การจบบทสนทนานับเป็นสกิลที่ผู้ชายทุกคนควรมี เพราะผู้ชายอย่างเราต้องเข้าสังคม และทักษะการจบบทสนทนาจะช่วยให้เราสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนอื่นได้ แต่หลายคนคงพบว่าการจบบทสนทนาเป็นเรื่องยากมาก เพราะไม่รู้ว่าควรจะตัดจบยังไงให้ดูไม่น่าเกลียด UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำเทคนิคการจบบทสนทนาอย่างสมูท โดยไม่ทำให้อีกฝ่ายต้องเสียความรู้สึก มีเป้าหมายที่ชัดเจน เวลาจะไปพบใครก็ตาม เราควรจำไว้เสมอว่าเราไปพบกับเขาเพื่ออะไร เช่น ต้องการหาคู่ หรือ ต้องการเจรจาทางธุรกิจ การตั้งเป้าหมายจะช่วยให้เรารู้ว่าควรพูดคุยกับอีกฝ่ายประมาณไหน ป้องกันการพูดหรือฟังมากเกินไป จนจบบทสนทนาได้ยาก แถมยังช่วยให้เรากล้าตัดสินใจมากขึ้นด้วย ถ้าเราเจอกับสถานการณ์ที่ต้องทำร้ายจิตใจอีกฝ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รอจนบทสนทนาเริ่มสงบ รอสัญญาณจากอีกฝ่ายที่แสดงให้เห็นว่าบทสนทนากำลังจะจบลงแล้ว ซึ่งสัญญาณมักมาในรูปแบบของคำพูด เช่น “อืม” “โอเค” หรือ “เออ” เป็นต้น คำเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าอีกฝ่ายเริ่มหมดเรื่องที่จะพูดกับเราแล้ว และเราสามารถใช้โอกาสนี้ในการเปลี่ยนเรื่องคุย หรือ ตัดจบบทสนทนาที่กำลังเกิดขึ้นได้ จบด้วยเป้าหมายในการสนทนา เราควรยึดเป้าหมายในการสนทนาตั้งแต่ต้นจนจบบทสนทนา ยกตัวอย่างเช่น ถ้าตอนแรกเราขอคำแนะนำจากเพื่อนเรื่องคลาสที่น่าเข้าเรียน เราอาจออกจากบทสนทนาโดยใช้ประโยคจบที่เชื่อมกับเป้าหมายในตอนแรก เช่น “ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ เราจะลงเรียนวิชานี้ให้ทันในเทอมหน้า” เป็นต้น จบด้วยการขอบคุณ ไม่ว่าคุณจะสนทนากับใคร หากต้องการจบบทสนทนาอย่างสุภาพ ควรจบด้วยการขอบคุณเสมอ เช่น ขอบคุณที่อีกฝ่ายสละเวลามาคุยกับเรา หรือ บอกกับอีกฝ่ายว่าการพูดคุยในครั้งนั้นสนุกมากแค่ไหน เป็นต้น
เราสามารถคิดมากได้ทุกที่ทุกเวลา นอน ๆ อยู่ เราก็สามารถคิดถึงคนรักเก่าในอดีต หรือ กลัวเรื่องการทำงานพลาดขึ้่นมา ซึ่งความกังวลที่แสนจะไร้เหตุผล และดูไม่มีปี่มีขลุ่ยแบบนี้ เรามักเรียกกันว่าเป็น Free Floating Anxiety ซึ่งถ้ามันเกิดขึ้นบ่อย ก็อาจเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการทำงานและการใช้ชีวิตของได้เหมือนกัน Free Floating Anxiety คือ ความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว โดยความรู้สึกนี้อาจถูกกระตุ้นโดยสิ่งของหรือสถานการณ์บางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น อยู่ดี ๆ เราก็เกิดกังวลเรื่องการ pitch งาน หรือ การสอบที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ขึ้นมา เป็นต้น อาการนี้มักเกิดขึ้นร่วมกับ อาการวิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder หรือ GAD) และทำให้เราเกิดความรู้สึกไม่สบายใจ กังวล หรือ ตื่นตระหนก และใช้ชีวิตประจำวันได้ยากเย็นมากขึ้น ดังนั้น หากเกิดอาการนี้ถี่และบ่อยการพบจิตแพทย์ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง คนที่เป็น Free Floating Anxiety มักวิตกกังวลมากจนขาดสมาธิในการใช้ชีวิตและการทำงาน มักรู้สึกกลัวเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและรู้สึกตื่นตระหนกอยู่ตลอดเวลา แถมยังรู้สึกว่าตัวเองเครียดจนนอนไม่หลับบ่อย และมีปัญหาเรื่องความเหนื่อยล้าอีกด้วย ปัญหานี้จึงแย่ต่อเรามากพอสมควร อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีใครอธิบายได้ว่า
ในชีวิตของหลายคนคงเคยพานพบกับคนที่มีความคิดหรือความชอบคล้ายกับตัวเอง และรู้สึกว่าพวกเขามีเสน่ห์และน่าดึงดูดอย่างน่าประหลาด มีคนพยายามอธิบายเรื่องนี้ด้วยความเชื่อเรื่อง กฎแห่งแรงดึงดูด (Law of Attraction) ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาความสุขในชีวิตได้หลายด้าน UNLOCKMEN อยากพาทุกคนไปเข้าใจกฎที่ว่านี้มากขึ้น กฎแห่งแรงดึงดูด คือ อะไร กฎแห่งแรงดึงดูด (Law of Attraction) เป็นหลักปรัชญาที่ได้รับการพูดถึงตั้งแต่ปี 1887 โดยมันสอนว่า ความคิดในแง่ดีจะดึงดูดผลลัพธ์ในเชิงบวก ส่วนความคิดในแง่ลบจะดึงดูดผลลัพธ์ในเชิงลบเช่นเดียวกัน ความเชื่อดังกล่าวมีฐานคิดมาจากความเชื่อที่ว่า ความคิดเป็นเหมือนพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สามารถดึงดูดสิ่งที่เหมือนกันได้ โดยพลังงานเชิงบวก (การคิดบวก) จะสามารถดึงดูดความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ของชีวิตได้ เช่น ด้านสุขภาพ ด้านการเงิน และด้านความสัมพันธ์ Law of Attraction ได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะหนังสือแนว Self-help ชื่อ ‘The Secret’ (2016) ที่เขียนโดย Rhonda Byrne และมีเนื้อหาอ้างอิงถึงเรื่องกฎแห่งแรงดึงดูด ซึ่งได้รับความนิยมมากจนมียอดขาย 30 ล้านเล่มทั่วโลก และถูกแปลเป็นภาษาอื่นมากกว่า 50 ภาษา สำหรับ Law
คงไม่มีใครอยากพัฒนาคนที่ทำกำไรให้กับธุรกิจของตัวเอง เพราะนอกจากจะทำให้เสียทุนเปล่าแล้ว มันทำให้บริษัทไม่พัฒนาไปข้างหน้าอีกด้วย ผู้บริหารย่อมอยากพัฒนาคนที่สามารถทำกำไรให้บริษัทได้มากขึ้น และอยู่กับบริษัทไปนาน ซึ่งเครื่องมือนึงที่จะช่วยให้ผู้บริหารเลือกพัฒนาคนได้ถูกจุด คือ กฎ 10-80-10 ที่มาของ 10-80-10 rule กฎ 10-80-10 คือ กฎที่พัฒนามาจาก Pareto principle ของ Vifredo Pareto นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาลี ซึ่งอธิบายว่า ผลงานหรือความร่ำรวย 80% เกิดขึ้นจากประชากรเพียง 20% เท่านั้น ต่อมาในช่วงปี 1940 Joseph M. Juran วิศวกรชาวอเมริกัน ได้นำกฎนี้มาประยุกต์ให้เข้ากับพฤติกรรมของคนมากขึ้น โดยมีใจความว่า 80% ของความสำเร็จในโปรเจ็กต์ใดโปรเจ็กต์หนึ่ง เกิดขึ้นจากการลงแรงของทีมเพียง 20% จนถึงปัจจุบันมีกลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่ เช่น John Leach นำ Pareto principle มาพัฒนาให้เข้ากับพฤติกรรมของคนมากขึ้น จนเกิดเป็นกฎใหม่ชื่อว่า 10-80-10 ซึ่งแบ่งความสำคัญของสิ่งต่าง ๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม
หลายคน พอยิ่งโต อาจยิ่งควบคุมอารมณ์ได้เก่งขึ้น แต่ก็มีบางคนเหมือนกันที่ถูกมองว่าเป็นเด็กอยู่ตลอดเวลา เพราะพวกเขาชอบทำอะไรตามใจ และไม่ค่อยคิดถึงผลของการกระทำของตัวเอง สุดท้ายพวกเขาก็ตัดสินใจได้แย่อยู่เสมอ จนเกิดผลเสียต่อตัวเองและคนรอบข้าง เราเรียกพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นว่า ’Impulsivity’ ซึ่ง UNLOCKMEN ได้นำวิธีป้องกันพฤติกรรมดังกล่าวมาฝากทุกคนด้วย อะไร คือ Impulsivity นักจิตวิทยาใช้คำว่า ‘Impulsivity’ ในการอธิบายพฤติกรรมลงมือทำอะไรบางอย่างโดยไม่คิดถึงผลลัพธ์ที่ตามมา เช่น การเสียเงินให้กับสิ่งล่อตาล่อใจได้ง่าย หริอ เดินข้ามถนนโดยไม่มองซ้ายมองขวา เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้มักส่งผลเสียต่อเราและคนรอบข้าง เพราะการทำอะไรแบบไม่ยั้งคิด อาจนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ไม่คาดฝันได้ เช่น การสูญเสียคนรัก การสูญเสียเงินโดยใช้เหตุ หรือ การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นต้น Impulsivity เกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยเฉพาะกับเด็กที่ยังไม่ค่อยมีวุฒิภาวะมากนัก และสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ความผิดปกติของสมองส่วน Prefrontal Cortex ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลในการตัดสินใจ การสืบทอดความผิดปกติทางกรรมพันธ์ุ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิด Impulsivity ไปจนถึงความผิดปกติทางจิตประเภทต่าง ๆ เช่น ภาวะอารมณ์สองขั่ว โรคสมาธิสั้น (ADHD) ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD) รวมไปถึง ความผิดปกติในการควบคุมตัวเอง
หลังจากที่เราเรียนจบมหาวิทยาลัย และกำลังเข้าสู่วัยทำงาน หลายคนคงเคยเจอกับสถานการณ์ที่ต้องเลือกระหว่าง “งานที่เงินดีแต่ไม่มีเวลาทำอย่างอื่น” หรือ “งานที่เงินอาจจะให้เงินไม่ดีมากเมื่อเทียบกับงานแรก แต่ก็ทำให้เรามีเวลาไปใช้ชีวิตมากกว่า” แต่ละคนคงมีเหตุผลในการเลือกงานที่แตกต่างกันไป บางคนกำลังเจอกับปัญหาเรื่องการเงินก็เลยเลือกงานที่มีเวลาว่างน้อย หรือ บางคนที่ไม่มีความเครียดเรื่องเงินก็อาจเลือกงานที่ได้เงินเดือนคุ้มค่ากับเวลา แต่ไม่ว่าคุณเลือกงานแบบไหน อาจต้องคิดถึง ‘ความสุข’ ของตัวเองด้วย เพราะงานวิจัยบอกเราว่าคนที่ให้ความสำคัญกับเงินอาจไม่ใช่คนที่มีความสุขมากเท่าไหร่ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง (2019) ได้ขอให้นักศึกษาที่กำลังเรียนจบจาก University of British Columbia จำนวนกว่า 1,000 คน ทำแบบประเมินที่วัดว่าพวกเขามีแนวโน้มจะให้คุณค่ากับเวลามากกว่าเงิน หรือ เงินมากกว่าเวลา ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูล นักวิจัย พบว่า เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ (61.7 %) ให้ความสำคัญกับเวลามากกว่าเงิน ในขณะที่เด็กนักเรียนเกือบ 40% ให้ความสำคัญกับเงินมากกว่า นอกจากนี้นักวิจัยยังขอให้พวกเขารายงานระดับความ พึงพอใจในชีวิตของตัวเอง (life satisfaction) โดยการตอบคำถามเช่น “Taking all things together, how happy would you say you are?”
เวลาทำงานสักชิ้น หลายคนคงอยากจะทำให้มันดีที่สุด ผิดพลาดน้อยที่สุด และเป็นไปตามที่เราหวังไว้มากที่สุด แต่หลายครั้งเหมือนกันที่เราพบว่า แม้งานโดยรวมจะออกมาจะดี แต่ข้อผิดพลาดเล็กบ้างน้อยบ้างที่เกิดขึ้น ทำให้เรารู้สึกหัวเสียมากกว่าที่จะดีใจกับงานที่สำเร็จแล้ว เป็นเพราะธรรมชาติของเรามีกลไกที่เรียกว่า ‘อคติเชิงลบ (negativity bias)’ ที่ทำให้สมองของเรามองว่าเรื่องเลวร้าย ข้อผิดพลาด หรือ ข้อเสีย มีความสำคัญมากกว่า เรื่องดี ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต งานวิจัยที่ทำโดย John Cacioppo ได้ทำการโชว์ภาพที่กระตุ้นอารมณ์เชิงบวก (เช่น ภาพรถเฟอร์รารี่ หรือ พิซซ่า) ภาพที่กระตุ้นอารมณ์ด้านลบ (เช่น ภาพแมวตาย) และภาพที่ให้อารมณ์เป็นกลาง (เช่น ภาพจาน หรือ เครื่องเป่าผม) แก่ผู้ที่เข้าร่วมการทดลอง พร้อมกับทำการบันทึกกิจกรรมของกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นใน เปลือกสมอง (cerebral cortex) ซึ่งมีความสำคัญต่อการรับข้อมูล จากงานวิจัย Cacioppo พบว่า สมองจะมีปฏิกริยาอย่างรุนแรงต่อสิ่งเร้าเชิงลบ โดยมันจะทำให้เกิดการทำงานของกระแสไฟฟ้ามากขึ้นในสมอง กล่าวได้ว่า ทัศนคติของเราได้รับอิทธิพลอย่างมากจากข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี ด้วยการทำงานของสมองแบบนี้ เราจึง ‘วิจารณ์ตัวเอง (self-criticism)’ บ่อยครั้งด้วยคำพูด เช่น
แม้งานวิจัยหลายชิ้นจะพูดถึงหลายผลเสียของ Multitasking หรือ การทำภาระหลายอย่างพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็น ทำให้เนื้อสมองสีเทา (grey matter) ในสมองลดลง ทำให้ความทรงจำแย่ลง ทำให้มีสมาธิน้อยลง ทำให้เป็นภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลมากขึ้น ไปจนถึง ทำให้เรามีความ productive ลดลง แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถโฟกัสกับงานที่ละชิ้นได้ อาจเพราะมีงานหลายชิ้นที่ต้องทำให้เสร็จในเวลาเดียว หรือ อาจทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารที่ต้องใช้สมาธิกับภาระหลายอย่างพร้อมกัน บางคนจึงต้อง Multitasking อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากใครเจอที่กำลังเจอกับปัญหาแนวนี้ เรามี 3 คำแนะนำที่จะช่วยให้คุณ multitasking ได้เทพขึ้นกว่าเดิมมาฝาก ทำงานที่คล้ายกันพร้อมกัน สมองของเราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้สามารถทำงานที่ใช้ ฟังก์ชันสมองระดับสูง (High-level brain function) พร้อมกันได้ (เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับการหาไอเดีย และ งานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนแก้ปัญหา เป็นต้น) พูดง่าย ๆ คือ เราไม่สามารถทำงานที่ต้องใช้ความคิดพร้อมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่เราทำพร้อมกันได้มีเพียงงานที่ใช้ ฟังก์ชันสมองระดับต่ำ (Low-level brain functions) เช่น การหายใจ กับ การสูบฉีดเลือด
บางครั้งการขอคำปรึกษาเรื่องปัญหาส่วนตัวจากเพื่อนสนิท คนในครอบครัว หรือ แฟน ก็ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกโล่งใจกว่าเดิม กลับกันมันยิ่งพาเราดาวน์หนักกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำไป เพราะผู้ให้คำปรึกษาดันไม่คิดถึงอารมณ์และความรู้สึกของเราเวลาเจอกับปัญหา แถมยังให้คำแนะนำที่ทำให้เราดูเป็น ‘ไอ้โง่’ ด้วยอีก แม้มันจะเป็นคำแนะนำที่สมเหตุสมผล และควรทำตามเมื่อเจอกับปัญหาจริง แต่ในสถานการณ์จริง เรามักทำตามคำแนะนำเหล่านี้ไม่ได้ เพราะความเครียด ความกังวล หรือ ความตื่นตระหนก มันทำให้เราไม่สามารถคิดและตัดสินใจอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้เต็มที่ และอาจตัดสินใจทำในสิ่งที่แตกต่างออกไป ลองจินตนาการดูว่าเวลาเจอคนเป็นลมหมดสติโดยบังเอิญ เราจะ react อย่างไรบ้าง เรามักได้รับคำแนะนำมาว่าให้รีบทำ CPR โทรเรียกรถฉุกเฉิน หรือ พาผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาลในทันที แต่ในสถานการณ์จริง เรามักจะเกิดความกังวลหลายอย่างจนเป็นคำถามในใจ เช่น เราจะปฐมพยาบาลเขาได้ดีพอรึเปล่านะ หรือ ถ้าเราพลาดเราจะซวยแค่ไหนกัน เป็นต้น จนสุดท้ายเราอาจทำในสิ่งที่ต่างออกไป เช่น เพิกเฉย หรือ เดินหนีออกมาจากสถานการณ์นั้น การละเลยดีเทลตรงนี้เองที่ทำให้การปรึกษามักต้องเจอกับความล้มเหลวอยู่เสมอ จนหลายคนที่ขอคำปรึกษารู้สึกเสียใจภายหลัง และไม่กล้าเปิดใจให้ใครไปนาน ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีเลย เพราะการเก็บปัญหาไว้กับตัวเองเพียงผู้เดียว มักทำให้เกิดความเครียดสะสมและอาการเก็บกดที่ทำสุขภาพจิตเสื่อมลงทุกวัน จึงดีกว่าถ้าทุกคนสามารถรับมือกับมันได้ โดยเริ่มจากการเข้าใจปัญหาที่เรียกว่า ‘Empathy Gap’ Empathy Gap คืออะไร
การปฏิเสธงานเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเสมอ เพราะหลายคนกลัวว่าการเซย์โน หรือ การโยนงานให้คนอื่น จะทำให้ตัวเองสูญเสียความน่าเชื่อถือ หรือ ทำให้ตัวเองดูไม่ดีในสายตาของเพื่อนร่วมงาน จนการงานไม่มีความมั่นคง สุดท้ายก็เลยรับงานที่ไม่พร้อมจะทำมาสะสมไว้ จนนาน ๆ เข้า เราก็ต้องปวดหัวกับ to-do list ที่ยาวเป็นหางว่าว และประกอบไปด้วยงานที่ดูดพลังอย่างแสนสาหัส เราจึงจำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์ที่จะช่วยให้เรากำจัดงานที่ไม่จำเป็นออกจากชีวิต นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรมี รายการของสิ่งที่ไม่ควรทำ (not-to-do-list) รายการของสิ่งที่เราไม่ควรทำ หรือ ควรหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด วิธีการทำ not-to-do-list สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการจัดการเวลา not-to-do-list จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยได้มาก เพราะมันเหมือนเป็นกรอบ หรือ ตัวช่วยเตือนเราถึงสิ่งที่ไม่ควรทำ เราจะกำจัดงานที่ไม่มีคุณค่าได้ง่ายขึ้น สามารถโฟกัสกับงานที่สำคัญได้มากขึ้น และท้ายที่สุดเราก็จะมีเวลาในการหายใจหายคอมากขึ้น มันยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้นิสัยแย่ ๆ (เช่น การผลัดวันประกันพรุ่ง หรือ การไม่กล้าปฏิเสธงานคนอื่น) ได้อย่างอยู่หมัด UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีการทำ not-to-do-list ที่ทุกคนสามารถทำกันได้ง่ายแต่ให้ประโยชน์มหาศาล 1.เริ่มจากการกำหนดสิ่งที่ควรอยู่ใน not-to-do-list งานที่เราไม่ถนัด งานที่ทำให้เราไม่มีสมาธิ งานที่เราไม่จำเป็นต้องทำ งานที่เราให้คนอื่นทำแทนได้ งานที่ไม่ใช่ความรับผิดชอบของเรา