ผู้ชายอย่างเราลืมตาตื่นขึ้นมาในแต่ละวันต้องเผชิญกับการงานที่เรารัก แถมพ่วงมาด้วยปัญหา อุปสรรคไม่ค่อยน่ารักทุกรูปแบบ แม้จะเป็นแบบนั้นเราก็พร้อมตื่นมาพุ่งชนฟันฝ่าทุกปัญหาเรื่องงานไม่หยุด ตัวเนื้องานก็หนักหนาสาหัสมากพออยู่แล้ว แต่หลาย ๆ ครั้งอุปสรรคก็มาในรูปแบบคำหวานหรือคำพูดจากคนในองค์กรที่เหมือนจะดี แต่จริง ๆ มันคือยาพิษที่กัดกร่อนเราจากภายในอยู่ทุกวันโดยที่เราไม่รู้ตัว อย่าปล่อยให้คำพูดจากคนในองค์กรเหล่านี้ค่อย ๆ ปลิดชีวิตและบ่อนทำลายพลังในการลุยงานของเรา รู้เท่าทันตั้งแต่วันนี้ แล้วหาทางรับมือให้ดี เพราะบางทีคำพูดหวานหู แต่ใครจะรู้ว่าเบื้องหลังมันร้ายกว่าที่คิด “เอาน่า ช่วยกันไว้ ที่นี่เราอยู่กันแบบครอบครัว” คำว่าครอบครัวคือคำพูดเชิงบวกสำหรับชาวไทยเป็นอย่างมาก เพราะมันหมายถึงความรัก ความอบอุ่น ความผูกพันแบบที่ความสัมพันธ์รูปไหนก็ไม่อาจเทียบเทียม ถ้าเป็นการช่วยเหลือกันไปตามภาระหน้าที่รับผิดชอบของเรา มนุษย์ผู้นั้นก็คงไม่ต้องอ้างคำว่า “ครอบครัว” เพื่อให้เราลงแรงช่วยเหลือ รู้ไว้เลยว่าเมื่อไหร่ที่องค์กรเริ่มอ้างคำว่าครอบครัวนั่นแปลว่าเขากำลังเรียกร้องอะไรที่นอกเหนือจากความรับผิดชอบเรานั่นเอง เมื่อเกิดวิกฤตหรือช่วงงานหนักเป็นครั้งคราวแล้วเราต้องทำงานเกินเวลานั่นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ แต่ถ้าองค์กรไหนอ้างคำว่าครอบครัวพร่ำเพรื่อเพื่อละเมิดเวลาและความรับผิดชอบของเราโดยไม่มีการตอบแทนอย่างเป็นระบบ เมื่อนั้นคำหวานหูอย่างครอบครัว อาจจะเป็นยาพิษโดยไม่รู้ตัวก็ได้ “อย่าบ่นไปเลย ทุกคนก็เหนื่อยมากเหมือนกัน” เมื่อไหร่ที่เราเริ่มท้อ วิพากษ์วิจารณ์ปริมาณงานและเวลางานที่ดูไม่สมดุลออกมา หรือบางทียังไม่ทันบ่นเพราะมือเป็นระวิงกับทุกอย่างที่ทำตรงหน้า แล้วมีคนในองค์กรพยายามมาให้กำลังใจด้วยการบอกว่า “ทุกคนก็เหนื่อยมากเหมือนกัน” เราเองอาจจะหลงคิดว่า เออ ดีสิ บริษัทงานเยอะ ทุกคนเหนื่อยขนาดนี้ ผลประกอบการดีแน่นอน! แต่อย่าลืมว่าการทำงานยาวนาน หรือปริมาณงานที่จัดการเท่าไหร่ก็ไม่ลดลงสักที มันอาจไม่ได้หมายถึงผลประกอบการที่ดีมาก ๆ แต่อาจเป็นระบบงานที่ไร้ประสิทธิภาพ แต่คนในองค์กรไม่ยอมรับฟัง ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง
การทำอะไรซ้ำ ๆ ตามกันมานาน ๆ บางครั้งเราก็เข้าใจว่ามันเป็นเรื่องถูกและดี ทว่าต้องขอบคุณวิทยาศาสตร์และผู้รู้ที่คอยมาหักล้างความเชื่อเก่าเสมอจึงทำให้พวกเราสามารถปรับพฤติกรรมและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ต่อไปนี้คือ 6 สิ่งที่เราเองยังเข้าใจผิดบางข้อ (แต่กำลังจะแก้ใหม่ให้ถูก) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มากยิ่งขึ้น ชาว UNLOCKMEN คนไหนไม่อยากเข้าใจผิดอย่างเรา ลองไปเช็กดูพร้อมกันได้ 1. ดื่มกาแฟช่วงระหว่าง 8.00 -10.00 น. ตามผลการศึกษาของ Geisel School of Medicine ที่ Dartmouth กล่าวถึงเรื่องการกินกาแฟก่อนเริ่มต้นวันไว้ว่าใครที่กะเสพคาเฟอีนเพิ่มความดีดและสร้างความฮึกเหิมเวลาทำงานควรคิดใหม่ เพราะมันเป็นความผิดพลาดมหันต์ เนื่องจากมันการดื่มในช่วงเวลานั้นจะเพิ่มฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือที่รู้จักในนามฮอร์โมนแห่งความเครียดเข้าสู่ร่างกายเรา ซึ่งระดับของฮอร์โมนนี้มักจะขึ้นลงตามธรรมชาติในร่างกายของเราอยู่แล้ว แต่จะมากสุดในช่วงเช้าและลดลงตามลำดับในช่วงเย็น ดังนั้นถ้ายิ่งกินในช่วง 8 – 10 โมงเช้ามันจะยิ่งเพิ่มความเครียดตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มงานและนอยด์ไปทั้งวัน PRO TIP: คอคาแฟควรอดทน รอช้า ๆ เพื่อได้พร้าเล่มงาม ดื่มกาแฟที่ชอบในช่วงเวลาตั้งแต่หลัง 10 โมงเช้า – เที่ยงวัน หรือบ่าย 2 โมง – 5 โมงจะดีที่สุดเพราะเป็นช่วงเวลาทำงานที่ตรงกับระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลลดลงต่ำสุด
“ถ้าคุณอธิบายมันให้เข้าใจง่ายไม่ได้ แสดงว่าคุณยังเข้าใจมันไม่ดีพอ” นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกอย่างอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เคยพูดประโยคนี้ไว้และ UNLOCKMEN ก็ขออนุญาตเห็นด้วย เพราะในโลกที่การสื่อสารคือเรื่องสำคัญไม่แพ้กับความเก่ง ความฉลาด ถ้าเราเก่งสุด ๆ หรือเข้าขั้นอัจฉริยะในทางใดทางหนึ่ง แต่ไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจสิ่งที่เรากำลังทำหรือสิ่งที่เราอยากถ่ายทอดได้ ความเก่งของเรานั้นก็อาจต้องเก็บไว้เชยชมเพียงลำพังหรือเฉพาะในกลุ่มคนที่สนใจ แต่ถ้าก้าวเข้าสู่โลกของการทำงาน และองค์กรของเราไม่ได้พึ่งพาแค่ความเก่งกาจของเราคนเดียว การอธิบายเรื่องยาก ๆ หรือเรื่องที่เราทำให้คนอื่นในองค์กรเข้าใจก็เป็นอีกสกิลสำคัญที่เราควรมีติดตัวไว้ เพราะแค่เก่งเพื่อบุกเดี่ยวอย่างเดียวมันอาจไม่พออีกต่อไป แต่มันต้องสามารถพูดเรื่องยาก ๆ ที่เราทำให้คนอื่นในทีมเข้าใจไปพร้อม ๆ กับเราด้วย พูดรายละเอียดเหมือนเราไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน บ่อยครั้งที่เราเชี่ยวชาญงานด้านที่เราทำแบบสุดลิ่มทิ่มประตู เมื่อถึงคราวได้รับเชิญให้ไปบรีฟ หรือพูดในที่ประชุมที่มีคนมาจากหลาย ๆ ฝ่าย เราจะเผลอพูดอะไรแบบรวบรัดเพราะเคยชินกับการพูดแบบนี้กับคนในทีมที่ทำงานด้วยกัน เช่น ถ้าเราเป็นทีมดิจิทัล มาร์เก็ตติงขององค์กร เราอาจเผลอพูดเรื่องที่ทีมมาร์เก็ตติงรู้อยู่แล้ว แต่อย่าลืมว่าในห้องประชุม อาจมีฝ่ายบัญชี ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายครีเอทีฟ ฝ่ายบริหาร ฯลฯ อยู่ด้วย ซึ่งพวกเขาอาจไม่เข้าใจขั้นตอนที่เรารวบรัดไป ดังนั้นทุกครั้งที่เราพูดอะไร อย่าคิดว่าทุกคนจะต้องรู้ทุกอย่างเหมือนที่เราและทีมเรารู้ ต่อให้มีแค่หนึ่งคนในห้องที่ไม่รู้ เราก็ต้องอธิบายให้เขาเข้าใจ อาจไม่จำเป็นต้องละเอียดยิบ แต่ไม่ควรข้ามขั้น ลองจินตนาการว่าถ้าเราไม่ใช่เราคนนี้ แต่เป็นเราที่ไม่เชี่ยวชาญเรื่องนี้มาก่อน จะฟังตัวเองเข้าใจไหม ? ถ้าไม่ก็ลองหาวิธีพูดให้ตัวเองคนที่ไม่เชี่ยวชาญเข้าใจให้ได้ ใช้คำง่าย
ทำงานด้วยกันทีไร ก็มีแต่คนบ่นเรื่องการสื่อสาร พูดน้อยจัง ไม่ออกความเห็นหน่อยหรอ มีไอเดียอีกมั้ย คำถามเหล่านี้ชวนให้เราอึกอักทุกครั้งที่ได้ยิน ไม่รู้ว่าจะตอบยังไงให้น่าฟังเลยเลือกการไม่ตอบเลยซะดีกว่า จนเรากลายเป็น “คนพูดน้อย” ไปโดยปริยาย อาจจะรู้สึกว่ามันเป็นบุคลิกส่วนตัวนี่นา จะเปลี่ยนกันง่าย ๆ ได้ไง แต่จริง ๆ มันส่งผลทั้งการทำงานและความสัมพันธ์ เราอาจจะมองข้ามเรื่องความสัมพันธ์ในที่ทำงานได้ ถ้าเราเป็นคนไม่เข้าสังคม แต่เราจะไม่สนใจเรื่อง Performance ของงานไม่ได้ ถ้ารู้สึกว่าไอ้อาการ “พูดน้อย” ของเรามันกำลังทำให้เราเข้ากับที่ทำงานได้ยาก UNLOCKMEN ขอแนะนำทางออกให้หนุ่มพูดไม่ค่อยเก่ง ได้ Improve ตัวเองให้เจ๋งแบบผิดหูผิดตา พูดน้อยแล้วผิดตรงไหน ? คนพูดน้อยเนี่ย เขามักจะพูดแต่อะไรที่จำเป็น อาจจะออกมาในรูปแบบ ถามคำตอบคำ เอ่อ ๆ อืม ๆ ตามความเห็นของคนอื่นไป ถ้ายังไม่แน่ใจในความคิดของตัวเอง ทำแบบนั้นบ่อย ๆ เข้า เขาจะรู้สึกว่า “เมื่อเราไม่ได้พูดเป็นต่อยหอยเหมือนคนอื่น มันผิดตรงไหนกันนะ ?” ถ้ามองในแง่การเข้าสังคม มันไม่ผิดหรอก เพราะแต่ละคนย่อมมีบุคลิกที่แตกต่างกันไป แต่ในแง่ของการทำงานร่วมกับผู้อื่น มันเหมือนกับ “ขาดการสื่อสาร” คนอื่นจะไม่รู้ถึงความต้องการ
แม้การสื่อสารพูดคุยจะเป็นพฤติกรรมธรรมชาติในการเข้าสังคมหนึ่งของมนุษย์ แต่แค่พูดได้ ไม่ได้แปลว่าพูดดี ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่มนุษย์บางคนคุยกับคนอื่นในวงสนทนาก็พอคุยได้ แต่พอคุยไปสักพักคนก็ค่อย ๆ ทยอยออกจากวงไปทีละคนสองคนจนเกิดสภาวะวง (สนทนา) แตกในที่สุด นั่นเป็นเพราะพฤติกรรมไม่พึงประสงค์บางอย่างที่บางทีเราเองก็ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เราคิดว่าแค่ชวนคุยหรือนิ่งฟังก็น่าจะเพียงพอต่อการยืดอายุบทสนทนาแล้ว แต่ความเป็นจริงมันไม่ใช่ และ 5 ข้อผิดพลาดเหล่านี้เองที่เป็นชนวนความเบื่อหน่ายจนไม่มีใครอยากคุยกับเราในที่สุด “ใช่ครับ เรื่องนี้นี่เหมือนผมเลย แต่ของผมเป็นแบบนี้ครับ …” ฟังเผิน ๆ นี่เหมือนจะเป็นประโยคที่เราคิดว่าเป็นการหาจุดเหมือนระหว่างเรากับคู่สนทนาด้วยการบอกว่าสิ่งที่เขาพูดออกมานี่ช่างตรงกับเรื่องราวของเราเป๊ะ ๆ เราพูดเพราะเราหวังว่าจะได้ใจเขาที่เราทั้งคู่มีอะไรเหมือน ๆ กัน นอกจากเราจะบอกว่าเรามีเรื่องที่เหมือนกับสิ่งที่เขาพูดมาแล้ว เรายังเล่าเรื่องของเราต่อแบบยืดยาวด้วย ถามว่ามันผิดพลาดขนาดนั้นไหม ? ถ้าแค่ครั้งเดียวและระหว่างการเล่าเรื่องของตัวเอง เราเว้นระยะให้เขาได้คุยเรื่องของเขาเป็นระยะก็คงไม่น่าเกลียดอะไร แต่ถ้าไม่ว่าใครจะเล่าอะไร เราก็โพล่งออกไปว่า “เหมือนกันเลยครับ” แล้วสมทบด้วยการสาธยายเรื่องของตัวเองไปเสียทุกครั้ง มันคือข้อผิดพลาดที่ทำให้ไม่มีใครอยากคุยกับเรา เพราะมันทำให้เราดูไม่ใส่ใจเรื่องของคนอื่น ดูสนใจแต่เรื่องที่เหมือนกับเรื่องของตัวเอง เพื่อรอจังหวะพล่ามเรื่องของตัวเองให้คนอื่นจำใจฟังเท่านั้น ดังนั้นระมัดระวังให้ดี “แต่ผมว่าอีกอันเจ๋งกว่าเยอะเลยครับ” การที่เราอยากแนะนำสิ่งที่ดีกว่าให้คู่สนทนาไม่ใช่เรื่องผิด แต่ระวังการใช้คำพูดและจังหวะเวลาให้ดี เพราะถ้าไม่ว่าใครก็ตามในวงสนทนาพูดอะไรออกมาแล้วเราต้องเกทับด้วยการบอกว่าเรื่องนี้เจ๋งกว่า ที่นี่คูลกว่า อันนั้นดีกว่าตลอดแบบทันท่วงทีและไม่มีศิลปะ มันทำให้เราดูเป็นผู้ชายขี้บลัฟ ขี้อวด และไม่มีมารยาทในวงสนทนามากกว่าจะดูเป็นผู้ชายที่หวังดีกับเพื่อน ถ้าอยากแนะนำอะไรใคร เช่น ถ้าเขาบอกว่าเขาชอบหนังเรื่องนี้มาก โคตรสนุกเลย แทนที่จะพูดโต้ง
พอเปิดประเด็นเรื่องการหางานทำ หลายคนคงโดนกรอกหูมาตั้งแต่เด็กว่า “ไม่เลือกงานไม่ยากจน” จนรู้สึกว่าอาชีพคือสิ่งที่ควรรีบไขว่คว้าไว้ทันทีที่โอกาสมาถึง ไม่งั้นเราก็จะกลายเป็นคนเลือกงานแถมพาลยากจนไปซะ เรียนจบแล้วต้องรีบมีงานทำ ออกจากงานแล้วต้องรีบหางานใหม่ เพราะมุมมองที่มีต่อคนว่างงานนั้นไม่ได้เป็นไปในแง่บวกสักเท่าไหร่นัก เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อบ้าง ขี้เกียจตัวเป็นขนบ้าง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามที่ทำให้ตัดสินใจวิ่งหางานทำให้ไวที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะไม่อยากใช้ “อาชีพว่างงาน” กันนานนัก มันอาจทำให้เราลืมไปว่า “คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก” เช่นกัน UNLOCKMEN จะพามาแกะรอยเหตุผลของคนที่รู้สึก “คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก” จนเลือกจะออกจากงานทั้งที่เพิ่งสัญญาไปแบบหมึกยังไม่ทันแห้ง ว่าพวกเขามีเหตุผลอะไรที่เลือกจะหยุดทั้งที่เพิ่งเริ่ม หรืออาจจะยังไม่เริ่มด้วยซ้ำ บรรยากาศที่ไม่ใช่ ก้าวขาเข้ามาก็เจอออฟฟิศจริงวันแรก สภาพแวดล้อมที่ไม่น่าหย่อนตูดลงเก้าอี้แล้ว ห้องน้ำเก่าซอมซ่อ บรรยากาศชวนหดหู่ อย่าง ออฟฟิศที่อยู่ชั้นใต้ดิน ลานจอดรถ หรือออฟฟิศที่แสงอาทิตย์เข้าไม่ถึง นอกจากบรรยากาศแล้ว เครื่องใช้ในสำนักงานที่ไม่ได้มีพร้อม ซัพพอร์ตการทำงานได้ตลอดเวลา ทั้ง ๆ ที่มันเป็นสิ่งที่ควรมีติดออฟฟิศอยู่แล้ว ใครที่เคยทำงานในออฟฟิศแบบนั้นจะเข้าใจถึงความหดหู่ที่พูดถึง แม้จะดูเหมือนคนเรื่องมาก เรื่องเยอะ แต่อย่าลืมว่า เราต้องอยู่ในออฟฟิศนี้ถึงสัปดาห์ละห้าวัน (และบางที่ทำงานหกวันก็มี) ซึ่งถือว่ากินเวลาชีวิตไปเยอะมาก ๆ ที่เราต้องใช้ชีวิตที่นี่ เพราะฉะนั้นบรรยากาศออฟฟิศก็มีผลกับการเลือกงานเช่นกัน หากถามว่าทำไมถึงไม่ตัดสินใจตั้งแต่ตอนมาสัมภาษณ์ เพราะตอนนั้นบางคนอาจไม่ได้เดินเข้าไปในส่วนที่เป็นแผนกของตัวเองจริง ๆ ใครที่ไหวตัวทันตั้งแต่ตอนสัมภาษณ์ก็ดีไป แต่ใครที่มาเห็นทีหลัง ก็ต้องหน้าชา ถ้าแค่มานั่งก็ไม่มีความสุขควรถีบตัวเองออกมาให้ไวที่สุดเหมือนกัน เพื่อนร่วมงานที่ไม่เข้าขา
เรามักจะเชื่อว่า ความสุข เป็นเหมือนจุดหมายในชีวิตของพวกเรา ทุกอย่างที่เราตั้งเป้าไว้คือสิ่งที่เราเชื่อว่าจะมีความสุขเมื่อได้มันมา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของที่เป็นรูปธรรม หรือเรื่องของความรู้สึกที่เป็นนามธรรม อย่างความปลอดภัยในชีวิต ความรักที่ได้รับจากคนรอบข้าง ความสงบสุขที่ใฝ่หามาตลอดชีวิตที่แสนวุ่นวาย ยิ่งในยุคที่เราใช้ชีวิตรวดเร็วไปเสียทุกเรื่อง แม้แต่การหาความสุขใส่ตัวก็ยังต้องรวดเร็วทันใจ แต่ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ UNLOCKMEN ขอแนะนำวิธีหาความสุขง่าย ๆ จากสิ่งรอบตัว หวังว่ายิ่งทำง่ายเราจะยิ่งหาความสุขให้กับตัวเองกันได้มากขึ้น พักสายตาด้วยสีเขียว เหนื่อยล้ามาจากไหนก็ตาม ลองมองหาพื้นที่สีเขียวอย่างสวนสาธารณะ ลงไปเดินเล่นสูดหายใจลึก ๆ สักห้านาที หากมีต้นไม้ต้นเล็ก ๆ เป็นมุมสีเขียวไว้ที่บ้านหรือโต๊ะทำงานก็จะง่ายขึ้นมาก ๆ แถมยังช่วยผ่อนคลายเราได้ทุกครั้งที่ต้องการอีกด้วย เหตุผลที่เรามองสีเขียวแล้วมันรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นเพราะมันเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศจากตึก เมือง ห้องสี่เหลี่ยมที่เราเจออยู่ทุกวัน ได้เจออะไรที่มันเป็นธรรมชาติจริง ๆ ตามสัญชาตญาณของมนุษย์เรามักจะรู้สึกว่าอะไรสีเขียว ๆ ที่มาจากธรรมชาติมักจะเป็นมิตรกับเราเสมอ เหมือนเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ที่มนุษย์เราเลือกที่จะตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์แล้ว บริหารสมองด้วยอะไรง่าย ๆ สละเวลาสักวันละห้านาทีหรืออาจจะน้อยกว่านั้นด้วยซ้ำ ด้วยเกม Puzzle เกมลับสมองง่าย ๆ สักเกมสองเกม มันไม่ได้ทำเพื่อความสมาร์ตปราดเปรื่องอะไรหรอก แต่มันคือการบริหารสมอง ลดความเบลอจากเรื่องประสาทแดก หรือการมองจอคอมพิวเตอร์มาทั้งวัน ถ้าไม่สะดวกที่จะหาเกมมาเล่น ลองเป็นอะไรที่ปลุกความครีเอตในตัวเรา อย่างการมองหามุมสวย ๆ แล้วเก็บภาพประทับใจตอนนั้นไว้ วาดรูปอะไรก็ได้ที่เราอยากจะวาดบนกระดาษ
โลกใบนี้หมุนไปไม่หยุดนิ่ง ไม่ต่างจากผู้ชาย Work Hard Play Hard อย่างเราที่ต้องเดินหน้าทำงานให้ก้าวกระโดดต่อไปไม่รู้จบ พอ ๆ กับที่ต้องเข้าสังคมเพื่อปาร์ตี้ เพื่อพักผ่อน เพื่อสนุกสุดเหวี่ยง แต่ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการปาร์ตี้สิ่งหนึ่งที่เราเลี่ยงไม่ได้คือการรู้จักคนใหม่ ๆ ในชีวิตอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่การรู้จักคนมากเข้า เราเองก็คงเคยประสบปัญหายิ่งเจอคนเยอะก็ยิ่งจำคนไม่ได้ ในทางกลับกันเวลาเราแนะนำตัวกับใครไป อีกฝ่ายก็จำไม่ได้เหมือนกันว่าเราเป็นใคร ถ้าต้องการสานสัมพันธ์เรื่องธุรกิจหรือถักทอมิตรภาพให้ยาวนานต่อไป ถ้ามีคนจำเราไม่ได้มาก ๆ เข้าก็คงไม่ดีแน่ นี่จึงเป็นสุดยอดเคล็ดวิธีที่จะช่วยให้เราแนะนำตัวครั้งเดียวให้โลกจำไปตลอดกาลที่ เอาไปใช้ได้ทุกสถานการณ์แน่นอน อย่าพูดแค่ชื่อหรืออาชีพ แต่นิยามมันให้ไกลกว่านั้น การแนะนำตัวมักเริ่มต้นอย่างเก้ ๆ กัง ๆ หรือต่อให้ภายนอกดูมืออาชีพแค่ไหน แต่ภายในใจผู้ชายอย่างเราก็อดเจื่อน ๆ ไม่ได้ เป็นเหตุให้เรามักเริ่มต้นแนะนำตัวเองแบบมาตรฐานอย่างการแนะนำชื่อ แนะนำอาชีพ หรือตำแหน่งทางธุรกิจที่คิดว่าเป็นประโยชน์ เมื่อคนส่วนใหญ่ทำในรูปแบบเหมือน ๆ กันไปหมดจึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมแนะนำตัวกี่ครั้งเขาก็ลืมเราอย่างง่ายดาย ดังนั้นจากปกติพูดว่า “ผมชื่อโอม เป็นนักเขียนนะครับ” ลองนิยามความเชื่อหรือเป้าหมายในอาชีพ หรือแรงบันดาลใจในการทำอาชีพนี้เพิ่มลงไป แต่ให้เป็นประโยคที่กระชับดู “ผมโอมครับ ผมเชื่อเรื่องการสื่อสารประเด็นใหม่ ๆ เพื่อให้คนปลดล็อกศักยภาพตัวเอง ผมถึงเลือกอาชีพนักเขียนอย่างทุกวันนี้ครับ” รับรองว่าอีกฝ่ายจะประทับใจเพราะเราได้ใส่ทัศนคติลงไป และความไม่เหมือนใครนี้จะทำให้เขาจำเราได้ในระดับหนึ่ง พูดเรื่องความรู้สึกบ้าง
หลายครั้งที่ขัดใจกับการกระทำของใครสักคน แล้วอยากจะเข้าไปบอกตรง ๆ ว่า “นายทำงี้ไม่ได้ว่ะ” แต่ด้วยสถานะ ความปากไว หรือความอ่อนไหวของคนฟังที่เราไม่อาจหยั่งรู้ได้ว่าใคร Sensitive กับเรื่องราวหรือคำพูดแบบไหน จนทำให้ต้องเก็บคอมเมนต์ไว้ในใจ แต่ถ้าไม่พูดเลยก็คงไม่ได้ เพราะในเมื่อจุดประสงค์ของเราจริง ๆ คือการติเพื่อก่อ ไม่ใช่เพื่อความสะใจส่วนตัว ยิ่งในการทำงาน การคอมเมนต์กันถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นในครั้งต่อ ๆ ไป UNLOCKMEN อยากชวนใครที่อึดอัดอยากจะติเตียนใคร แต่กลัวจะมองหน้ากันไม่ติด ด้วยเทคนิคเจ๋ง ๆ ที่เราแนะนำ ตำหนิให้ถูกคน ก่อนอื่นเลยต้องหาให้ถูกตัวซะก่อน ปัญหานี้มักเกิดในกลุ่มคนทำงานนี่แหละ บางครั้งมองในภาพรวมเราก็เดาไม่ออกว่าใครที่เป็นต้นเหตุของเรื่องกันแน่ จะไปติเขาแบบสุ่มสี่สุ่มห้าก็ไม่ได้ เพราะถ้าหากอีกฝ่าย Strike Back กลับมาว่า “ไม่ใช่กู” “กูไม่ได้ทำ” เรานี่แหละที่จะหน้าแตกแบบเต็ม ๆ ทางออกของเรื่องนี้ง่ายมาก ๆ ถ้าไม่ทุ่มเทความสนใจตั้งแต่แรก จนรู้หมดว่า Process นี้ใครทำ ก็ต้องมีสปายคอยสอดส่องว่า ใครรับผิดชอบจุดไหน จะได้จับมือมาดมกันได้ถูกคน ดูสถานะ บางครั้งดูแค่เจ้านายกับลูกน้องมันยังไม่พอ ง่าย ๆ เลย เราจะไม่ตำหนิหัวหน้าทีมเหมือนกับเด็กฝึกงานหรือน้องใหม่
รู้หรือไม่ว่า ทุกวันนี้ขณะที่เรากำลังชื่นชมปรากฏการณ์การใช้พลังงานทดแทนในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นแผงโซลาร์ พลังงานลม หรือรถยนต์ไฟฟ้าสุดเฉียบแบรนด์ Tesla ที่มีเจ้าของผู้โด่งดังอย่าง ‘Elon Musk’ บนขวานทองของเราเองก็ไม่ได้น้อยหน้าไปกว่ากัน หลายคนอาจไม่รู้ว่าเรามีโรงไฟฟ้าโซลาร์ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าได้ถึง 90 เมกะวัตต์จำนวน 3 โรงบนพื้นที่หลายพันไร่ โรงไฟฟ้าพลังงานลมที่เตรียมจ่ายไฟเข้าระบบ มี Charging station นับ 100 แห่งที่ติดตั้งไว้สำหรับรถยนต์ EV ที่สำคัญ เรายังเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติไทยได้ที่ผลิตขึ้นจากฝีมือคนไทยเอง อยู่ระหว่างเตรียมผลิตเพื่อจำหน่ายปีหน้าที่จะถึงนี้ด้วย แล้วมันอยู่ที่ไหนกัน? เพื่อคลายข้อสงสัยเราจึงขอพาทุกคนไปเห็นกับตาผ่านการพูดคุยกับ คุณอมร ทรัพย์ทวีกุล หนึ่งใน co-founder ผู้ปลุกปั้น บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือที่คุ้นหูในชื่อ Energy absolute (EA) บริษัทที่อยู่ใน Top List ด้านพลังงานทางเลือกครบวงจรเบอร์ใหญ่สุดของประเทศไทยขณะนี้ หลักกิโลเมตรที่ศูนย์จากไบโอดีเซล ก่อนจะเป็นผู้สร้างความโดดเด่นด้านพลังงานทางเลือก เวทีที่คุณอมรโลดแล่นคือโลกทางธุรกิจจากสายอาชีพที่ใช้ชื่อไม่คุ้นหูว่า “วาณิชธนากร (Investment Banker)” ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัททั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ เกี่ยวกับการเงินและการลงทุน รวมไปถึงช่วยกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจ จึงมีดีกรีเก็บดีเทลกิจการเก่งไม่แพ้เจ้าของกิจการ ด้วยวิสัยทัศน์ด้านการเงินที่หล่อหลอมมายาวนาน