หลายคนคงเคยมีช่วงเวลาที่เรียกตัวเองว่าเป็น ไอ้ขี้แพ้ (Losers) อยู่บ้าง บางคนอาจจะเรียกตัวเองแบบนั้นเพียงชั่วคราว เพราะเจอกับความล้มเหลวมา แต่พอเวลาผ่านไปสักพักก็อาจลืมมันไป แต่สำหรับบางคนอาจเจอกับปัญหาที่ซับซ้อนกว่านั้น จนอาจตัดสินไปแล้วว่าตัวเองเป็นไอ้ขี้แพ้ตัวจริง และไม่มีวันที่จะเป็นผู้ชนะได้ (winners) หรือ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ ซึ่งในบทความนี้ UNLOCKMEN อยากอธิบายให้ฟังทุกคนเข้าใจว่า ไอ้ขี้แพ้ อาจเป็นสิ่งที่เราสร้างกันขึ้นมาเอง และสามารถเปลี่ยนแปลงกันได้ ก่อนอื่นเราอยากให้ทุกคนเข้าใจความหมายของคำว่า ‘ไอ้ขี้แพ้’ (Losers) ตรงกันก่อน ในบทความนี้เราหมายถึง “คนที่อยากเป็นเหมือนกับคนอื่นที่ประสบความสำเร็จ แต่ไม่ยอมลงมือทำอะไรเพื่อให้ตัวเองไปอยู่ในจุดเดียวกับคนเหล่านั้น อาจเป็นเพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีพรสวรรค์ หรือความสามารถเหมือนคนอื่น (แต่ก็ไม่ยอมพัฒนาตัวเอง) กล่าวโทษเรื่องนั้น เรื่องนี้ว่าเป็นอุปสรรค์ (แต่ก็ไม่ยอมลงมือแก้ไข)” ซึ่งที่มาของ losers เราเชื่อว่า ไม่มีใครเกิดมาพร้อมกับนิสัยขี้แพ้ แต่พวกเขาล้วนเคยผ่านประสบการณ์แย่ๆ มาก่อน เช่น เคยถูกผู้ที่มีอำนาจ (เช่น ครู หรือผู้ปกครอง) คุกคาม เคยถูกกลั่นแกล้งในวัยเด็ก เคยอกหักจากคนรัก หรืออาจเคยพยายามทำงานที่ยิ่งใหญ่ให้ประสบความสำเร็จ แต่สุดท้ายต่อให้พยายามยังไงก็ล้มเหลวอยู่ดี เหตุการณ์นี้จึงกลายเป็นปมในใจของเขา และทำให้เขาสูญเสียความทะเยอทะยานในการทำสิ่งต่างๆ ไป เป็นต้น ประสบการณ์แย่ ๆ เหล่านี้ได้หล่อหลอมให้พวกเขากลายเป็นไอ้ขี้แพ้
เคยสงสัยไหมว่าทำไมเราเห็นคนยากคนจน หรือคนป่วยหนักจนใช้ชีวิตลำบากแล้วรู้สึกสงสาร พร้อมจะควักเงินในกระเป๋ามอบให้เพื่อช่วยเหลือทันที หรือเห็นคอมเม้นด้านลบในโพส Facebook ของเพื่อนเราแล้วอยากช่วยปกป้อง พฤติกรรมเหล่านี้คือการช่วยเหลือคนอื่น หรือ Altruism ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งวันนี้ UNLOCKMEN จะอธิบายให้ฟังว่า Altruism คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร? และจะพัฒนาให้ช่วยเหลืออย่างเหมาะสมจนไม่เดือนร้อนตัวเองได้อย่างไร? Altruism คือ ลักษณะของมนุษย์ที่ใส่ใขความอยู่เย็นเป็นสุข และทำในสิ่งที่ช่วยเหลือผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น อาจจะยอมสละชีวิตเพื่อปกป้องคนอื่น หรือ บริจาคเงินช่วยเหลือให้มูลนิธิต่างๆ เป็นต้น โดย altruism มักจะมาพร้อมกับลักษณะของมนุษย์อีกอย่างหนึ่ง คือ ความเห็นอกเห็นใจ (empathy) ที่เกิดควบคู่กัน ในสถานการณ์ที่เราพบกับคนที่ตกอยู่ในสถานการณที่ยากลำบาก เราเกิดความเข้าอกเข้าใจเขา พร้อมความรู้สึกอยากช่วยเหลือ ส่วนเหตุผลที่ทำให้เราเป็นคนที่มี altruism นั่นมีหลากหลาย โดย นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ยกทฤษฎี และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มาอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น – เหตุผลทางชีววิทยา (biological reasons) ตามที่หลักทฤษฏีวิวัฒนาการว่าด้วยการคัดเลือกโดยญาติ (Kin Selection) ได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์มักช่วยเหลือคนที่มีสายเลือดเดียวกันมากกว่าคนอื่น เพราะมีความต้องการที่จะส่งต่อพันธุกรรมของเผ่าพันธ์ุตัวเองไปยังคนรุ่นถัดไป ดังนั้น
หลายคนคงเคยหรือกำลังรู้สึกกังวลกับอาการ ‘คิดมาก’ ของตัวเอง เพราะมันช่างรบกวนชีวิตของเราเหลือเกิน เวลาทำงานก็ไม่ค่อยมีสมาธิ เพราะเอาแต่คิดเรื่องอื่น เวลาจะนอนก็นอนไม่หลับ เพราะสมองยังไม่หยุดคิดสักที UNLOCKMEN เห็นว่าอาการคิดมากเป็นปัญหาใหญ่ของหลายคน และอยากให้ทุกคนก้าวข้ามมันไปได้ จึงอยากเล่าให้ฟังว่า ต้นเหตุของการคิดมากเกิดมาจากอะไร และเราจะแก้ไขมันอย่างไรได้บ้าง ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจนิยามของคำว่า คิดมาก (Overthinking) ก่อน มันหมายถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่หมกหมุ่นกับการคิดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานเกินไป ซึ่งปกติอาการคิดมากจะจำแนกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ แบบแรกคือ “ครุ่นคิด (rumination)” ถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตซ้ำไปซ้ำมา และ แบบที่สอง “คือความกังวลอย่างหนักต่อเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” บางคนอาจจะเป็นแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือบางคนอาจจะเป็นทั้งสองแบบ โดยสาเหตุหลักของการคิดมากเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การขาดความมั่นใจในความสามารถของตัวเอง(self-doubt), ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง (self-esteem), เคยเจอกับเรื่องร้ายๆ ในอดีต และกลัวว่าจะทำผิดซ้ำซากอีกครั้ง รวมไปถึง นิสัยชอบวิตกกังวลในเรื่องต่างๆ ด้วย ความสามารถในการคิด (thinking) เป็นคุณสมบัติที่ทำให้มนุษย์โดดเด่นกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ มันทำให้มนุษย์สามารถประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และทำการตัดสินใจได้เหมาะกับสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม คนที่มีอาการคิดมากจะได้รับผลกระทบจากการคิดมากกว่าคนทั่วไป เพราะพวกเขามักจะจมอยู่กับปัญหามากกว่าคิดหาทางออกให้กับปัญหานั้น (problem-solving)
หันมองคนรอบตัวเราตอนนี้ ถ้ามีใครสักคนที่งานยังรุ่ง การเงินยังพุ่งแรง ธุรกิจยังทะยานไปข้างหน้าได้แบบไม่ตก คงต้องคารวะอย่างสุดจิตสุดใจ แต่ข้อเท็จจริงคือคนเหล่านั้นไม่ใช่คนส่วนใหญ่ สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคง ส่งผลต่อสภาพธุรกิจที่ไม่แข็งแรง จนหลายองค์กรต้องปรับตัวขนานใหญ่ (และปรับอยู่บ่อย ๆ เพื่อตามสถานการณ์ให้ทัน) สภาวะคับขันแบบนี้องค์กรจึงยิ่งต้องการคนทำงานที่ประสิทธิภาพมากพอที่จะพาองค์กรเติบโตหรือยังไปต่อได้ ดังนั้นใครที่ยังมีงานประจำ ยิ่งต้องกอดงานตัวเองไว้ให้แน่น เพราะการปรับเปลี่ยนพนักงาน ปรับโครงสร้างก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่องค์กรเลือกปรับ ถ้าคนทำงานไม่ตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ ๆ ขององค์กรได้ คำถามก็คือในสภาวะที่ไม่มั่นคงแบบนี้ เราจะรักษามาตรฐานอย่างไรถึงจะเป็นคนทำงานที่องค์กรต้องการตัวเราอยู่เสมอให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่เราทำงานอยู่ หรือเผื่อต้องหางานใหม่ในอนาคต? มาตรฐานสูงเข้าไว้ (และอย่าให้มาตรฐานตก!) สิ่งที่ต้องจำให้แม่นมั่นในสถานการณ์อันยากลำบากแบบนี้คือเราต้องเป็นคนที่ดีที่สุด ต้องเป็นคนที่มีมาตรฐานที่สูงที่สุดในพื้นที่การทำงานของเรา หมั่นรักษาทักษะและศักยภาพที่มีให้สดใหม่และรักษาความแข็งแกร่งเดิมไว้ให้ได้ เพราะในขณะที่ตลาดงานหดตัวลง (คนต้องการทำงานเยอะ องค์กรมีอัตราการจ้างต่ำ) นายจ้างยิ่งมีทางเลือกมากขึ้นดังนั้นองค์กรมักเลือกคนที่ดีที่สุดมากกว่าเลือกคนที่ทำงานไปวัน ๆ อย่างไรก็ตามคำว่า “มาตรฐานสูง” ไม่ได้หมายความว่าถ้าเราเป็นระดับจูเนียร์แล้วจะข้ามไปซีเนียร์ ไปทำงานบริหาร แต่หมายความว่าเราต้องทำดีที่สุดในพื้นที่ของเรา ( เช่น ถ้าพูดถึงตำแหน่งนี้ของจูเนียร์ เราต้องเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่ผู้บริหารพูดถึง) ดังนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ในระดับไหนของตำแหน่งที่เราทำ เป็นระดับปฏิบัติการ เป็นระดับบริหาร เป็นะดับอาวุโส ฯลฯ เราต้องรักษามาตรฐานให้สูงที่สุดในพื้นที่ของเรา ด้วยการเรียนรู้อยู่เสมอ พัฒนาทักษะใหม่ ๆ ที่สำคัญต่องานที่เราทำอยู่
ถ้าพูดถึง CEO ไฟแรงที่น่าจับตามองในขณะนี้ สปอตไลท์คงต้องส่องไปที่ คุณรวิศ หาญอุตสาหะ หรือพี่แท๊ป ผู้บริหารไฟแรง แห่งบริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด เจ้าของเพจ Mission to the moon ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 300,000 คน เจ้าของ Podcast ชื่อดังอย่าง Superproductive Podcast และหนังสือติดอันดับมากมายอย่าง Marketing ลิงกลับหัว, คิดจะไปดวงจันทร์ อย่าหยุดแค่ปากซอย, Superproductive และอีกหลายเล่มที่คุณต้องไปติดตาม เกริ่นมาขนาดนี้แล้ว เราคงไม่พลาดที่จะมาเจาะลึก สูตรสำเร็จในการบริหารจัดการสไตล์พี่แท๊ปกันว่า มีเคล็ดลับการบริหารจัดการอย่างไรให้ประสบความสำเร็จทั้งด้านการทำงาน รวมถึงการได้ทำสิ่งที่ตนเองรักอีกด้วย วิธี Motivate ตัวเอง ให้เป็นคนที่ Superproductive ตลอดเวลา สม่ำเสมอโดยไม่ท้อไม่หมดแรง พี่แท๊ป : จริง ๆ ต้องบอกว่าก็ไม่ได้ productive ตลอดเวลาขนาดนั้น ก็มีวันที่หนืด ๆ นอนเฉย ๆ
ความเครียดอยู่คู่กับมวลมนุษยชาติมาโดยตลอด โดยเฉพาะในยุคที่เราต้องแข่งกันทำงาน ฟาดฟันกันทางธุรกิจ ความเครียดย่อมรุมเร้าเป็นเงาตามตัว ความเครียดในระดับที่เหมาะสมอาจหมายถึงเราได้เผชิญความท้าทาย ได้ก้าวออกจากคอมฟอร์ตโซน แต่ความเครียดที่พุ่งทะลุขีดก็อาจหมายถึงปัญหาสุขภาพที่ตามมา หรืองานที่ไม่มีประสิทธิภาพได้ การจัดการกับความเครียดให้อยู่หมัดจึงเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรเรียนรู้และฝึกฝน ไม่ใช่เพื่อให้ชีวิตนี้ไม่มีเรื่องเครียดมากวนใจ แต่เมื่อมีปัญหาและเรื่องเครียดมาทักทายแล้วเราสามารถรับมือกับมันได้อย่างที่มนุษย์ที่ประสบความสำเร็จหลาย ๆ คนเขาทำกัน อย่ามัวคลายเครียด แต่หาสาเหตุแล้วกำจัดต้นตอของมัน กิจกรรมผ่อนคลายความเครียดไม่ได้ผิดอะไร เราสามารถทำกิจกรรมเหล่านั้นเวลาเราต้องการเพิ่มความรู้สึกรื่นรมย์ให้ชีวิต หรือเมื่อความเครียดนั้นอยู่ในระดับแค่เบี่ยงเบนความสนใจก็ดีขึ้น แต่เราไม่สามารถหาทางคลายเครียดเพื่อหนีความเครียด หรือกำจัดมันให้พ้นไปตลอดกาลได้ ดังนั้นหนทางสำคัญจึงเป็นการหาที่มาของความเครียดนั้นให้เจอ และจัดการกับมันอย่างตรงจุด การศึกษาวิจัยตลอดทศวรรษที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ที่ประสบความสำเร็จจากหลายแขนง ทั้งนักธุรกิจ ผู้นำการทหาร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กระทั่งนักกีฬามากความสามารถล้วนแต่โฟกัสไปที่การแก้ปัญหา ตั้งแต่ที่สถานการณ์เริ่มสร้างความตึงเครียดให้พวกเขา วิธีการก็คือการพยายามระบุแหล่งที่มาของความเครียดให้ได้ จากนั้นจึงจัดการกับมันอย่างตรงจุด เช่นกรณีของศัลยแพทย์ที่ต้องผ่าตัดครั้งสำคัญ นอกจากความยากของการผ่าตัดที่เป็นความท้าทายครั้งสำคัญซึ่งเลี่ยงไม่ได้แล้ว การนอนไม่พอหรือการหายใจผิดจังหวะจากความเครียดของตัวเองก็อาจทำให้ทุกอย่างเลวร้ายลงไปอีก ดังนั้นทางแก้ที่พวกเขาเลือกจึงเป็นการนอนให้เพียงพอก่อนวันผ่าตัด การฝึกการหายใจเพื่อให้รับมือกับความเครียดในห้องผ่าตัดได้ดีขึ้น หรือกรณีของนักธุรกิจที่ต้องเครียดจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กร เขาจะไม่เลือกเพิกเฉย แล้วรอแก้ปัญหาที่ตามมา แต่เลือกหาสาเหตุของปัญหาเหล่านั้นและรีบคลี่คลายมันก่อนที่ทุกอย่างจะลุกลาม คนที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก จึงไม่ได้เลือกทางที่ความเครียดเกิดขึ้นแล้วหาทางบรรเทาอารมณ์ความรู้สึกนั้นแต่พวกเขาจะพยายามหาสาเหตุของความเครียดที่พวกเขารู้สึกเป็นอันดับแรก แล้วหาทางมาจัดการกับต้นตอนั้นให้เร็วที่สุด อารมณ์เชิงลบ ไม่ได้แย่เสมอไป ถ้าใช้ให้ถูกวิธี เชื่อว่าหลายคนเคยได้รับคำแนะนำเรื่องการจัดการความเครียดที่เน้นให้เราควบคุมอารมณ์เชิงลบของตัวเอง การไม่โกรธ การไม่ผิดหวัง คำแนะนำที่อยากให้เราผ่อนคลายอารมณ์จากความเครียดอันเผาไหม้ ด้วยการให้มองโลกมุมใหม่ การพยายามหามุมมองที่เป็นบวกกว่าให้ตัวเอง วิธีเหล่านั้นได้ผลในหลาย ๆ กรณี โดยเฉพาะเมื่อเราเผชิญความเครียดจากเรื่องที่เราไม่อาจควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงมันได้อีกแล้ว
พูดถึงสารเคมีในเครื่องดื่มที่ทำให้เราตาสว่าง สิ่งนั้น คือ ‘คาเฟอีน’ (caffeine) ที่เราบริโภคกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ เพราะมีอยู่ในเครื่องดื่มหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โค้ก ชา หรือ กาแฟ เป็นต้น แต่สงสัยไหมว่า ในเมื่อคาเฟอีนมีอยู่ในเครื่องดื่มหลายชนิด ทำไมกาแฟจึงทำให้เรารู้สึกตื่นได้ดีที่สุด? UNLOCKMEN จะอธิบายให้ทุกคนฟัง พร้อมแนะนำวิธีการดื่มกาแฟให้ตื่นอย่างแท้จริงด้วย ทำไมต้องดื่มกาแฟ? คาเฟอีนมีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (หรือ สมอง) ทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น อะดรีนาลีน (adrenaline) หรือ โดปามีน (dopamine) ส่งผลให้ อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ไปจนถึงระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงขึ้น เราจึงรู้สึกกระปรี้กระเปร่าเมื่อได้รับสารคาเฟอีนเข้าสู่ร่างกาย ในเครื่องดื่มแต่ละชนิดจะมีปริมาณคาเฟอีนที่ต่างกัน กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่มีปริมาณคาเฟอีนสูง เมื่อเที่ยบกับเครื่องดื่มประเภทอื่น เช่น ชา ค่าปกติปริมาณคาเฟอีนในกาแฟจะอยู่ที่ 40 มก./100 กรัม ส่วนชาจะอยู่ที่ 11 มก./100 กรัม ซึ่งความแตกต่างในเรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะธรรมชาติของตัวเมล็ดกาแฟ หรือใบชา แต่เกิดจากวิธีการชงกาแฟใช้น้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่า
เคยเป็นมั้ย เวลาคุยกับคนใหม่ๆ คนแปลกหน้า เราจะรู้สึกไม่มั่นใจ เพราะคิดว่าเขาคงคุยกับเราแล้วรู้สึกไม่สนุกเท่าไหร่ ขอบอกเลยว่าคุณไม่ได้เดียวดายในเรื่องนี้ เพราะ ‘Liking Gap’ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ไอ้สิ่งที่เรียกว่า Liking Gap มันคืออะไร? แล้วมันเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความสัมพันธ์ตรงไหน? UNLOCKMEN จะอธิบายให้ทุกคนฟัง พร้อมแนะนำ 3 เคล็ดลับทลายกำแพงการพูดคุยกับคนแปลกหน้าเอาไว้ฝึกฝนสกิลการเข้าสังคม และต้องเริ่มต้นบทสนทนากับพบผู้คนหน้าใหม่ ๆ Liking Gap คือ คำเรียกสภาวะที่เรารับรู้ความชื่นชอบจากคนอื่นไม่ตรงตามความเป็นจริง โดยเรื่องนี้ได้รับการยืนยันโดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่า เรามักประเมินความชอบที่ได้รับจากคนอื่นต่ำกว่าความเป็นจริง งานวิจัยชิ้นนี้ทำโดยทีมวิจัยของ ‘Erica Boothby’ นักจิตวิทยาจาก ‘Cornell University’ ในปี 2018 ซึ่งได้ศึกษาสถานการณ์ที่คนแปลกหน้าพูดคุยกัน (ทั้งในห้องทดลอง และสถานการณ์จริงของผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อป) โดยทีมวิจัยได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างใน 2 เรื่อง ได้แก่ แต่ละคนชอบคู่สนทนาของตัวเองมากแค่ไหน? และแต่ละคนคิดว่าคู่สนทนาของตัวเอง รู้สึกชอบเรามากน้อยแค่ไหน ? นักวิจัยได้ทำการศึกษา 5 ครั้ง (มีการเปลี่ยนสถานการณ์ และกลุ่มตัวอย่างระหว่างการทดลอง) ในกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนรวมกันกว่า 700 คน
หลายคนคงเคยเจอสถานการณ์ประมาณว่า “งานจะต้องส่งพรุ่งนี้แล้ว แต่วันนี้ยังทำไม่เสร็จ และรู้สึกขี้เกียจเป็นอย่างมาก” อันเกิดจากการไม่ยอมทำงานให้เสร็จตั้งแต่เนิน ๆ แต่ได้ขยับ timeline ไปเรื่อย ๆ จนถึงหนึ่งวันก่อนส่งงาน บางคนอาจเริ่มโทษความขี้เกียจของตัวเอง ว่ามีมากเกินไปจนไม่ยอมทำงานให้เสร็จและรู้สึกกระวนกระวายกลัวจะทำงานเสร็จไม่ทัน ความขี้เกียจเป็นปัญหาหรือไม่? แล้วเราจะทำให้ตัวเอง productive ขึ้นมาได้อย่างไร? UNLOCKMEN จะไขข้อข้องใจเหล่านี้เพื่อให้ทุกคนได้ปลดล็อกศักยภาพให้เอง ความขี้เกียจเกิดจากอะไร? ว่ากันว่ามนุษย์ขี้เกียจกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดั้งเดิมจำเป็นต้องเก็บสะสมพลังงานเพื่อความอยู่รอด หลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่า ร่างกายของมนุษย์ใช้พลังงานในการทำงานเยอะมาก (อย่างสมองมีน้ำหนักราว 2% ของร่างกาย แต่กินพลังงานที่ร่างกายได้รับต่อวันทั้งหมดถึง 20%) ความขี้เกียจจึงอาจเข้ามาช่วยให้มนุษย์ไม่ใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองเกินไปนั่นเอง แต่ต้นเหตุของความขี้เกียจก็ไม่ได้เกิดจากสัญชาตญาณเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ความขี้เกียจเข้าครอบงำ ได้แก่ ความกลัว (fear) ความขี้เกียจและความกลัวดูจะมีความสัมพันธ์กัน ความขี้เกียจเปรียบเหมือนพื้นที่ปลอดภัย (comfort zone) สำหรับหนีความกลัวที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น กลัวว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ กลัวว่าจะล้มเหลว กลัวว่าจะตอบสนองความคาดหวังของคนอื่นไม่ได้ ความกลัวในลักษณะนี้หนักหน่วง และเป็นภาระต่อร่างกาย ทำให้เกิดความเครียด เราจึงต้องขี้เกียจ และผัดวันประกันพรุ่ง (procrastination) เพื่อปัองกันการเผชิญหน้ากับความกลัวทั้งๆ ที่เรายังไม่พร้อม ซึ่งบางคนกว่าจะรู้สึกพร้อมก็ใช้เวลานานพอสมควร ภาวะซึมเศร้า
คราวที่แล้วเราได้แนะนำเรื่อง 5 CHECKLISTS ระบุสัญญาณว่าที่ทำงานของคุณเต็มไปด้วย TOXIC WORKPLACE ไปแล้ว และอย่างที่สัญญาว่าเราจะมานำเสนอวิธีเอาตัวรอด ถ้าเช็คแล้วพบว่าที่ทำงานของคุณมันช่างเต็มไปด้วยความ Toxic Workplace ซึ่งในสถานการณ์ที่งานเป็นสิ่งหายาก จะลาออกเพื่อหนีปัญหาก็ไม่น่าจะเป็นทางออกที่ดีนัก เลยอยากจะแนะนำเคล็ดลับที่จะทำให้ทุกคนสามารถทำงานได้อย่างมีความสุขได้ แม้จะอยู่ใน toxic workplace ก็ตาม ซึ่งมีหลักง่ายๆ ดังต่อไปนี้ หลีกเลี่ยงดราม่า (avoid drama) ไม่นินทา หรือ ตัดสินคนอื่นจากคำนินทาเพียงอย่างเดียว ควรตัดสินจากข้อมูลอย่างรอบด้าน ทั้งจากประสบการณ์ของเราเอง และ ประสบการณ์ของคนอื่น หากเป็นไปได้ มีอะไรก็ควรพูดคุยกันตรง ๆ ไม่ว่าจะกับเพื่อนร่วมงาน หรือ เจ้านายที่มีปัญหา เพื่อให้ปัญหานั้นได้รับการแก้ไข ไม่ถูกซุกอยู่ใต้พรม ซึ่งยิ่งมีปัญหาคาใจซุกไว้มาก ยิ่งจะทำให้บรรยากาศในการทำงานมาคุเสียเปล่า ๆ ตัวบริษัทเองก็ควรสร้างช่องทางการสื่อสารที่ทำให้เกิดการพูดถึงปัญหาด้วย เช่น อาจจะทำเป็นช่องทางการสื่อสารแบบลับๆ ที่จะทำให้ผู้รายงานปัญหาไม่รู้สึกว่า จะถูกคุกคามในอนาคตเมื่อพูดถึงเรื่องนี้ สร้างขอบเขตในการทำงานที่ชัดเจน (establish boundaries) ในบางกรณีที่อยู่ใน toxic workplace ก็ยากที่จะปฏิเสธการทำงานเกินเวลา หรือทำงานในวันที่ควรจะได้พัก จึงต้องมีการกำหนดขอบเขตในการทำงานและการใช้ชีวิตที่ชัดเจน