การทำงานเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องพบเจอกันเป็นปกติ และก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ตั้งตาคอยวันหยุดช่วงเทศกาลต่าง ๆ รวมถึงวันลาพักร้อนของตัวเองด้วย แต่ดันผลสำรวจที่น่าตกใจว่าคนไทยลางานน้อยติดอันดับและยกเลิกทริปเที่ยวเป็นอันดับหนึ่งของโลก เหตุการณ์เหล่านี้มันเกิดขึ้นเพราะอะไร ? คนไทยบ้างานหรือว่ามีเหตุผลอื่นที่ทำให้เราไม่อยากลาไปเที่ยว เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทุกปีสำหรับเว็บไซต์ Expedia ที่ให้บริการด้านการท่องเที่ยวออนไลน์ทั้งโรงแรม ตั๋วเครื่องบิน แพ็เกจเที่ยวบินและโรงแรม เช่ารถและกิจกรรมท่องเที่ยว จัดสำรวจพฤติกรรมกลุ่มนักท่องเที่ยวพนักงานประจำทั่วโลกซึ่งปีนี้พบว่า คนกลุ่มนี้รู้สึกไม่อยากลาพักร้อนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ๆ ถึง 53% โดยมีสาเหตุหลักคือเรื่องงานที่ติดพันจนหาเวลาไปเที่ยวไม่ได้ รวมถึงปริมาณงานจำนวนมหาศาลที่รอต้อนรับเราหลังจากจบทริปที่ทำให้พอนึกถึงก็ยิ่งทำให้ไม่อยากลา รวมถึงเผยสถิติน่าตกใจว่าไทยติดอันดับ 7 ประเทศที่ลาพักร้อนน้อยที่สุดในโลก นอกจากผลสำรวจการใช้วันลาแล้วทาง Expedia ยังสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมการเที่ยวของมนุษย์เงินเดือนปี 2018 ว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวไทยมักเลื่อนการจองที่พักหรือยกเลิกทริปกลางคันสูงถึง 75% ด้วยสาเหตุติดงาน มีงานเข้ากะทันหันที่ลาไม่ได้จริง ๆ และด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่อันดับหนึ่งของโลกด้านการเททริป ส่วนอันดับสองที่บ้างานจนต้องยกเลิกทริปเที่ยวรองจากไทยคือยูเออี ตามมาด้วยอินเดีย เม็กซิโก เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และฮ่องกงตามลำดับ วลีที่ว่า “คนไทยเป็นคนขี้กังวลและคิดเยอะ” ถือว่าเป็นคำกล่าวที่ไม่เกินจริง เพราะวันลาพักร้อนของคนไทยเฉลี่ยที่ 10 วันต่อปี แต่ส่วนใหญ่มักใช้วันลาพักร้อน 8 วัน จากทั้งหมด 10 วัน ด้วยเหตุผลว่าเผื่อวันลาเอาไว้หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รวมถึงเหตุผลเรื่องงานรัดตัวที่ทำให้หาวันลาดี ๆ
วงการฟรีแลนซ์เป็นวงการที่มี range แบ่งเรตเงินกว้างมาก ๆ ดังนั้น พอพูดถึงชีวิตคนรอบข้างที่เป็นฟรีแลนซ์เราอาจจะไปเจอคนที่ใช้ไลฟ์สไตล์โคตรชิล ลงรูปกินดีอยู่ดี สภาพเหมือนได้เที่ยวตลอดเวลาจนรู้สึกอิจฉา แต่กับบางคนเราเจอสเตตัสฟรีแลนซ์ที่ตาโหล นอนดึก สาปแช่งชะตาชีวิตและกินมาม่าให้เห็นประจำ ทำไม “ฟรีแลนซ์” ถึงเป็นอย่างนั้น แล้วสถานการณ์ของคนที่อยากจะเข้าวงจรฟรีแลนซ์ต้องทำอย่างไร มาดูไปพร้อมกัน ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) ณ เดือนธันวาคม 2018 เผยสถิติหลายเรื่องที่น่าสนใจหลายด้านจากการสำรวจฟรีแลนซ์ทั้งแง่ของอาชีพ รายได้ เวลาในการทำงาน พร้อมความจริงที่ช่วยดันทำให้เราได้กลายเป็นฟรีแลนซ์เงินดีด้วยว่าเราต้องเสริมสิ่งไหนเข้าไปกันแน่ ฟรีแลนซ์ไทยเขาทำอาชีพอะไรกัน ก่อนอื่นถ้าพูดถึงฟรีแลนซ์ หลายคนคงอยากรู้ว่าตอนนี้วงการไหนบ้างที่มีฟรีแลนซ์แทรกซึมอยู่ คงต้องบอกว่ามีหลากหลายประเภทตั้งแต่อาชีพสร้างสรรค์งานที่ทำงานรวดเร็ว จบเป็นงาน ๆ ไปอย่าง นักแสดง ช่างแต่งหน้า งานวิจัย ไปจนถึงอาชีพหนัก ๆ อย่างหมอ นักบัญชี ฯลฯ แต่ปัจจุบันเขาแบ่งงานออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ 5 ประเภทที่รับผิดชอบตามลักษณะตามลำดับจากมากไปน้อย ดังต่อไปนี้ อันดับ 1 งานรับจ้างทั่วไป ไม่ระบุรายละเอียด สากกระเบือยันเรือรบ 34% อันดับ 2 งานสอนและงานวิจัย 11%
สภาพแวดล้อมการทำงานปัจจุบันนั้นแตกต่างจากสมัยก่อนอย่างสิ้นเชิง ดิจิทัลเอเจนซี่และสตาร์ตอัพค่อย ๆ ก้าวขึ้นบันไดความสำเร็จไปทีละขั้น ในขณะที่มีบริษัทใหม่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดก็ทำเอาโฮมออฟฟิศทวีความนิยมเพิ่มขึ้นตามมา ยิ่งไปกว่านั้นหลากหลายบริษัทเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับออฟฟิศแบบเปิดโล่งโดยหวังจะสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับพนักงาน เติมรสชาติความสนิทสนมและนำไปสู่บรรยากาศการทำงานที่ราบรื่น แต่ในความเป็นจริงแล้วออฟฟิศแบบโล่ง ๆ มันดีจริงเหรอ? ถ้าเราจะบอกว่าออฟฟิศแบบเปิดโล่งก็ส่งผลเสียไม่น้อยต่อคนทำงานอย่างเรา ๆ ล่ะ? ออฟฟิศเปิดโล่งไม่ได้ดีเสมอไป จริงอยู่ที่การทำงานในออฟฟิศเปิดโล่งทำให้เราได้พูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน ระดมความคิด และช่วยลดความเคร่งเครียดในการทำงาน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าใครหลายคนก็ต้องการใช้สมาธิเหมือนกัน บ่อยครั้งที่จะจดจ่ออยู่กับงาน ก็มักจะมีอะไรมาคอยกวนใจอยู่เสมอ มีงานวิจัยเผยว่าพนักงานต้องเสียเวลากว่า 28% จากการหยุดชะงักและถูกรบกวนในขณะทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเสียงหัวเราะ เสียงเอะอะโวยวาย หรือแม้แต่เสียงของเพื่อนข้าง ๆ ที่ชวนคุยเรื่องสัพเพเหระ ไม่เพียงแต่จะลิดรอนความกระตือรือร้นในการทำงาน แต่ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกด้วย Dorota Węziak-Białowolska, Zhao Dong และ Eileen McNeely 3 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดสำรวจพนักงาน 456 คน ที่ทำงานในบริษัทสถาปัตยกรรม 20 แห่งของสหรัฐฯ แล้วได้ข้อสรุปว่าคนส่วนใหญ่ไม่ชอบทำงานในออฟฟิศแบบเปิดโล่ง เพราะขาดความเป็นส่วนตัว เหมือนถูกจำกัดความคิดสร้างสรรค์ มิหนำซ้ำเสียงจากการพูดคุยก็ยิ่งทำให้รู้สึกประสาทเสียและทำให้ความสามารถในการทำงานถดถอย จะเป็นอย่างไร ถ้าในออฟฟิศมีพื้นที่ส่วนตัว Foster + Partners บริษัทชั้นนำด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการออกแบบสถาปัตยกรรม
ร้อยทั้งร้อยคนทำงาน ต้องผ่านการฟังเพลงขณะทำงานกันมาแล้ว แต่บางคนอาจจะสงสัยว่าเหตุใดบางครั้งฟังเพลงไป ทำงานไป แล้วได้งานดีเหลือเกิน แต่ในบางทีฟังเพลงไป ทำงานไปเหมือนเดิม แต่งานไม่เกิด ไอเดียไม่มีวี่แววว่าจะมาสักที ทำให้หลายคนโต้เถียงกันว่าสรุปแล้วฟังเพลงทำงานเป็นผลดีหรือแย่ลงกว่าเดิม แน่นอนว่าทุกการโต้เถียงย่อมมีวิทยาศาสตร์เป็นกรรมการคอยตัดสิน เรื่องดนตรีกับการทำงานก็เช่นกัน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า ฟังเพลงในสถานการณ์ไหน มีผลกับสมองตอนทำงานอย่างไร และเราควรจะฟังเพลงยังไงให้งานวิ่งฉิว นึกภาพว่าเรากำลังนั่งอยู่ในออฟฟิศตามปกติ นึกภาพสิ่งแวดล้อมที่อาจจะมีทั้งวันที่มีเสียงรบกวนจากเพื่อนร่วมงาน นึกภาพโจทย์งานที่ได้รับในแต่ละวัน แล้วดูไปด้วยกันทีละสถานการณ์ว่าก่อนจะกด Play ฟังเพลงให้ได้ประโยชน์สูงสุดในแต่ละสถานการณ์นั้นต้องทำอย่างไร ต้องใช้สมองคิดไอเดีย วิเคราะห์ แยกแยะ -> ปิดเพลง ในการทำงานที่ต้องใช้สมองหนัก ๆ สำหรับคิดงาน ต้องจดจำรายละเอียดต่าง ๆ หรือต้องเรียนรู้ Instruction สำคัญ ๆ ซึ่งสมองต้องตั้งใจและใช้พลังงานในการทำงานมากอยู่แล้ว การฟังเพลงไปด้วยจะยิ่งทำให้สมองต้องแบ่งพลังงานมาใช้ในการประมวลผลดนตรีอีก ซึ่งการทำงานที่ Multitasking มากเกินไปของสมองจะทำให้มันจดจำได้ไม่ดีอย่างที่ควร หรือคิดงานได้ไม่เฉียบขาดเพราะมีรายละเอียดบางอย่างหลุดหายไป แบบที่เราต้องอ่านโจทย์วนไปวนมานั่นแหละ เมื่อมี Instruction เข้ามาที่สมองมากไป ทำให้มันจดจำรายละเอียดที่ไม่สำคัญมาแทนบ้าง หรือจำสลับกันบ้าง ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดเมื่อเราต้องทำงานที่ใช้สมองหนัก ๆ คือใส่หูฟังได้ แต่อย่าเพิ่งกด Play เลยจะดีกว่า ปล่อยให้ความเงียบเข้ามาแทนที่
“หากปราศจากความเชื่อใจ ความเป็นทีมก็ไร้ความหมาย” Paul Santagata ผู้เป็น Head of Industry แห่ง Google กล่าวไว้แบบนี้ และเราก็เห็นด้วยแบบปราศจากข้อกังขา คำพูดนี้ยังเชื่อมโยงกับทีมที่ทำงานมีประสิทธิภาพสูง ๆ ส่วนใหญ่มีสิ่งหนึ่งที่ตรงกันคือ “ความรู้สึกมั่นคงทางใจ” ที่เป็นแบบนั้นเพราะว่า“ความมั่นคงทางใจ”เชื่อมโยงกับความคิดสร้างสรรค์ การกล้าพูด กล้าคิด กล้าทำ ลองจินตนาการดูสิว่าถ้าที่ทำงานที่เรามัวแต่กลัว กังวล ไม่มั่นใจว่าพูดอะไรก็ผิด พูดอะไรก็โดนต่อว่า โดนจ้องโจมตีตลอดเวลา จนเราไม่สามารถเชื่อใจหรือมั่นใจได้อีกต่อไป สมองเราจะค่อย ๆ หยุดกระบวนการคิดหรือสร้างสรรค์ไปแล้วเอาแต่คิดว่าทำยังไงถึงจะเอาชนะได้เท่านั้น ซึ่งถ้าทุกคนในทีมคิดแต่ว่าใครจะเป็นผู้ชนะ ก็คงไม่ต้องพูดถึงคุณภาพงานอีกต่อไปว่ามันจะห่วยลงแค่ไหน “ตื่นไปทำงานหรือตื่นไปรบ?” ถามตัวเองก่อนจะสายเกินไป ในทางกลับกัน ถามตัวเองสิว่าวันนี้เราตื่นขึ้นมาไปทำงานด้วยความรู้สึกแบบไหน? ถ้ามีความสุขเต็มเปี่ยมอยากไปทำงานที่รักเต็มที่ดีใจด้วยที่คุณรู้สึกมั่นคงทางใจกับงานตรงหน้า แต่ถ้ากำลังรู้สึกว่าการทำงานไม่ต่างอะไรจากการเดินเข้าสนามรบหรือสังเวียนต่อสู้ ต้องไปฟาดฟันเอาชนะกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าอย่างหนักตลอดเวลา แถมเป็นการสู้ที่ไม่ได้เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า แต่คล้ายว่าต้องสู้เพื่อหาว่าใครแพ้ใครชนะ ใครผิดใครถูกตลอดเวลา เสียใจด้วยคุณอาจกำลังอยู่ในทีมที่ไม่มีพื้นที่ปลอดภัยทางใจให้ และมันคือส่วนหนึ่งที่จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของคนทั้งทีมห่วยลง! แต่อย่าเพิ่งตื่นตระหนกไป ทุกปัญหามีทางออก ในเมื่อเรารู้แล้วว่า“ความรู้สึกมั่นคงทางใจ”เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ทีมทำงานได้มีประสิทธิภาพ เรายิ่งต้องสร้างพื้นที่และบรรยากาศการทำงานให้เป็นแบบนั้น เพราะไม่ว่าจะอยู่ในฐานะหัวหน้างาน คนทำงาน หรือตำแหน่งไหน เราทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของทีมและองค์กรทั้งนั้น องค์กรควรจะเป็นพื้นที่ที่ทำให้คนทำงานรู้สึกท้าทาย แต่ไม่ใช่รู้สึกไม่ปลอดภัย พร้อมปะทะและเอาอีกฝ่ายให้ถึงตายตลอดเวลา ถ้าอยากสร้างความมั่นคงทางใจไม่ใช่สนามรบ
ชีวิตเกิดมาเพื่ออะไร? ทำยังไงให้ชีวิตมีความสุข? ทำไมเราไม่เคยประสบความสำเร็จเหมือนคนอื่น เราคิดว่าคำถามพวกนี้คงวนเวียนอยู่ในหัวของใครหลาย ๆ คน วันละหลาย ๆ ครั้ง คุณอาจจะคิดว่าชีวิตนี้มันไร้ค่า มีไฟทำอะไรได้ไม่นาน พอเดินไปได้แค่ครึ่งทางก็หยุดเสียกลางคัน ชีวิตนี้ก็เลยไม่เคยทำอะไรสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันกับเขาบ้าง “ประสบความสำเร็จสิถึงจะมีความสุข” มันเลยกลายเป็นคำตอบที่เราพยายามดิ้นรนไปให้ถึงเพื่อเติมเต็มเป้าหมายในชีวิตให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่เคยมีคำตอบไหนเป็นสูตรสำเร็จ เพราะใต้ใบหน้ายิ้ม ๆ ของคนที่เดินมาถึงเป้าหมายทั้งหลาย ไม่ว่าจะได้ดิบได้ดีจนเป็นเจ้านาย เป็นสตาร์ทอัพ หรือเป็นเจ้าของธุรกิจหมื่นแสนล้านเขาเองก็ต้องเจอเคยกับอาการหมดไฟ เบื่อชีวิต ได้เหมือนกัน แต่อุปสรรคนั้นสำหรับพวกเขาเรียกมันว่า “ความว่างเปล่า” ไม่เหลือเป้าหมายให้พิชิต “จากตรงนี้ Career Path ของเธอคืออะไร อยากทำอะไรอีกไหม” เราเคยถามคนที่คุ้นเคยกัน ทั้งในฐานะคนสนิทที่เก่งกว่า คนที่เราชื่นชมด้วยผลงาน ชั่วโมงบินการทำงานสูง และรั้งตำแหน่งหัวหน้าสามารถจัดการทุกอย่างได้ดี ในบริบทสบาย ๆ ที่ต่างฝ่ายต่างล้างหัวโขน เสมอกันทุกด้านในฐานะมนุษย์มานั่งคุยกัน “คงไม่ได้อยากเป็นอะไรแล้ว เราได้โปรโมตตำแหน่งนี้มาตั้งแต่อายุยังน้อยกว่านี้มากก่อนมาที่นี่ มันไม่ได้มีเป้าหมายอะไรเพิ่มแล้วเพราะสิ่งที่อยากได้ เราก็ผ่านมันมาหมดแล้ว” เราเก็บงำความกลัวไว้ ภาพสวยหรูของความสำเร็จมันน่าเศร้ามากสำหรับเราในวันนั้น น่ากลัวกว่าอุปสรรคทั้งหมดในชีวิตที่พยายามฟันฝ่ามาเพื่อสู้เสียอีก เพราะศัตรูตรงหน้ามันไม่ได้เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ แต่อุปสรรคมันคือการ “ไม่มีอุปสรรค” อีกต่อไปต่างหาก ฟังดูน่ายินดีแต่จับอารมณ์จากเสียงที่ได้ยินก็รู้ว่าความสุขที่มีมันถูกลดทอนไปพร้อมกับความว่างเปล่า ความว่างเปล่าที่เกิดขึ้นของความสำเร็จ
ถ้าจะพูดถึงคนที่เริ่มจากศูนย์ แต่สามารถก้าวสู่การประสบความสำเร็จได้อย่างสวยงาม หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อของ ‘Jack Ma’ เจ้าพ่อแห่งอาณาจักร Alibaba มหาเศรษฐีอันดับอันดับ 1 ของ Asia ถ้าใครเคยอ่านชีวประวัติของผู้ชายคนนี้คงพอจะรู้ว่าเขาเกิดมาในครอบครัวยากจน เรียนไม่เก่ง ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เรียกว่าต้นทุนชีวิตติดลบสุดขั้ว แต่วันนี้เขาคือผู้ชายที่ทั่วโลกจับตามองทุกการเคลื่อนไหว การจะมาถึงจุดนี้ได้ วิธีคิดหรือทัศนคติของเขาต้องไม่ธรรมดา ซึ่งในงานสัมนาที่ Davos ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ Jack Ma พูดถึงเรื่องนี้ และมีหลายประโยคที่น่าสนใจ เราจึงอยากนำมาแบ่งปันเพื่อปลุกไฟในชีวิตให้กับทุกคน “ตอนที่ผมเริ่มก่อตั้ง Alibaba แน่นอนว่าผมกลัว และเต็มไปด้วยความไม่เชื่อมั่น แต่สิ่งที่ผมเชื่อคือ ไม่มีใครเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องอนาคตหรอก ทุกคนต่างก็ต้องเรียนรู้ ลองผิดลองถูกด้วยกันทั้งนั้น” “ในโลกธุรกิจ อย่ากังวลเรื่องคู่แข่ง อย่ากลัวที่จะเผชิญความกดดัน ถ้าคุณกลัว ก็จงอย่าเป็นนักธุรกิจ… ถ้าคุณสร้างมูลค่าให้กับสิ่งใดได้ นั่นคือโอกาส ปัจจุบันนี้ทั่วโลกกำลังกังวล หมายความว่านี่คือโอกาสที่ดีมาก ๆ ของคุณ” “งานแรกคือสิ่งสำคัญที่สุด คุณไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นกับบริษัทยักษ์ใหญ่มีชื่อเสียง แต่คุณควรจะเริ่มทำงานกับหัวหน้าที่สามารถสอนคุณได้ ทั้งแง่การเป็นมนุษย์ที่ดี คนทำงานที่ดี ดำเนินชีวิตด้วยความเหมาะสม ถ้าคุณเจอหัวหน้างานแบบนั้น ผมแนะนำให้คุณทำงานที่นั่นอย่างน้อย 3 ปี” เราจะสอนเด็ก ๆ
“เออ…ก็อยากทำนะ แต่ว่ายังไม่กล้าขนาดนั้น” เวลาเราเผชิญหน้ากับอะไรสักอย่างที่มันไม่มีอะไรมาการันตีความสำเร็จ 100 % เรามักจะหลุดประโยคนี้มาเสมอ ว่าสนใจแต่ไม่อยากเสี่ยงเพราะถ้าเผลอทำอะไร ๆ ตามที่คิดไว้แล้วออกมาผิดพลาด ความซวยต้องมาเยือนแน่นอน ดังนั้น ปัญหาใหญ่วันนี้ที่เจอกันแทบทุกคนคือ การรออะไรสักอย่างมา spark joy พอที่จะทำให้ลุกไปทำตามฝัน หรือทำตามสิ่งที่คิด Amy Morin นักจิตวิทยาเผยว่าเธอมักจะถามคนที่เปิดประตูเข้ามาปรึกษาเพื่อหาหนทางพิชิตเป้าหมายว่า “คุณคิดว่าควรจะทำยังไงให้มันสำเร็จตามเป้า” คำตอบเดิมซ้ำ ๆ ที่ได้ยินจากปากแทบจะทุกคนเลยคือ “พัฒนาความมั่นใจ” “ผมอยากมั่นใจขึ้นเพื่อออกไปทำธุรกิจของตัวเอง” “ฉันอยากรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้นจะได้กลับไปโรงเรียน” จุดประกายที่อยากเปลี่ยนแปลงนั้นน่าชื่นชม แต่ Amy Morin บอกว่าปัญหาอยู่ที่คำตอบต่างหากที่ผิดสเตปไปหน่อย ความจริงคนเราจะคว้าเป้าหมายได้ไม่ควรรอให้มั่นใจก่อนแล้วค่อยทำ แต่ความมั่นใจมันจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเรา take action หรือลงมือทำต่างหาก ซึ่งพูดน่ะมันง่ายแต่พอจะทำมันยากมา ถ้าทุนเดิมเราไม่ได้รู้สึกดีกับตัวเองสักเท่าไหร่ ชาว UNLOCKMEN คนไหนที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วกำลังรู้สึกว่า เราเลยนี่หว่า ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะเรารวบรวมวิธีที่นักจิตวิทยาแนะนำมาไว้ด้านล่างเพื่อ follow ตามแล้ว ลงมือเลย มีใครเคยพยายามคิดบวกเยอะ ๆ แล้ว แต่ยังย่ำอยู่กับที่ไหม? ไอ้ที่เราเคยใช้วิธีพูดกับตัวเองว่า “เราเก่ง” “เรามั่นใจ”
Domestic Violence เป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคมมายาวนาน ความเจ็บปวดของการถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจจากคนใกล้ชิด ไม่ต่างจากแผลที่โดนกระหน่ำซ้ำลงที่เดิมทำให้ปากแผลเปิดอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น มันจึงต้องใช้เวลาเยียวยานานและส่งผลกระทบต่อชีวิตของเหยื่อกับสังคมรอบข้างกว่าที่คิด ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาระดับสากลที่แต่ละประเทศกำเนิดองค์กรต่าง ๆ เพื่อยื่นมือเข้าช่วยเหลือ ล่าสุด South Ayrshire council ร่วมมือกับองค์กรช่วยเหลือสตรีท้องถิ่นในประเทศสกอตแลนด์ อนุมัตินโยบายมอบวันลาที่เรียกว่า “Safe Leave” กับพนักงานที่ประสบเหตุการณ์ Domestic Violence เป็นแห่งแรกในยุโรป เสนอวันลาเพื่อพักผ่อนทั้งหมด 10 วัน แบบไม่หักเงิน และไม่หักสวัสดิการวันลาอื่น ๆ เพื่อให้พนักงานใช้เวลานี้สำหรับกระบวนการศาล การบำบัด หรือการพบแพทย์เพื่อเยียวยาอย่างเต็มที่ไร้ข้อจำกัด สามารถเลือกใช้วันลาได้ไม่ว่าจะเป็นการลาต่อเนื่องหรือลาแยกตลอดทั้งปีก็ทำได้ทันที ข้อดีของการให้วันลาครั้งนี้ไม่ใช่แค่การแสดงความเห็นอกเห็นใจในฐานะมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเป็นการสนับสนุนให้ทุกคนที่กำลังประสบเหตุการณ์นี้กล้าลุกขึ้นสู้เพื่อความปลอดภัยและสิทธิ์การใช้ชีวิตของตนเอง อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ชาว UNLOCKMEN บางคนอาจจะรู้สึกว่าเราเอาข่าวนี้มาบอกทำไม จะรู้ไปเพื่ออะไรเพราะบ้านเรายังไม่มีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์บังคับ แต่ข้อเท็จจริงในย่อหน้าถัดไปจะเฉลยว่าทำไมพวกเราถึงต้องรู้และตื่นตัวกับสิ่งเหล่านี้ไว้บ้าง ผู้ชายมากกว่า 40% คือเหยื่อของ Domestic Violence คุณเคยเจอแฟนที่บ้านกรีดร้องเวลาทะเลาะกัน หรือลงไม้ลงมือเขวี้ยงของและตบตีใส่เมื่อเธอไม่พอใจไหม ? เราเชื่อว่าผู้ชายส่วนใหญ่มักจะเจอเหตุการณ์แบบนั้น แต่เรื่องนี้สังคมมักไม่ค่อยพูดถึง เวลาข่าวนำเสนอเรื่อง Domestic Violence ผู้หญิงคือภาพจำของตัวละครที่เป็นเหยื่อเสมอ แต่จากผลสำรวจของ
ผู้ชายทำงานอย่างเราอาจเคยได้ยินคำว่า Burnout ผ่านหูกันมาบ้าง หรือที่ชวนหดหู่ยิ่งกว่าคือบางคนเคยเผชิญหน้ากับอาหารหมดไฟไร้แรงจะทำงานมาด้วยตัวเอง (UNLOCKMEN เคยเขียนถึงอาการหมดไฟไว้ ย้อนอ่านได้ที่ BURN OUT SIGNS: สัญญาณหมดไฟของคนทำงาน ทำยังไงให้ไฟกลับมาลุกโชนอีกครั้ง) แต่คล้ายกับว่าอาการหมดไฟจะไม่ใช่อุปสรรคเดียวที่คนทำงานอย่างเราจะต้องก้าวข้ามไปให้ได้ เพราะ “อาการหมดใจ” หรือ Brownout นั้นก็น่าเป็นห่วงไม่แพ้กัน อาการนี้ไม่ใช่แค่หมดไฟจะไปต่อ แต่มันคือหมดใจกับระบบการทำงานและองค์กร รวมถึงเป็นสาเหตุที่คนเก่ง ๆ และมีความสามารถจำนวนมากตัดสินใจลาออกจากงานอย่างไม่มีใครหรืออะไรจะรั้งไว้ได้ อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คนหมดใจกับงาน? ในฐานะผู้บริหารหรือเจ้าขององค์กรเราควรจัดการกับอาการนี้เพื่อรักษาคนเก่ง ๆ ไว้ได้อย่างไร? หมดใจไม่ใช่เล่น ๆ สาเหตุใหญ่ที่ทำให้คนเก่ง ๆ จากไป เมื่อเราพูดถึงอาการ Burnout เราก็มักจะเห็นภาพของคนที่หมดอาลัยตายอยากกับงานเสียเต็มประดา เพราะไฟในตัวมันมอดไหม้ไปสิ้นแล้ว จะทำอะไรก็เบื่อหน่าย อาการก็ออกมาให้เห็นชัด ๆ ว่าไม่พร้อมจะลุกขึ้นมาทำอะไรอย่างที่เคยทำได้ แต่ Brownout นั้นต่างออกไป จินตนาการถึงแสงจากดวงดาวที่ไม่ได้ดับสนิทมืดลงทันที แต่ยิ่งเฝดห่างออกมาเท่าไหร่แสงก็ยิ่งริบหรี่ลงเท่านั้น เพราะคนที่เข้าข่ายอาการ Brownout นั้นการทำงานภายนอกจะเหมือนเดิมทุกอย่าง เพียงแต่ภายในใจต่างหากที่มันได้ตายจากองค์กรไปแล้วโดยมีสาเหตุมาจากหลายสิ่งในองค์กร อาการเหล่านี้มักจะเกิดกับคนทำงานเก่ง ๆ หรือคนในองค์กรที่มีประสิทธิภาพกว่าคนอื่น (ผลสำรวจระบุว่า Top Performer หนึ่งในสามมีอาการนี้และกำลังหางานใหม่) คนเก่งในองค์กรนั้นเมื่อหมดใจกับงานตรงหน้าหรือหมดใจกับองค์กรที่ทำ พวกเขามีทางเลือกมากกว่าคนที่ทำงานไม่เก่งจึงไม่แปลกใจที่องค์กรมักเสียคนทำงานเก่ง