เราถูกสั่งสอนกันมาว่าการเข้าอกเข้าใจคนอื่นเป็นเรื่องดี เป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะมันเป็นสิ่งที่จะทำให้เราอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข แต่ทว่า ความเห็นอกเห็นใจ (compassion หรือ empathy) ก็เป็นเหมือนดาบสองคมที่ทำให้เราตกอยู่ในภาวะ Compassion Fatigue ได้ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? และเราจะป้องกันมันได้อย่างไร? Unlockmen จะอธิบายให้ฟัง ภาวะเหนื่อยล้าจากการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (compassion fatigue) หรือ secondary traumatic stress (STS) คือ ความเครียด ความเหนื่อยล้าทั้งกายและใจที่เกิดจากการเห็นอกเห็นใจคนอื่นมากเกินไปจน ทำให้เราให้ความสำคัญกับตัวเองน้อยลง โดยสาเหตุของ compassion fatigue อาจเกิดจากการรับฟังเรื่องราวของคนที่มีบาดแผลทางจิตใจบ่อย ๆ เช่น คนที่เคยประสบอุบัติเหตุ หรือการสูญเสีย และรู้สึกว่าทำไมเราจึงช่วยเหลืออะไรคนเหล่านั้นไม่ได้เลย และพอความรู้สึกนั้นถูกเก็บสะสมความรู้สึกมาเรื่อย ๆ ก็เกิดความเหนื่อยล้าและความทุกข์ทรมานที่เรียกว่าเป็น compassion fatigue ตามมา แม้เมื่อก่อน ภาวะ compassion fatigue จะพบในกลุ่มคนที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย เช่น พยาบาล (ซึ่ง Carla Joinson ได้นิยามคำว่า compassion
เคยทำงานเสร็จเร็วกว่าเวลาที่มีกันไหม? ไม่ว่าจะเพราะเตรียมตัวมาดี มีประสบการณ์กับงานนี้แล้ว หรือบริหารเวลาได้มีประสิทธิภาพก็ตาม แต่เรา (และคนอื่น) มักไม่ชื่นชมคนทำงานเสร็จเร็วในแง่ดีนัก เพราะเมื่อทำงานเสร็จเร็วกว่าเวลาที่กำหนด นั่นหมายความว่าจะมีเวลาที่เหลือแล้วดูว่างหรือไม่มีอะไรทำ รวมไปถึงคนกลับบ้านตรงเวลา กับคนที่ถึงเวลาเลิกงานก็ยังไม่ยอมกลับ นั่งลุยต่อไปจนดึกดื่น คนที่ดูยุ่งขิงกับงานยันดึกดื่นค่อนคืนนั่นเองที่มักถูกมองว่าขยัน มุมานะ ฝ่าฟัน และนั่นจึงเป็นที่มาของการที่ใคร ๆ ก็อยากดูงานยุ่ง ดูมีอะไรทำตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ถูกคำครหา (ทั้งจากตัวเองและผู้อื่น) ว่าไอ้นี่ทำไมมันดูชิลจัง วัน ๆ ทำไมไม่ยุ่งเลยล่ะ? มันทำงานบ้างไหมวะเนี่ย! โดยลืมไปแล้วว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิทุกประการที่จะบริหารจัดการงานและเวลาของตัวเอง ความยุ่งจึงไม่ใช่สัญลักษณ์หรือบ่งบอกคุณภาพการทำงานได้เสมอไป แล้ววันนี้คุณยุ่งไหม? ยุ่งเพราะงานเยอะบริหารเวลาไม่ทัน หรือยุ่งเพราะอยากทำตัวยุ่ง ๆ ให้ดูมีงานทำอย่างหนัก? UNLOCKMEN อยากชวนมาสำรวจ และหาทางปรับพฤติกรรม รู้จัก Toxic Busyness เมื่อเราเสพติดความยุ่งที่ลวงตา Toxic Busyness หรือ ความยุ่งเป็นพิษ คือสภาวะที่มนุษย์เหมือนกันมุ่นอยู่กับการทำตัวให้ยุ่งอยู่ตลอดเวลา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแพร่หลายในโลกยุคโมเดิร์นนี้ ไม่ใช่แค่กับการทำงานเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงกิจกรรมสารพัดสารพัน ออกกำลังกาย เรียนภาษา หัดเล่นเซิร์ฟ อ่านหนังสือ ซึ่งไม่ได้แปลว่าทั้งหมดมานี้ไม่ดีแต่อย่างใด แต่บางคนเลือกทำกิจกรรมหลายอย่างเพราะกลัวจะไม่ทันคนอื่น กลัวคนอื่นจะมองว่าเราอยู่นิ่ง
ในช่วงเวลาที่การทำงานหาเงินเป็นเรื่องยากลำบาก ปัญหาการใช้ชีวิตในแต่ละวันที่สวนทางกับสโลแกน “กรุงเทพ ชีวิตดี ๆ” ราวกับคนคิดไม่เคยออกมาใช้ชีวิตบนท้องถนนและทางเท้า หรือแม้แต่ปัญหาการไม่เข้าใจกันด้านความเชื่อของคนในบ้าน ทุกความหนักอึ้งที่เราได้แต่เก็บมันไว้ในใจ ภายนอกคือหน้าตายิ้มแย้มให้กับลูกค้า เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ซึ่งงานวิจัยของ UNIVERSITY PARK พบว่า ยิ่งฝืนยิ้มเก็บกดปัญหาเท่าไหร่ เรายิ่งมีปัญหาดื่มเหล้าหนักมากขึ้นไปด้วย ผลงานวิจัยที่ University Park ชิ้นนี้ถูกเรียกว่า “National Survey of Work Stress and Health” และมีการตีพิมพ์ใน “Journal of Occupational Health Psychology “ รวบรวมข้อมูลจากคนทำงานด้านบริการด้วยวิธี Phone Interview คนทำงานใน USA จำนวน 1,592 คน เพื่อสอบถามว่าในการทำงานต้องฝืนยิ้มบ่อยแค่ไหน (ในงานวิจัยเรียกว่า “surface acting,”) และหลังเลิกงานไปดื่มบ่อยและเยอะแค่ไหน โดยเน้นอาชีพที่ประสิทธิภาพและรายได้ขึ้นอยู่กับการยิ้มแย้ม เช่น คุณครูที่ต้องบริการนักเรียน พนักงานขายอาหารที่ต้องบริการลูกค้า หรือพยาบาลที่ต้องดูแลผู้ป่วย
หลายคนอาจเบื่อเวลาบริษัทจัดการประชุมงานตอนเช้า โดยอาจเพราะรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่เสียเวลา และตัวเองก็รู้สึกไม่ได้มีส่วนร่วมอะไรกับการประชุมมาก การประชุมที่ไม่มีประสิทธิภาพบ่อยๆ ให้ผลเสียมากกว่าผลดีต่อทุกฝ่าย ทั้งคนที่จัดประชุมและผู้เข้าร่วมการประชุม UNLOCKMEN จึงอยากแนะนำวิธีการจัดการประชุมเช้าที่มีประสิทธิภาพ เพราะเห็นว่า การประชุมเช้ามีประโยชน์ต่อการทำงาน และถ้ามีการจัดประชุมที่ดี จะส่งผลดีต่อทุกคน วิธีการประชุมในตอนเช้าที่ดีที่สุดควรไม่ใช่เวลานาน แต่ควรเป็นในแบบที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า ‘morning huddle’ คือ เป็นการพบปะกันโดยใช้เวลาไม่เกิน 15 – 20 นาที เพราะตอนเช้าเป็นเวลาที่หลายคนอาจมีงานที่ค้างอยู่ และไม่สามารถให้ความสนใจกับการประชุมยาวๆ ได้เต็มที่ การประชุมสั้นๆ จึงมีประสิทธิภาพมากกว่า แม้จะเป็นการประชุมสั้นๆ แต่ ‘morning huddle’ ก็ให้ประโยชน์กับองค์กรมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ทำให้เกิดการพูดถึงปัญหาที่พบเจอในการทำงาน เพราะ ทุกคนได้รับโอกาสในการพูด ทำให้การทำงานเป็นทีมเวิร์กมากขึ้น เพราะเปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น และทำให้ทุกคนมีความเข้าใจตรงกันและรู้ทิศทางในการทำงาน สามารถวางแผนการทำงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรได้ สร้างความรู้สึกการมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างแท้จริง และองค์กรยังสามารถใช้ morning huddle สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานในบริษัทได้ด้วย เช่น ให้ทุกคนท่อง motto ขององค์กร พูดถึงวิสัยทัศน์ขององค์กร ฯลฯ ความสำคัญของ morning huddle เห็นได้จากการที่บางประเทศจัดกันเป็นวัฒนธรรม
การแบ่งเวลาไม่ดีสามารถส่งผลเสียให้เราได้หลายอย่าง เช่น ทำให้เราทำงานได้น้อยลง ช้าลง หรือ ใช้เวลาในการทำงานมากจนไม่มีเวลาทำอย่างอื่น เป็นต้น ดังนั้น ในยุคที่เรามีอะไรต้องทำอะไรหลายอย่าง จึงต้องมี Work life-balance และทักษะการบริหารเวลาที่ดีมีความสำคัญต่อชีวิตเรา ในบทความนี้ UNLOCKMEN เลยอยากแนะนำเทคนิคการบริหารเวลาแบบหนึ่งชื่อว่า Time blocking ซึ่งเป็นเทคนิคที่ผู้มีชื่อเสียงในระดับโลกใช้กัน เช่น Elon Musk เพื่อให้ทุกคนสามารถบริหารเวลาของตัวเองได้ดีขึ้น และมีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้นตามมา Time Blocking คือ อะไร? Time blocking คือ เทคนิคการบริหารเวลาโดยการแบ่งวันในแต่ละสัปดาห์ออกเป็นส่วนย่อยๆ หรือ บล็อก สำหรับการทำงานที่เฉพาะเจาะจง มันเป็นเทคนิคที่มีความเก่าแก่พอๆ กับหลักฐานการใช้งานปฎิทินในยุคทองแดง (Bronze Age) ซึ่งในยุคนั้นมีการใช้ปฏิทินเพื่อกะเวลาในการทำเกษตรกรรม ไม่มีใครทราบว่า ผู้คิดค้น Time blocking คือใคร แต่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า คนแรกๆ ที่ใช้วิธีการนี้ในการบริหารเวลาชีวิต คือ Benjamin Franklin โดยเขาได้มีการแบ่งกิจกรรมต่างๆ ที่เขาจะทำในแต่ละชั่วโมงของวัน Time blocking จะเป็นวิธีการที่ให้ความสำคัญกับการทำอะไรทีละอย่าง
ในสังคมของเราเต็มไปด้วยผู้คนที่มีความหลากหลาย และแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น ค่านิยม ความเชื่อ วิถีชีวิต ฯลฯ ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้เห็นได้อย่างชัดเจนในกลุ่มคนที่มีช่วงวัย หรือ generation ที่ต่างกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทุกวันนี้เราจะเห็นคนที่อยู่ในบ้านเดียวกันทะเลาะกัน เพราะมีความเห็นไม่ตรงกันบ่อยๆ ความแตกต่างของคนต่าง Generation กัน มักทำให้คนในสังคมเดียวกันไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน นำไปสู่ความขัดแย้ง และการทะเลาะเบาะแว้ง มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปจนมีการนิยามคำว่า The generation gap ขึ้นมาอธิบายมันเลยทีเดียว ในบทความ UNLOCKMEN เลยอยากพูดถึงวิธีการทำงานและใช้ชีวิตร่วมกับคนต่าง Generation เพื่อให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ลดการทะเลาะเบาะแว้ง และรับมือกับคนที่แตกต่างจากเราได้ดียิ่งขึ้น ทำไมคนต่างวัยกันถึงได้เหมือนอยู่กันคนละโลก ? ถ้าใครกำลังหนักใจและสงสัยว่าทำไมพ่อแม่ของเราคิดไม่เหมือนเรา? และไม่รู้จะแก้ไขยังไงดี เราอยากแนะนำว่า อย่าเพิ่งคิดหนีออกจากบ้าน หรือถ้ามีปัญหานี้กับหัวหน้าในที่ทำงาน ก็อย่าเพิ่งคิดจะเปลี่ยนงาน เพราะเราเชื่อว่าโอกาสที่เราจะเจอกับปัญหาแบบเดิมน่าจะยังมีสูงอยู่ ตราบใดที่เรายังต้องใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นในสังคมอยู่ดี เราจึงอยากให้ทุกคนเข้าใจปรากฎการณ์นี้และรับมือกับมันให้ได้อย่างถูกต้องมากกว่า คำว่าช่องว่างระหว่างยุคสมัย หรือ The generation gap เป็นคำที่นักสังคมวิทยาใช้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างคนยุคหนึ่งกับคนอีกยุคหนึ่ง เช่น พ่อแม่ กับ ลูก ในเรื่องของความเชื่อ แนวคิดทางการเมือง รวมถึง
เคยรู้สึกเบื่องานกันบ้างไหม? รู้สึกว่างานที่ทำอยู่ช่างไม่มีความสุขเอาซะเลย? หลายคนน่าจะเคย และรู้สึกว่า ความน่าเบื่อ (boredom) เป็นพิษภัยต่อการทำงานอย่างมาก เพราะมันทำให้ ‘ซัฟเฟอร์’ กับการทำงาน ทำให้รู้สึกว่าต้องอดทนทำงานไปวันๆ ไม่มีแพสชั่นกับสิ่งที่ทำอยู่เลย ผลร้ายที่สุด คือ ทำให้ไม่สามารถก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้ และท้ายที่สุดก็อาจลาออกจากงาน แต่ไม่ว่าความน่าเบื่อจะเป็นพิษกับเรามากแค่ไหน เราก็อาจจะขาดความเบื่อไม่ได้! เพราะมันเหมือนเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีวิวัฒนาการและไม่หยุดนิ่ง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ? วันนี้ UNLOCKMEN จะพาทุกคนไปเข้าใจอาการเบื่อ และแนะนำวิธีการป้องกันและหลีกเลี่ยงผลเสียจากมัน เพื่อให้ทุกคนมีความสุขในชีวิตการทำงาน หลายคนพอได้ยินคำว่า “น่าเบื่อ” จากอารมณ์ดีอยู่ๆ ก็อาจหม่นหมองได้ เพราะทำให้นึกถึงอะไรลบๆ หลายอย่าง แต่อย่าเพิ่งดาวน์นะ! ทำใจให้สบายๆ แล้วมาฟังเราอธิบายเรื่องความเบื่อเสียก่อน ไม่แน่ว่าหลังจากอ่านบทความนี้จบ คุณอาจเปลี่ยนมุมมองต่อความน่าเบื่อก็เป็นได้! ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญได้ชี้ให้เราเห็นว่า ความน่าเบื่อมีบทบาทสำคัญต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน เพราะถ้าเราไม่เบื่อ เราคงไม่ออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในชีวิตของตัวเองได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นในเรื่องงาน ความเบื่อจะเตือนเราว่า งานที่เราทำอยู่อาจไม่ทำให้เราบรรลุเป้าหมายในการทำงานของตัวเอง (เช่น มีเงินเก็บมากพอที่จะซื้อรถยนต์ภายใน 2 ปี หรือ ไต่เต้าขึ้นไปทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้นไม่ได้ เป็นต้น
เราควรตัดสินใจด้วยอารมณ์ไหม? . . คำถามนี้หลายคนพยายามหาคำตอบกันมาตั้งแต่อดีต และปัจจุบัน เริ่มมีคำตอบที่ชัดเจนมากขึ้นว่า การตัดสินใจด้วยเหตุผลอย่างเดียวอาจไม่เวิร์ก… ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น UNLOCKMEN จะอธิบายให้ฟัง ความเป็นเหตุผลเป็นผลทำให้เราสามารถตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ อยู่บนฐานของความเป็นจริงมากที่สุด เช่น หลักฐานหรือข้อมูล หลายคนจึงพยายามข่มอารมณ์ เมื่อต้องตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ อย่างที่คิดว่าควรจะเป็น แต่ที่จริงอารมณ์ก็ช่วยให้ความสามารถในการตัดสินใจของเราเพิ่มขึ้นได้เหมือนกันนะ ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการรับรองทางวิทยาศาสตร์แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ความสุข (ช่วยให้เราเห็นตัวเลือกในการตัดสินใจที่มากขึ้น และทำให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น) หรือความกลัว (ทำให้เราตัดสินใจได้อย่างระมัดระวังมากขึ้น) นอกจากนี้ อารมณ์ยังทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้เฝ้าระวังความผิดปกติด้วย ซึ่งจะทำให้เรารับรู้ปัญหาและแก้ไขได้ตรงจุด เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ขอยกตัวอย่างสถานการณ์หนึ่ง เป็นการนำเสนอโปรเจกต์ของคนอื่นที่เราต้องนำไปต่อยอด และเราในฐานะผู้ชี้เป็นชี้ตายโปรเจคนั้น ขณะฟังและคิดตาม อยู่ ๆ ก็รู้สึกอึดอัดแบบไม่ทราบสาเหตุ นั่นคืออารมณ์กำลังเตือนเราว่ากำลังมีสิ่งที่ผิดปกติเกิดขึ้น และเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องหาที่มาและวิธีการแก้ไข อาจเริ่มจากการตั้งคำถาม เช่น เรามีอคติกับคนพูดหรือเปล่า? หรือ การบรรยายโปรเจกต์นั้นมีข้อผิดพลาดอะไรรึเปล่า? เมื่อเราเข้าใจ เราก็จะตัดสินใจเกี่ยวกับโปรเจกต์นั้นได้อย่างถี่ถ้วนมากขึ้น เช่น ถ้าเรารู้ว่าตัวเองมีอคติกับคนพูด เราก็อาจจะถามความเห็นจากคนอื่นเกี่ยวกับโปรเจ็กต์นั้นมากขึ้น หรือ ถ้ารู้ว่าโปรเจ็กต์นั้นมีข้อผิดพลาด ก็อาจจะยังไม่ลงมือทำ แต่พยายามคิดหาทางแก้ไข หรือ
“เดดไลน์” คำนี้เป็นได้ทั้งแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ และเป็นมวลอารมณ์แห่งความสยองพองขนสำหรับใครหลายคน ตอนยังไม่ใกล้กำหนดส่งความชิลทั้งหลายจะเกาะกุมหัวใจของเรา บางทีก็ปัด ๆ การทำงานไว้ก่อนบ้าง และบางหนก็เพราะว่ายังไม่ใกล้เดดไลน์ไอเดียอะไร ๆ ก็ยังไม่พุ่งกระฉูด แต่เมื่อเดดไลน์คลืบคลานเข้ามา จนถึงขั้นไล่ล่า แม้ทางหนึ่งไอเดียจะพรั่งพรูทะลักล้น แต่อีกทางหนึ่งความเครียดก็สับขารัวตามมาติด ๆ ด้วยเช่นกัน แต่ไม่ต้องตื่นตระหนกไปความเครียดจากเดดไลน์นั้นไม่ใช่สิ่งที่เรารู้สึกอยู่เพียงลำพัง แต่จากผลสำรวจผู้คนวัยทำงานพบว่า 38% ล้วนต้องเผชิญกับความเครียดอันเนื่องมาจากการปั่นงานให้ทันกำหนดส่งกันแทบทั้งนั้น แล้วเราพอจะรับมือกับมันอย่างไรได้บ้าง? การบอกให้ “ก็ทำงานให้เสร็จก่อนกำหนดนาน ๆ สิ” ดูเหมือนจะเป็นคำแนะนำง่าย ๆ ที่ใครก็แนะนำได้ แต่จะให้ทำจริงนั้นยากแสนยาก (ก็เพราะไอเดียดี ๆ มันมาตอนใกล้จะส่งงานไง!) ดังนั้น UNLOCKMEN ภูมิใจนำเสนอวิธีรับมือกับความเครียดจากเดดไลน์แบบอยู่หมัด ปั่นงานส่งครั้งหน้าอย่างน้อยถ้าจิตใจยังไหว จะอะไรก็สู้! อย่าประมาทความคาดหวัง ยังไม่ลงมือทำก็ได้ แต่ต้องเข้าใจตัวเองให้ดี ความเครียดว่าจะทำงานเสร็จทันหรือไม่ (อาจเพราะลงมือทำช้า) เป็นเรื่องหนึ่ง แต่สิ่งหนึ่งที่เรามักเครียดเมื่อเดดไลน์ใกล้เข้ามา คือการที่เราค้นพบว่าสิ่งที่โปรเจกต์นี้ต้องการจากเรามันช่างมากล้น มากล้นจนไม่ใช่แค่เวลาก็ไม่พอ แต่ศักยภาพเราไปไม่ถึงงานนี้ การสำรวจความคาดหวังของเราต่องานหนึ่ง ๆ ที่รับมาแต่แรกจึงสำคัญมาก เราไม่ได้กำลังแนะนำให้คุณต้องรีบลงมือทำงานเพื่อให้ทันเดดไลน์ แต่เรากำลังบอกคุณว่าตั้งแต่ตอนรับงานเราต้องชัดเจนแต่แรกว่าเราคาดหวังอะไรจากงานนี้? เราต้องชัดเจนกับตัวเอง เพื่อที่ถ้ารู้แต่ต้นว่างานนี้มันเกินศักยภาพของเรา เราจะได้ปฏิเสธ
หลายคนอาจไม่ค่อยชอบสิ่งที่เรียกว่า ‘ความกลัว’ เท่าไหร่ เพราะมันทำให้เราทุกข์ และบางครั้งมันก็รบกวนชีวิตเราจนเราไม่เป็นอันทำอะไร แต่รู้ไหมว่า ความกลัวส่วนใหญ่มักไม่เกิดขึ้นจริง เป็นเพียงสิ่งที่เราคิดไปเอง และความกลัวก็มีประโยชน์ถ้าเรารู้จักใช้ประโยชน์จากมัน ซึ่งในบทความนี้ UNLOCKMEN อยากให้อธิบายเรื่องเหล่านี้ให้ทุกคนฟัง หลายคนอาจคุ้นเคยกับแนวคิดที่ว่า ‘ความกลัวเป็นสิ่งที่ไม่จริง’ เพราะเคยดูภาพยนตร์แนวไซไฟเรื่อง ‘After Earth (2013)’ ซึ่งมีฉากหนึ่งที่ ตัวละครเอก Cypher Raige (Will Smith) ผู้บัญชาการหน่วยยูไนเต็ด เรนเจอร์ ได้สั่งสอนลูกชายของเขา Kitai Raige (Jaden Smith) ถึงเรื่องของความกลัวไว้ได้อย่างคมคายว่า “ความกลัวเป็นสิ่งที่ไม่จริง ความกลัวอยู่ได้แค่ในการคิดถึงอนาคตของเราเอง มันเป็นผลผลิตของจินตนาการ ทำให้เรากลัวในสิ่งที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นเลยในปัจจุบัน และอาจจะไม่มีวันเกิดขึ้น (Fear is not real. The only place that fear can exist is in our thoughts of the future.