เมื่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตมาถึง วัฒนธรรมการทำงานของมวลมนุษยชาติก็ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป เทคโนโลยีดี ๆ ทำให้เราทำอะไรได้สะดวกขึ้น เร็วขึ้น แต่ในทางกลับกันมันก็ทำให้เราต้องคิดเรื่องงานมากขึ้น ทำงานมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ในเวลาเลิกงาน เราคิดเรื่องงานในวันหยุกพักผ่อน ณ สถานที่แสนสงบสักแห่ง หรือแม้แต่วันป่วยไข้แต่ใจเราก็กระวนกระวายอยู่กับงานคั่งค้างจนอยากรีบกลับไปทำงานไว ๆ ปัญหานี้ไม่ได้เกิดกับมนุษย์แค่คนสองคน แต่แพร่ระบาดไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ Guy Winch นักจิตวิทยาชื่อดังที่จู่ ๆ ก็โดนงานจู่โจมไม่เลือกเวลา และทำให้เขาหมดไฟกับการทำงานได้ดื้อ ๆ “คิดเรื่องงานนอกเวลางาน” ไม่ใช่แค่เครียด แต่ทำให้หมดใจ Guy Winch ฝันอยากเป็นนักจิตวิทยามาตลอด แต่จุดหนึ่งเมื่อเขาได้ทำงานที่เขาฝันไปสักระยะ เขาดันรู้สึกหมดไฟขึ้นมาดื้อ ๆ เขาครุ่นคิดกับตัวเองอย่างหนักว่าเกิดอะไรขึ้นกับเขากันแน่? เขาเลือกงานผิด? การเป็นนักจิตวิทยาไม่ใช่งานที่เขารัก? และทันทีที่ได้คำตอบเขาก็พบว่าปัญหาไม่ได้เกี่ยวกับงาน แต่ปัญหาคือความคิดเกี่ยวกับงานของเขาต่างหาก แม้ Guy Winch จะเลิกงานตามเวลาอย่างเคร่งครัด ร่างกายเดินออกจากออฟฟิศ แต่เขาตระหนักได้ว่าหัวสมองเขาไม่เคยออกจากออฟฟิศเลย! เขาเอาแต่คิดเรื่องงาน Guy Winch ระบุว่าสิ่งที่น่าสนใจเรื่องความเครียดเรื่องงานคือ เรามักไม่ยอมคิดเรื่องงานให้เสร็จตอนทำงาน เพราะเรามัวแต่ทำตัวยุ่ง จนเราต้องหอบเอาเรื่องงานมาคิดในเวลาพัก หรือเวลาอยู่บ้าน ซึ่งนี่คือจุดเริ่มต้นของวงจรแสนร้ายกาจ เพราะสมองเราจะไม่ได้เครียดแค่เรื่องงานจริง ๆ
พอทำงานมาได้สักพักหนึ่ง คงมีผู้ชายหลายคนที่ยังสนุกอยู่กับงานที่ทำ รู้สึกตื่นเต้น ท้าทาย และมีความสุขทุกครั้งเมื่อต้องทำงานภายใต้แรงกดดัน หรือได้ลองทำโปรเจกต์หินเพื่อพิสูจน์ตัวเอง แต่เราเชื่อว่ามีผู้ชายไม่น้อยที่กำลังเบื่องาน เบื่อคน และมีแพลนจะย้ายงานในเร็ววันนี้ UNLOCKMEN เลยอยากให้หนุ่ม ๆ พิจารณาให้ถี่ถ้วนเสียก่อน เพราะไม่ใช่ทุกออฟฟิศที่จะน่าทำงาน และไม่ใช่ว่าผลตอบแทนสูงลิ่วจะการันตีถึงความมั่นคงได้เสมอไป แล้วออฟฟิศแบบไหนที่ผู้ชายอย่างเราไม่ควรทนทำงานต่อหรือไม่ควรหลวมตัวสมัครเข้าไปทำงาน? ค่าตอบแทนสูงแต่ไม่มั่นคง ระบบการจ้างงานในปัจจุบันคงจำแนกได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือการจ้างงานแบบประจำและการจ้างงานแบบชั่วคราวหรือสัญญาจ้าง ซึ่งต้องยอมรับว่าข้อตกลงแบบสัญญาจ้างนั้นให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่า แม้จะได้เงินเดือนสูงแต่อาจต้องแลกมากับชีวิตการทำงานที่ไม่มั่นคง เพราะคุณไม่สามารถรู้ได้เลยว่าบริษัทจะว่าจ้างคุณทำงานต่อในปีถัดไปหรือไม่ ถ้าไม่ คุณจะวางแผนการหางานอย่างไร ไม่ให้ตัวเองตกงาน? วัฒนธรรมองค์กรสุดพิลึก เราเคยได้ยินมาว่าความรู้สึกแรกเชื่อได้เสมอ ถ้าคุณไปสัมภาษณ์งานวันแรกและรู้สึกประทับใจหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่สภาพแวดล้อมในการทำงาน มันอาจทำให้คุณมีความสุขเมื่อได้ทำงานที่นี่จริง ๆ เพราะวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวกนั้นช่วยขับเคลื่อนประสิทธิภาพการทำงานและความก้าวหน้าของบริษัทได้ ในทางตรงกันข้ามถ้าวันสัมภาษณ์งานของคุณเต็มไปด้วยปัญหา เห็นความขัดแย้งของหัวหน้ากับพนักงานคนอื่น ๆ หรือได้ฟังคำถามที่บ่งบอกถึงตรรกะแปลกประหลาดบางอย่าง อย่ารอช้า รีบเผ่นเถอะ! พนักงานลาออกบ่อย ก่อนที่จะตัดสินใจไปสัมภาษณ์งาน เราอยากให้หนุ่ม ๆ ศึกษาข้อมูลที่ทำงานใหม่ก่อน ว่าที่นี่เปิดรับพนักงานมากน้อยเพียงใดและเปิดรับสมัครบ่อยแค่ไหน ถ้าบริษัทดังกล่าวเปิดรับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงทุก ๆ 3-6 เดือน แปลว่าบริษัทนี้กำลังเข้าขั้นวิกฤตและขาดการบริหารจัดการที่ดี หรือเมื่อเข้าทำงานแล้วเห็นเพื่อนร่วมงานพากันลาออกยกแก๊ง คุณอาจต้องกลับไปคิดว่าสาเหตุของปัญหานี้คืออะไร เพราะมันอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและความมั่นคงของบริษัทคุณได้ บทบาทงานไม่เหมือนที่คุยกันไว้
ชีวิตเราอาจจะยืนยาว แต่เวลาในแต่ละวันของเราช่างแสนสั้น เผลอนิดเดียวก็หมดวันอย่างง่ายดาย ถ้าเราไม่อาจจัดสรรปันส่วนเวลาและใช้มันอย่างทรงประสิทธิภาพ แต่ละวันย่อมผ่านไปอย่างเปล่าประโยชน์ วันเดียวที่เปล่าประโยชน์เรียงต่อเชื่อมร้อยกลายเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน ลงท้ายด้วยปีทั้งปีที่สูญเปล่า เราทำได้แค่ใช้ชีวิตไปวัน ๆ หาความสุขที่อยู่กับเราชั่วคราว แต่ในระยะยาวมองรอบตัวแล้ว…เราไม่เหลืออะไรเลย ใครที่กำลังติดกับดักวันเวลาและปีที่ผ่านมาใช้ชีวิตไปอย่างสูญเปล่า ปีหน้าต้องไม่เหมือนเก่าด้วยวิธีคิดจากนักปรัชญาที่ขบคิดและมีชีวิตอยู่เมื่อสองพันกว่าปีก่อน แต่แก่นความคิดของพวกเขายังสามารถปรับใช้กับชีวิตเราในปัจจุบันได้อย่างทรงพลัง “Beware the barrenness of a busy life.” – Socrates การตื่นเช้ามาพร้อมงานที่ประเดประดังไม่หยุดหย่อน ความยุ่งเหยิงที่สะสางเท่าไหร่ก็ไม่หมด คือกลลวงที่ล่อให้ผู้ชายอย่างเราหลงเข้าใจไปว่าชีวิตที่ยุ่งเหยิงนี่แหละคือชีวิตที่ทำงานหนักหรือชีวิตที่มีประสิทธิภาพ เราคิดว่ามันดีแล้วและปล่อยให้ตัวเองยุ่งจนไม่เหลือเวลาให้ตัวเองอีกต่อไป ปีหน้าต้องไม่เป็นแบบนี้ เพราะชีวิตที่ยุ่งอยู่เสมอหมายถึงการจัดการเวลาอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญการทำหลายสิ่งหลายอย่างในวันเดียวแปลว่าเราทุ่มพลังให้มันในระดับปานกลางเป็นสิบ ๆ สิ่ง แทนที่เราจะลดเหลือเพียง 3-4 อย่างที่สำคัญจริง ๆ แล้วทุ่มเทความตั้งใจไปกับมันได้มากกว่าเดิม ดังนั้นการทำอะไรเยอะ ๆ ให้ตัวเองดูยุ่ง ๆ ในหนึ่งวันไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น จงระวังความยุ่งใหดี! แต่การจัดลำดับความสำคัญและทำอย่างมีประสิทธิภาพนั่นแหละคือหัวใจแห่งการจัดการเวลาและชีวิต “Better a little which is well done, than a
“บุหรี่” ถือเป็นอีกเชื้อเพลิงสำคัญที่ขับเคลื่อนผู้ชายอย่างเราให้ทำงานได้คล่องตัวขึ้น อาจเพราะนิโคตินที่เราเสพ อาจเพราะช่วงเวลาพักสั้น ๆ ที่ได้ออกมาสูดอากาศนอกบรรยากาศการทำงาน อาจเพราะได้มองผู้คนจากออฟฟิศอื่นที่ก็ลงมาสูดควันเข้าปอดเหมือนกัน แต่เชื่อว่าผู้ชายหลายคนคงไม่ทันนึกว่า “การสูบบุหรี่” สามารถเชื่อมโยงกับความก้าวหน้าในอาชีพการงานได้ งานวิจัยจาก National Bureau of Economic Research สำรวจกลุ่มตัวอย่างจากพนักงานในสถาบันทางการเงินขนาดใหญ่ โดยผลการสำรวจชี้ว่าพนักงานผู้ชายที่ใช้เวลาสูบบุหรี่กับหัวหน้าผู้ชายของพวกเขานั้นมีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่งเร็วกว่า และเงินเดือนขึ้นเร็วกว่า ในมุมหนึ่งเรื่องนี้อาจดูไม่น่าแปลกใจนักเพราะสิงห์อมควันรู้ดีว่าการสูบบุหรี่กับใครสักคนไม่ได้หมายความแค่การสูดควันเข้าปอดข้าง ๆ กัน โดยเฉพาะการสูบบุหรี่กับเพื่อนร่วมงาน ระหว่างห้วงเวลาในควันเทาทึมนั้นมักมีบทสนทนาลื่นไหลที่บางบทสนทนานั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในบรรยากาศการทำงานในออฟฟิศได้เลย การสูบบุหรี่จึงไม่ต่างจากสารกระตุ้นความผ่อนคลายบางอย่าง แต่ก็เจือบรรยากาศเปิดเผยอย่างจริงใจ จึงไม่แปลกที่ผู้ชายอาจได้แสดงวิสัยทัศน์หรือตัวตนให้หัวหน้าประทับใจ จนนำไปสู่ความก้าวหน้าทางอาชีพการงานได้ แต่ในอีกมุมหนึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ก็ทำให้เกิดข้อถกเถียงเป็นวงกว้าง เพราะถ้าทุกคนได้แสดงความคิดเห็นหรือทำให้หัวหน้าเห็นศักยภาพบางอย่างระหว่างสูบบุหรี่จริง ทำไมพนักงานผู้หญิงถึงไม่ได้เลื่อนขั้นเร็วขึ้นอย่างพนักงานผู้ชาย? หรือทำไมการที่พนักงานไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายสูบบุหรี่กับหัวหน้าผู้หญิง แล้วถึงไม่ได้มีใครมีอัตราการเลื่อนตำแหน่งเร็วขึ้น? การตั้งข้อสังเกตเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศระหว่างการทำงาน ไม่ได้เกิดขึ้นกับการสูบบุหรี่เป็นกรณีแรก ทฤษฎี “old boys’ club” ที่ตั้งคำถามกับกิจกรรมแบบผู้ชาย ๆ ที่เอื้อประโยชน์กันแค่ในหมู่ผู้ชายและสร้างโครงข่ายคอนเนคชั่นทอดยาวไม่รู้จบนั้นมีมานานแล้ว ถ้าจินตนาการไม่ออกให้ลองนึกถึงการไปตีกอล์ฟแบบผู้ชาย ๆ หรือการไปกินดื่มเที่ยวในสถานบันเทิงบางรูปแบบที่มีแต่ผู้ชาย เพราะไม่สามารถชวนพนักงานผู้หญิงหรือเจ้านายผู้หญิงไปมีส่วนร่วมได้ ไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อในทฤษฎี “old boys’ club” แต่มีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่เชื่อแน่ ๆ และเถียงหัวชนฝา พวกเขาตั้งสมมติฐานขึ้นมาว่า “ที่พนักงานผู้ชายได้ขึ้นเงินเดือนและเลื่อนตำแหน่งเร็วกว่าตอนที่ทำงานกับหัวหน้าผู้ชายก็เพราะว่าหัวหน้าผู้ชายเข้าใจเราและรู้จักวิธีบริหารดีกว่าไงล่ะ” สมมติฐานนี้คล้ายจะฟังขึ้น
ญี่ปุ่นเป็นประเทศเล็ก ๆ บนเกาะที่หลายคนลงความเห็นว่าน่าอยู่และเจริญที่สุดประเทศหนึ่ง บางคนก็มองว่ามีเสน่ห์น่าหลงใหลเพราะความตั้งใจจริงของคนในชาติ แต่เราเชื่อว่าหลายคนยังคงตั้งคำถามว่า การอยู่ในกรอบสังคมญี่ปุ่นที่เป๊ะไปเสียทุกอย่างมันสร้างความกดดัน และเกี่ยวพันกับอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น หลังจากมีโอกาสพูดคุยกับ ดร. กฤตินี พงษ์ธนเลิศ เราพบมุมมองที่น่าสนใจว่า “งานไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงของการตาย” และมีคำอธิบายมุมมองที่น่าสนใจอื่น ๆ ที่ทำให้รู้ว่า อะไรคือสิ่งที่ทำให้องค์กรของญี่ปุ่นเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ยอดฆ่าตัวตาย ไม่ได้มาจากคนตั้งใจทำงาน “ครูมองว่ามันต้องแยกกันค่ะ คนที่ตั้งใจทำงานอาจจะเป็นคนละกลุ่มกัน มันไม่ได้แปลว่าคนที่ตั้งใจทำงานจะทำงานหนักจนต้องฆ่าตัวตาย” บางคนอาจเชื่อมโยงสถิติการฆ่าตัวตายวันจันทร์เข้ากับเรื่องการทำงานท่ามกลางสภาพความกดดัน เป๊ะ ๆ ของสังคมญี่ปุ่น แต่นั่นคือภาพมองแบบเหมารวม เพราะหากเราติดตามรายละเอียดจริง ๆ สถิติการตายเหล่านี้มีคณะวิจัยระบุว่าอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นในช่วงที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น นั่นแปลว่าเขารู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า เครียด เมื่อไร้การทำงานจนต้องจบชีวิตตัวเองต่างหาก การทำงานเป็น A MUST สำหรับคุณ แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน แม้จะมีความเป็นไปได้ที่บางคนรู้สึกทุกข์ทนถึงขนาดหดหู่ที่ต้องตื่นลืมตามาทำงาน แต่มันไม่ได้เกิดขึ้นในองค์กรญี่ปุ่นทุกองค์กร เพราะตามประสบการณ์ที่ ดร. กฤตินี พบแม้จะทำงานหนักแค่ไหน แต่ผู้คนในญี่ปุ่นกลับรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของการทำงานจนไม่รู้สึกว่าสิ่งที่ทำคือการทำงาน เธอยกตัวอย่างของเพื่อนชาวญี่ปุ่นที่ทำเว็บไซต์การทำอาหารและส่งเสริมให้คนรับประทานอาหารในบ้านมากขึ้น เพราะเชื่อว่าการทำอาหารคือการส่งมอบความรัก แม้ ดร. กฤตินีให้คำแนะนำว่าสังคมไทยเป็นสังคมรับประทานอาหารนอกบ้านและเสนอให้จ้างอินฟลูเอนเซอร์ตามค่านิยมการตลาดไทย แต่เพื่อนยืนยันว่าจะทำงานหนักแทนโดยให้เหตุผลว่า “เราต้องทำให้คนรักจากหัวใจ” “เขามานั่งทำงานหนักมา ปรับโปรแกรม ปรับเว็บไซต์ให้คนไทยใช้งานง่าย
ในชีวิตมนุษย์ทำงานทุกคน เราล้วนต้องเผชิญหน้ากับคำวิจารณ์หรือฟีดแบ็คอยู่เสมอเพื่อพัฒนาตัวเองและผลงานให้ดียิ่งขึ้น คำวิจารณ์เชิงบวกไม่ต่างอะไรจากของขวัญล้ำค่าที่เรารอคอย ในขณะที่คำวิจารณ์หรือฟีดแบ็คเชิงลบเป็นสิ่งที่เราอยากหนีไปสุดหล้าฟ้าเขียว เพราะฟังทีไรก็เจ็บลึก สร้างแผลทางความรู้สึกไปนานแสนนาน แต่อยากให้รู้ไว้ว่าบนโลกใบนี้ ไม่มีใครที่รับฟีดแบ็คด้านลบได้อย่างร่าเริงเสมอไป เพียงแต่โลกใบนี้มีมีหนทาง “รับฟีดแบ็คด้านลบแบบมืออาชีพ” อยู่ ที่ต่อให้ข้างในเราจะกระทบกระเทือนเพียงไหน แต่เราจะสามารถรักษาความเป็นมืออาชีพและสามารถนำฟีดแบ็คนั้นมาพิจารณาอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดได้ เพราะในชีวิตการทำงานหรือแม้แต่ชีวิตด้านอื่น ๆ ฟีดแบ็คเชิงลบนี่เองที่จะทำให้เราเห็นข้อผิดพลาด หรือส่ิงที่ต้องปรับปรุง รวมถึงได้เห็นตัวเองในเวอร์ชันที่เราอาจไม่เคยมองเห็นมาก่อน UNLOCKMEN จึงเอาทั้งศาสตร์และศิลป์แห่งการ “รับฟีดแบ็คด้านลบแบบมืออาชีพ” มาฝากกัน รับฟังคำวิจารณ์ครั้งต่อไป เราจะรับฟังอย่างสง่างาม มืออาชีพ และนำมาปรับปรุงตัวเองได้ดีขึ้นแน่นอน ศาสตร์แห่งการไม่หัวร้อน: เพราะคำวิจารณ์ด้านลบ ทำลายภาพที่เราเห็นตัวเอง วินาทีแรกที่เราถูกวิจารณ์ ไม่แปลกที่เราจะโกรธ เนื่องจากนี่คือกลไกอัตโนมัติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนเมื่อตัวเองได้ฟังฟีดแบ็คที่เราไม่เชื่อว่าตัวเราเป็น โดยขั้นแรกเราจะเริ่มโมโห หัวร้อน จากนั้นเราจะเริ่มสร้างเกราะมาปกป้องตัวเองทุกหนทางเท่าที่จะทำได้ และเราจะจบลงด้วยขั้นสุดท้ายคือการเข้าข้างตัวเอง และโยนคำวิจารณ์นั้นทิ้งไป (ทั้ง ๆ ที่มันอาจมีประโยชน์ต่อเรามาก) Tasha Eurich นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาระบุไว้ในบทความ The Right Way to Respond to Negative Feedback ว่าทั้งหมดนั้นเป็นกลไกปกติ แต่ถ้าเราอยากเป็นมืออาชีพมากขึ้น และรับฟีดแบ็คลบ
ความเครียดและความกดดันเป็นเรื่องปกติของชีวิต และเป็นสองสิ่งที่เราเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานภายในระยะเวลาที่จำกัด การทำงานที่ยากเกินความสามารถ หรือได้รับโปรเจกต์ยักษ์ที่เป็นตัวตัดสินรายได้ของบริษัท ทั้งหมดนี้อาจทำให้หนุ่มมนุษย์เงินเดือนหลายคนต้องกุมขมับ รู้สึกเครียด และกดดันจนทำอะไรไม่ถูก วันนี้ UNLOCKMEN เลยอยากแนะนำเคล็ดลับการฝึกสมองเพื่อรับมือต่อความกดดันจากการทำงาน รับรองว่าถ้าทำได้ จะความเครียดหรือความกดดันหน้าไหนก็ไม่สามารถทำอะไรพวกคุณได้อย่างแน่นอน! ใช้สติควบคุมอารมณ์ตัวเอง ในสถานการณ์คับขับที่คุณต้องรีบตัดสินใจบางเรื่องโดยไม่ได้ไตร่ตรองให้รอบคอบ อาจทำให้หนุ่ม ๆ รู้สึกกดดันเพราะกลัวผิดพลาด หรือทำให้สติของหนุ่มบางคนกระเจิดกระเจิงไปเลยด้วยซ้ำ เมื่อใดที่คุณรู้สึกว่าเหงื่อเริ่มแตกพล่านเต็มฝ่ามือและทำอะไรไม่ถูก เราแนะนำให้ลองถอยห่างจากความกดดันออกมาสักก้าวหนึ่ง แล้วค่อย ๆ คิดหาวิธีแก้ไขมันด้วยสติ ลองสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ และผ่อนออกอย่างช้า ๆ วิธีนี้จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตลดลง หรือพูดง่าย ๆ คือทำให้คุณมีสติและสงบยิ่งขึ้น แถมยังช่วยให้ความตื่นตระหนกของคุณชะลอตัวลงอีกด้วย มองความกดดันให้เป็นเรื่องบวก แทนที่จะวิตกกังวลหรือเคร่งเครียดกับความกดดันตรงหน้า ลองปรับมุมมองและคิดเสียใหม่ว่าความกดดันเป็นเรื่องปกติที่มนุษย์ทุกคนต้องเจอ แต่จะต่างกันตรงที่ใครสามารถรับมือต่อแรงกดดันได้ดีกว่ากัน หากความกดดันทำให้คุณรู้สึกประหม่า ลองเปลี่ยนมันให้เป็นเรื่องสนุกหรือบททดสอบสุดท้าทายที่จะทำให้คุณทำงานเก่งขึ้น ถ้าทัศนคติที่มีต่อความกดดันของคุณเปลี่ยนไป คุณจะไม่รู้สึกเครียดกับความกดดันเลย แต่จะรู้สึกว่าเป็นเรื่องสนุกที่คุณต้องข้ามผ่านมันไปให้ได้ หมั่นฝึกฝนเพื่อรับมือความกดดัน ว่ากันว่าสมองของคนเรามีความสามารถในการกักเก็บความทรงจำ สิ่งที่เราทำครั้งแรกอาจไม่ได้ผลดีเสมอไป แต่เมื่อใดที่เราหมั่นฝึกฝนจนสมองเรียนรู้ จดจำ เราจะสามารถรับมือกับความกดดันได้ดีกว่าเดิม ถ้าคุณเป็นคนที่รู้สึกตื่นเต้นและมือสั่นทุกครั้ง เมื่อต้องจับไมค์ขึ้นพูดต่อหน้าคนเยอะ ๆ ให้ลองฝึกซ้อมพูดหน้ากระจกหรือพูดต่อหน้ากลุ่มเพื่อนบ่อย ๆ การฝึกฝนที่มากพอจะทำให้สมองคุ้นชินและส่งผลให้การพูดต่อหน้าสาธารณชนของคุณดูลื่นไหลและเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น เราไม่สามารถหลบหลีกความกดดันได้เสมอไป
‘ออฟฟิศ’ เป็นสถานที่ที่สัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์เงินเดือนอย่างเราเป็นที่สุด เพราะเราใช้เวลาอยู่ที่นี่ร่วม 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งถ้านับดูดี ๆ ก็มากถึง 1 ใน 3 ของวัน แต่น่าแปลกที่หนุ่มออฟฟิศบางคนกลับใช้เวลาทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงเสียอีก และยิ่งแปลกไปกว่านั้นเมื่อพวกเขาดันคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ ผู้ชายบางคนทำงานในองค์กรที่มีเวลางานยืดหยุ่น และคุ้นชินกับการมาทำงานสายจนทำให้งานไม่เสร็จ แต่ใจก็ไม่อยากหอบงานกลับไปทำต่อที่บ้าน เลยต้องนั่งทำงานต่อจนกินเวลาเกินกว่า 8 ชั่วโมง นอกจากพฤติกรรมนี้จะสะท้อนว่าคุณไม่สามารถจัดสรรเวลาทำงานได้อย่างเหมาะสมแล้ว มันอาจบ่อนทำลายชีวิตแบบ productive และทำลายความสุขในการทำงานของคุณจนไม่เหลือชิ้นดีอีกด้วย วันนี้ UNLOCKMEN เลยจะมาชี้เป้า 5 อุปสรรคในออฟฟิศที่คุณควรกำจัดมันให้สิ้นซาก เพื่อให้คุณได้ใช้ชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวอย่างมีประสิทธิภาพ! อุปสรรคที่ 1: สภาพแวดล้อมในการทำงาน แม้ออฟฟิศแบบเปิดโล่งจะได้รับความนิยมในสมัยนี้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะชอบออฟฟิศสไตล์นี้ เพราะหายนะของออฟฟิศแบบเปิดโล่งคือการที่คุณต้องทนฟังเสียงคนอื่นคุยกันไปมาข้ามหัวคุณตลอดทั้งวัน ไม่เพียงบั่นทอนสมาธิในการทำงาน แต่อาจทำให้คุณทนไม่ไหวและเผลอไปร่วมวงสนทนากับพวกเขาต่ออีกด้วย วิธีแก้ง่าย ๆ คือหาหูฟังเปิดเพลงดัง ๆ อุดหู หรือปลีกตัวออกไปทำงานในมุมสงบ ๆ จะช่วยให้คุณสามารถทำงานต่อได้อย่างลื่นไหล แม้ต้องอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการทำงาน (ที่ต้องใช้สมาธิ) ก็ตาม อุปสรรคที่ 2: โซเชียลเน็ตเวิร์ก ถ้างานของคุณไม่จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารหรือตอบอีเมลตลอดเวลาก็คงจะดีไป
เมื่อเลิกตื่นเต้นกับการเริ่มงานใหม่ได้สักพัก และคุ้นชินกับการทำงานซ้ำ ๆ เดิม ๆ ราวกับเป็นเครื่องจักร หนุ่ม ๆ หลายคนอาจพอสังเกตได้ว่าชีวิตการทำงานแม่งไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นเลย หากน่าเบื่อ จำเจ และดูเหมือนการทำงานของเราคือการย่ำอยู่กับที่เสียมากกว่า จนเผลอคิดว่าถ้าย้ายสายงานไปก็คงจะมีความสุขมากกว่านี้หรือเปล่า? แม้การย้ายงานจะเป็นเรื่องง่าย แต่การย้ายงานจากสายอาชีพหนึ่งไปสู่อีกสายอาชีพหนึ่ง ดูจะไม่ง่ายเลย เพราะผู้ชายหลายคนคงกังวลว่าตนจะไปรอดไหม เริ่มต้นตอนนี้จะไปสู้ใครเขาได้ และถ้าย้ายงานแล้วล้มเหลวมันจะไม่เสียเวลาชีวิตเหรอ แต่การย้ายสายงานอาจไม่ได้น่ากลัว ถ้าเทียบกับการทำงานไปวัน ๆ โดยปราศจากเป้าหมาย และปล่อยให้พฤติกรรมแสนจำเจนี้บั่นทอนชีวิตของคุณ จนไฟในการทำงานมอดดับลงโดยที่คุณไม่รู้ตัว วันนี้ UNLOCKMEN เลยจะมาบอกทริคง่าย ๆ เพื่อให้หนุ่ม ๆ ที่มีแพลนจะย้ายงานสามารถเริ่มงานใหม่ได้อย่างไร้กังวล เตือนตัวเองว่าไม่มีคำว่า “สายเกินไป” ในช่วงที่จะย้ายสายงานเราเชื่อว่าคงมีคำถามมากมายผุดขึ้นมาในหัวหนุ่ม ๆ แต่คุณต้องมั่นใจในความคิดของตัวเองและโปรดรู้เอาไว้ว่าไม่มีคำว่า “สายเกินไป” สำหรับการย้ายงาน อายุและช่วงวัยไม่ได้มีผลต่อความสำเร็จในอาชีพการงานแม้แต่น้อย แถมโอกาสและจังหวะชีวิตของแต่ละคนก็ต่างกันด้วย ถ้างานที่ทำอยู่มันบั่นทอนชีวิตและทำให้คุณไม่มีความสุขกับการทำงาน จงย้ายงานด้วยความคิดที่แน่วแน่ แล้วคุณจะรู้ว่าสิ่งที่ได้รับจากการตัดสินใจครั้งนี้ มันคุ้มค่าแค่ไหน ตั้งใจทำงานและให้ความสำคัญกับคุณภาพงาน ว่ากันว่าการเริ่มต้นที่ดีนั้นมีชัยไปกว่าครึ่ง เราไม่สนว่าก่อนหน้านี้คุณจะทำงานได้แย่ขนาดไหน แต่เมื่อได้โอกาสเริ่มต้นงานใหม่ ก็ขอให้การทำงานครั้งนี้เป็นการพิสูจน์ตัวเองว่าคุณจะไปได้ไกลแค่ไหนในสายงานใหม่ที่คุณเลือก สำหรับบางคนการเริ่มต้นใหม่ อาจต้องฝึกฝน ตั้งใจ และทุ่มเทให้กับงานมากเป็นเท่าตัว แต่ตราบที่งานนั้น
ในยุคสมัยที่เศรษฐกิจฝืดเคืองจนหลายบริษัทพากันขาดทุน คงไม่แปลกถ้ามนุษย์เงินเดือนอย่างเราจะต้องมุ่งมั่นทุ่มเททำงานมากเป็นสองเท่า หนึ่งเพื่อช่วยเหลือบริษัทให้รอดพ้นวิกฤต สองคือเพื่อเป้าหมายความสำเร็จที่อยู่เบื้องหน้า แต่ท่ามกลางสังคมที่มีอัตราการแข่งขันสูงในปัจจุบัน การทำงานโดยอาศัยทักษะด้านความรู้ (Hard Skills) เพียงอย่างเดียว อาจยังไม่พอที่จะพาคุณไปเหยียบเส้นชัยที่เรียกว่า ‘ความสำเร็จในการทำงาน’ ได้ เพราะสิ่งที่สำคัญไม่แพ้ความเชี่ยวชาญด้านสายอาชีพ คือทักษะด้านอารมณ์และสังคม (Soft Skills) ที่มีอิทธิพลไม่น้อยต่อความก้าวหน้าในอาชีพการงานของหนุ่ม ๆ ‘Soft Skills’ ถือเป็นทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ที่ครอบคลุมตั้งแต่การใช้ภาษา ความเป็นมิตร การทำงานเป็นทีม หรือแม้แต่การแสดงออกทางอารมณ์ หากคุณมี Soft Skills นั่นแปลว่าคุณก็มีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ Emotional Quotient (EQ) ด้วยเช่นกัน ซึ่งความฉลาดทางอารมณ์นี่เองที่ทำให้พนักงานแต่ละคนแตกต่างกัน Linkedin แพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์กด้านอาชีพและธุรกิจ ได้สำรวจพนักงาน 4,000 คน เรื่องอาชีพและการทำงาน จนได้ข้อสรุปว่าทักษะด้านอารมณ์และสังคม (Soft Skills) มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในการทำงาน แถมพนักงานที่มี EQ สูง ก็สามารถทำเงินได้มากกว่าพนักงานที่มี EQ ต่ำ ถึง $29,000 โดยเฉลี่ย หากคุณอยากฝึกฝน Soft