาทำงานของเรา สิ่งเหล่านี้นำพาอาการ BURNOUT มาเยือนใครหลายคนที่ก็เคยมีไฟมาตลอด แล้วเราจะรับมือกับมันอย่างไรได้บ้าง? BURNOUT ใช่ไหม? หรือแค่เหนื่อยใจธรรมดา? ก่อนจะไปถึงวิธีการรับมืออาการหมดไฟเพราะการ Work From Home เป็นเวลานาน ๆ เราอยากชวนคุณมาสำรวจตัวเองไปพร้อมกันก่อนว่าสิ่งที่คุณเป็นนั้นคือความเหนื่อยในแต่ละวันที่พอจะคลี่คลายไปได้ถ้าได้พักผ่อนเพียงพอ หรือคืออาการ BURNOUT หลีกเลี่ยงงานขั้นหนัก: ความเหนื่อยล้าเกิดขึ้นได้ แต่ทันทีที่ได้พักผ่อนก็จางหายไป แล้วกลับมามีพลังเพื่อทำงานใหม่ให้ดีดังเดิม แต่หากคุณคือคนหนึ่งที่ทำทุกวิถีทางเพื่อหลีกเลี่ยงงาน อาจสังเกตว่าไม่อยากตอบอีเมลเจ้านายหรือเพื่อร่วมงานจนกล่องข้อความค้างเติ่งจำนวนมาก เข้าประชุมสายเสมอ หรือถ้าเป็นไปได้ก็จะหาข้ออ้างที่จะไม่เข้าประชุม รวมไปถึงอาการผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อย ๆ งานนี้ยังไม่ต้องทำหรอกน่า งานนี้ขอเลื่อนส่งไปก่อนได้ไหม ความพยายามหลีกเลี่ยงงานอย่างหนักนี้เป็นอาการของการ BURNOUT ที่รุกคืบเข้ามา ทำงานแค่ให้รอด ไม่ได้ทำเพื่อคุณภาพ: วันนี้คุณทำงานเพื่ออะไร? ถ้าคำตอบของคุณคือก็ทำเพื่อให้รอดไปอีกวัน ทำเพื่อให้หัวหน้าเห็นว่าคุณยังมีงานในหนึ่งวัน คุณอาจเข้าข่าย BURNOUT ได้เช่นกัน เพราะงานที่มีคุณภาพ
การได้อยู่บ้านอย่างสงบ ไม่ต้องฟันฝ่าการจราจรการเบียดเสียดไปทำงานถึงออฟฟิศ อาจเคยเป็นภาพฝันของใครหลายคน ท่ามกลางความสุขสบายภายในบ้าน ทำงานจากมุมโปรดของตัวเอง เราคิดว่านี่คือความสุขสูงสุดที่จะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายได้อย่างน่าอัศจรรย์ แต่โชคร้ายที่การต้องทำงานอยู่บ้านนาน ๆ ที่เราเผชิญอยู่ตอนนี้ไม่ได้เป็นไปตามภาพฝันที่เราเคยจินตนาการ เนื่องจากมาพร้อม COVID-19 ความเครียดเรื่องเศรษฐกิจที่รุมเร้า ความไม่มั่นคงเรื่องงานที่ตามมาติด ๆ ไหนจะเป็นการที่ไม่สามารถออกไปพักผ่อนหย่อนใจได้อย่างเคย ทำให้เกิดก้อนความเครียดสะสม จนกลายเป็นมวลความโกรธ ความหัวร้อนที่เรารู้สึกว่าเราช่างคุมอะไรไม่ได้เอาเสียเลย! เราไม่ได้โกรธอยู่ลำพัง แต่สภาวะไม่ปกติทำให้ทุกคนเกรี้ยวกราด ประการแรกเราอยากให้ทุกคนเข้าใจว่าคุณไม่ได้หัวร้อนอยู่เพียงลำพัง ความโกรธ ความเกรี้ยวกราด หัวเสียนี้ หลายคนบนโลกกำลังเผชิญสภาวะนี้ร่วมกัน (สภาวะที่หัวร้อนง่ายกว่าช่วงเวลาปกติ) ดร. Aimee Daramus นักจิตวิทยาคลินิกให้ความเห็นว่า “ทุกเรื่องเครียด ๆ ของเรา รวมถึงสิ่งกระตุ้นความเครียดในอดีต กำลังแสดงตัวออกมาในช่วงเวลานี้ เพราะชีวิตประจำวันของเราที่เคยใช้กดเรื่องเหล่านี้มันหายไป” “ความโกรธเองก็มีหลายระดับ ความโกรธบางระดับเรามักจะกดมันเอาไว้ได้ แต่เมื่อ COVID-19 มาเราก็มีความโกรธใหม่ ๆ ความเครียดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีกมาก ในขณะเดียวกันความโกรธจากแผลเก่า ๆ ก็ไม่ได้หายไปไหน ดังนั้นพอมีคนมาพูดหรือทำอะไรบางอย่างที่เวลาปกติเราก็ไม่ได้โกรธอะไร แต่กลายเป็นว่าตอนนี้อะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ทำให้เราโกรธมาก ๆ
ยุคสมัยที่ผู้นำส่วนใหญ่บนดาวเคราะห์ดวงนี้มีแต่ผู้ชายสุดแข็งแกร่งนั้นอาจเลือนรางลงไปนานแล้ว ความเท่าเทียมในหลายมิติทำให้มนุษย์ไม่ว่าเพศสภาพไหน ๆ ก็สามารถขึ้นกุมบังเหียนเพื่อบริหารองค์กรหรือประเทศได้ แม้ภายนอกคล้ายจะเป็นแบบนั้น แต่การเป็นผู้นำผู้หญิงนั้นกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เนื่องจากผู้นำผู้หญิงมักถูกกล่าวหาด้วยภาพเหมารวมความเป็นหญิงบางอย่าง เช่น ผู้หญิงนั้นเจ้าอารมณ์ ไม่มั่นคง ไม่เด็ดขาด ผู้หญิงไม่แข็งแกร่งพอ ผู้หญิงไม่มีความรู้เรื่องการบริหารดีเท่าผู้ชาย ฯลฯ รวมไปถึงความกดดันที่ผู้นำผู้หญิงต้องพยายามพิสูจน์ตัวเองมากกว่าผู้นำผู้ชาย เพื่อให้ทุกคนในองค์กร (หรือแม้แต่ระดับประเทศ) ยอมรับ Abbie Griffith Oliver ผู้ช่วยศาสตราจารย์จาก Georgia State University ทำงานวิจัยสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกันพบว่าเมื่อพูดถึง “ผู้นำที่พวกเขาชื่นชม” คนจำนวน 80% จะนึกถึงผู้ชาย และเมื่อ Abbie Griffith Oliver ถามนักศึกษาในชั้นเรียนว่าคิดอย่างไรกับผู้นำผู้หญิง มีเพียง 5% เท่านั้นที่พอจะนึกถึงผู้นำหญิงออกสักคน แน่นอนว่ามีผู้นำหญิงในหลายองค์กรที่ทำให้เห็นว่าผู้หญิงเองก็สามารถบริหารจัดการได้ดีไม่แพ้ผู้ชาย แต่เมื่อ COVID-19 ที่ถือเป็นวิกฤตการณ์สำคัญระดับโลกมาเยือน ทั้งโลกต่างได้เห็นบทบาทของผู้นำหญิงชัดเจนขึ้น เนื่องจากหลายประเทศที่มีผู้นำหญิงเป็นผู้บริหารนั้นสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือแม้แต่มีจำนวนผู้เสียชีวิตน้อยกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ ผู้นำหญิงจากหลายประเทศถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง ทั้ง Angela Merkel จาก Germany, Jacinda Ardern จาก