พอเริ่มทำงานมาได้สักพักหนึ่ง ดูเหมือนเส้นทางการทำงานก็น่าจะไปได้สวย แถมบริษัทก็ยิ่งเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แล้วในที่สุดวันนี้ก็วนมาถึง วันที่ได้เลื่อนตำแหน่งและก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าคนอย่างเต็มตัว แม้ลู่ทางความสำเร็จจะอยู่เพียงเอื้อมมือ แต่การเป็นหัวหน้าก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่ใครหลายคนคิด งานวิจัยจาก CEB เผยว่า 60% ของผู้บริหารใหม่ต้องเจอกับความล้มเหลวตั้งแต่ 24 เดือนแรกที่พวกเขาเพิ่งเริ่มงานในตำแหน่งนี้ ซึ่งสาเหตุหลักก็เพราะผู้บริหารมือใหม่ไม่ได้ผ่านการฝึกฝนเกี่ยวกับวิธีการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนวิธีการจัดการกับคนในองค์กรอย่างเป็นระบบ แต่ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นกับคุณ ถ้านำ 3 เทคนิคนี้ไปปรับใช้ในการทำงาน อย่าเปลี่ยนแปลงทุกอย่างเร็วเกินไป ไม่ว่าระบบการบริหารของหัวหน้าคนเก่าจะยุ่งเหยิงขนาดไหน แต่หนุ่ม ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนที่จะเปลี่ยนแนวทางการบริหาร เพราะบางบริษัทที่นำกลยุทธ์ใหม่มาใช้ทันทีอาจไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ดีเสมอไป คุณต้องเข้าใจก่อนว่าพนักงานส่วนใหญ่ยังคุ้นชินอยู่กับระบบเดิม ๆ การที่นำกลยุทธ์หรือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่มาใช้ อาจทำให้กลยุทธ์นั้น ๆ ถูกลืมไปอย่างง่ายดาย เราแนะนำให้ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนจากระบบเล็กไปสู่ระบบใหญ่ หรือแสดงให้คนในบริษัทเห็นว่าทำไมการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ถึงสำคัญ และพนักงานทุกคนจะมีส่วนร่วมกับภาพรวมที่ใหญ่กว่าได้อย่างไร วิธีนี้จะทำให้การบริหารงานของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้นแน่นอน ไม่กลัวความล้มเหลว คนในองค์กรคือสิ่งสำคัญที่ทำให้บริษัทของคุณเดินหน้าต่อไปได้ การปลุกพลังให้คนในองค์กรจึงเป็นเรื่องสำคัญของผู้บริหารมือใหม่อย่างคุณ เมื่อใดที่พนักงานรู้สึกท้อแท้หรือสิ้นหวัง คุณต้องเป็นคนแรกที่เสนอตัวขึ้นมาช่วยเหลือพวกเขา กล้าที่จะลุกขึ้นมาเริ่มใหม่และอย่ากลัวกับการลองผิดลองถูก นี่เป็นหลักการเดียวกันกับ Thomas Edison ที่ล้มเหลวมาแล้ว 9 ครั้ง แต่ครั้งที่ 10 เขาก็สามารถผลิตหลอดไฟจนสำเร็จได้ เราหวังว่าหลักการนี้ก็สามารถนำไปปรับใช้กับผู้บริหารมือใหม่ทุกคนได้ด้วยเช่นกัน
หากกล่าวถึงนักแสดงชายดาวรุ่งพุ่งแรงผู้กำลังเป็นที่จับตามองในยุคนี้ เชื่อว่าชื่อของ ‘นน – ชานน สันตินธรกุล’ หรือที่เรามักเรียกเขาติดปากว่า ‘นนกุล’ คือหนึ่งในชื่อแรก ๆ ที่หลายคนคิดถึง ย้อนไปเมื่อสองปีก่อน ตอนที่เขาได้รับบทบาท ‘แบงค์’ ในภาพยนตร์เรื่องฉลาดเกมส์โกง ทำให้ชื่อเสียงของนนกุลกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากภาพยนตร์จะประสบความสำเร็จทำรายได้ว่าทะลุหลักพันล้านแล้ว นนกุลยังคว้ารางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมถึง 3 รางวัลติดจากบทบาทนี้ โดยได้ทั้งรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์, รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี และรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ในขณะนั้นเขามีอายุเพียง 21 ปีเท่านั้น ปัจจุบันนนกุลเติบโตขึ้นอีกก้าว เพราะงานแสดงของเขาไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในประเทศ แต่ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมบันเทิงของจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเขาต้องสวมบทบาทใหม่ ๆ ที่ไม่ได้พูดภาษาบ้านเกิดตัวเองแม้เพียงประโยค UNLOCKMEN ขอชวนคุณมาฟังวิถีคิด วิธีเอาชนะอุปสรรค และการพิชิตเป้าหมายของนนกุล กว่าจะเป็นนักแสดงอาชีพที่ได้รับการยอมรับ ล้วนแล้วแต่ผ่านการฝึกฝนทุ่มเทอย่างหนักจากเจ้าตัว จึงไม่แปลกที่นนกุลจะมาไกลในสายอาชีพ แม้อายุจะยังน้อย การแสดงคือศิลปะแขนงหนึ่ง แล้ว ‘ศิลปะ’ ในแบบของนนกุลคืออะไร ศิลปะในแบบของผมคือการตีความตัวตนของตัวเองออกมา แต่ไม่ใช่เพียงการตีความผ่านประสบการณ์ แต่ต้องผ่านการฝึกซ้อมอย่างหนัก ผ่านการเตรียมตัวให้พร้อม ทั้งการทำการบ้านตัวละคร ผ่านการ Acting workshop ต่าง ๆ จนกว่าจะสวมบทบาทที่แท้จริงได้ครับ
ค่าฝุ่นพุ่งจนวัดแล้วเป็นสีแดงจนถึงม่วง เราจะทำอย่างไรถ้ายังหาหน้ากากมาใส่ไม่ได้ ? เช้านี้ยังเป็นอีกวันที่ฝุ่นบังตึกทั่วกรุงเทพฯ หลายคนเริ่มหายใจหอบเหนื่อยหรือมีอาการกำเดาไหลกันบ้าง ถ้าออฟฟิศของคุณอนุญาตให้ทำงานนอกสถานที่ได้ในช่วงนี้ UNLOCKMEN ขอแชร์เทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ทุกคนจาก 4 แอปพลิเคชันสำหรับ Remote Worker ทุกคนไว้ใช้สู้งานจากในบ้านแทนสู้ฝุ่น แอปฯ ฟรีไว้วางแผนจัดประชุมหรือนัดหมาย ถ้างานที่เราทำเป็นงานที่จำเป็นต้องจับคนมาอยู่ในที่เดียวกันและวันเวลาเดียวกันเพื่อพูดคุยหรือทำตาม Agenda ให้ลุล่วง ไม่ควรพลาดแอปพลิเคชันนี้ เพราะไม่ใช่แค่ใช้นัดหมายได้ มันยังมีหลักฐานมัดตัวว่าฝ่ายตรงข้ามเป็นคนคอนเฟิร์มด้วย ข้อดี ประหยัดเวลา แทนที่จะเขียนส่งเพื่อนัดหมายรายคน มันจะเป็นรูปแบบการส่งสไตล์โพลสำรวจใบเดียวแล้วสรุปเพื่อหาช่วงเวลาที่ตรงกัน เข้าถึงการ invite ได้ทุกแอปฯ ที่นิยมใช้งาน ทั้ง WhatsApp, Facebook, Messenger, Hangout, eMail, SMS ฯลฯ ถ้าไม่ใช้สมาร์ตโฟนเพราะไม่อยากโหลด มีทางเลือกให้ใช้งานผ่านเว็บไซต์ได้ สร้างปฏิทินไว้โชว์นัดหมายได้ จริง ๆ ก็คล้ายว่าเรามีเลขาในตัว ข้อจำกัด ถ้าตามฟังก์ชันการใช้งานแบบฟรีของมันก็ถือว่าเป็นงานที่ใช้การได้ดี ในกรณีที่คนเยอะแต่ตกลงเวลากันไม่ได้ค่อยได้ แต่ข้อเสียคือนอกเหนือจากการเลือกตอบตามโพลเรื่องนัดแล้ว ฟังก์ชันการทำงานและการเตือนจะไม่สามารถใช้งานต่อได้ เราต้องไป adapt ใช้งานเอาเอง แต่แน่นอนทั้งหมดแก้ได้ด้วยการจ่ายเงิน ถ้าซื้อแบบพรีเมียมก็สามารถใช้งานได้ฟังก์ชันอื่นได้ ใครอยากรู้ลองเข้าไปดูรายละเอียดได้ในเว็บไซต์นี้
ทุกการเริ่มต้นใหม่ เป็นจังหวะดีที่เราจะสร้างเงื่อนไขในการเริ่มต้นทำอะไรใหม่ ๆ ให้กับตัวเองบ้าง ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีเรื่องที่ต้องการปรับปรุงหรือเริ่มต้นทำแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่เราอยากแนะนำให้ทุกคนทำ และสามารถทำด้วยกันได้ เป็นการเริ่มต้นที่สำคัญก่อนจะก้าวไปข้างหน้าก็คือการ ‘Be Optimistic’ หรือมองโลกในแง่ดี Mindset สำคัญที่จะช่วยปลดปล่อยศักยภาพทุกอย่างให้ออกมาได้เต็มที่กว่าเดิม พูดโคตรง่าย แต่ทำโคตรยาก ใช่แล้วครับ พูดมันง่าย ยิ่งเมื่อเราดูปัจจัยรอบด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ สงคราม การงาน มลภาวะในอากาศ หรือเรื่องส่วนตัวของแต่ละท่าน มันอาจจะดูขุ่นมัวจนไม่รู้จะมองโลกในแง่ดีไหวได้ยังไง แต่แม้จะยากก็คุ้มที่จะพยายามนะครับ เพราะมีผลงานวิจัยมากมายที่บอกว่า การเป็นคนมองโลกในแง่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพองค์รวมมากกว่าที่เราคิด เช่น ช่วยลดการเกิดโรคหัวใจลงถึง 30%, ลดโอกาสการเกิดเส้นเลือดตีบ และช่วยให้ชีวิตยืนยาวกว่าคนมองโลกในแง่ร้าย ดังนั้นพวกเรามาเริ่มเป็นคน Optimistic ไปพร้อมกันนี่แหละ จะได้สบายใจ และอยู่ด้วยกันไปนาน ๆ We can be an optimistic person in a negative world การมองโลกในแง่ดีเป็นทางเลือกที่เราสร้างได้ พวกเราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ชีวิตอยู่ไปแบบเดิม ๆ ในโลกที่ดูมืดมน คิดอะไรก็เป็นเรื่องเลวร้าย หรือคุณจะตัดสินใจลุกออกมาจากจุดนั้น
เพราะการทำงานกินเวลามากถึง 1 ใน 3 ของวัน ผู้ชายเราจึงต้องใช้เวลาทำงานแทบทุกวินาทีให้คุ้มค่ามากที่สุด แต่คงต้องยอมรับว่ามีหลายปัจจัยในออฟฟิศที่บ่อนทำลายการทำงานที่เป็นระบบระเบียบของเราจนพังไม่เป็นท่า หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้นเรื่อง ‘ความเป็นส่วนตัว’ ที่หนุ่ม ๆ ถูกรุกล้ำจากเพื่อนร่วมงานโดยที่พวกเขาตั้งใจหรือไม่ก็ตาม สาเหตุที่ทำให้คนในออฟฟิศยุคนี้ไม่ค่อยเคารพพื้นที่ส่วนตัวของกันและกัน อาจเป็นเพราะปัจจุบันวัฒนธรรมการทำงานขององค์กรที่เน้นการพูดคุยและแชร์ไอเดีย จนทำให้ใครหลายคนหลงลืมไปว่าความเป็นส่วนตัวก็ยังเป็นเรื่องที่สำคัญอยู่ เมื่อเราเริ่มเคยชินกับวัฒนธรรมการทำงานแบบนี้ จนอาจหลงลืมเรื่องการไม่ละเมิดสิทธิต่อเพื่อนร่วมงานลดน้อยลงไปด้วย แถมออฟฟิศหลายแห่งก็ออกแบบให้เปิดโล่งและไม่ได้แบ่งสัดส่วนที่แน่ชัด หวังจะสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีและช่วยให้คนในออฟฟิศปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น แต่ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำลายความเป็นส่วนตัวอย่างเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน นี่คือ 3 เหตุผลดี ๆ ที่คุณยังต้องการความเป็นส่วนตัวในที่ทำงาน (ต่อให้ไม่ได้แอบทำงานนอกหรือมีความลับอะไรก็ตาม) เพื่อความคิดสร้างสรรค์ ต้องบอกว่าความเป็นส่วนตัวจำเป็นอย่างมากต่อความคิดสร้างสรรค์ ลองจินตนาการภาพตอนที่คุณนั่งคิดงานเงียบ ๆ คนเดียว กับตอนที่นั่งคิดงานท่ามกลางเสียงพูดคุยจ้อกแจ้กจอแจ มันคงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แม้การทำงานร่วมกันจะไม่สามารถหนีจากการระดมความคิดเป็นหมู่คณะได้ แต่เมื่อใดที่คุณได้ครุ่นคิดบางเรื่องเงียบ ๆ คนเดียว สมองซีกขวาที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของคุณคงได้ทำงานได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีสิ่งเร้าใด ๆ มารบกวน มีสมาธิและจดจ่ออยู่กับสิ่งตรงหน้ามากขึ้น นอกจากความเป็นส่วนตัวจะเอื้อประโยชน์ต่อความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังทำให้เรามีสมาธิและจดจ่ออยู่กับงานที่ทำมากขึ้นอีกด้วย เราเชื่อว่าการทำงานโดยไม่มีใครมาคอยขัดจังหวะทุก ๆ 5 นาที หรือใส่หูฟังทำงานแบบไม่สนใจบทสนทนาฟุ่มเฟือยของเพื่อนร่วมงาน อาจทำให้หนุ่ม ๆ ทำงานเสร็จรวดเร็วและรอบคอบกว่าเดิมก็เป็นได้ อยากมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของบริษัท การที่หนุ่ม ๆ ปกป้องความเป็นส่วนตัวได้และไม่ถูกรบกวนเวลาทำงาน
เลขบนปฏิทินคือตัวเลขสมมติ ความแก่ชราคือเรื่องจริง และการหายใจทิ้งมันเป็นเรื่องน่าเจ็บปวดไปหน่อย ดังนั้น พอเริ่มต้นปีทีไร เราทุกคนจะรู้สึกว่า มันต้องเปลี่ยนอะไรสักอย่างในชีวิตบ้าง ไม่อยากเป็นเหมือนปีที่แล้ว พรุ่งนี้มันต้องดีขึ้นกว่าเมื่อวาน พร้อมอินโทรเพลงของพี่ป้าง “ฉันต้องทำ ทำอะไรสักอย่างแล้ว…” จากนั้นเราก็จะเริ่มจรดปากกาไล่เขียนว่า ปีนี้อยากเปลี่ยนอะไรบ้าง แน่นอนว่าหนึ่งใน Top List เรื่องที่อยากเปลี่ยนก็ไม่พ้นเรื่อง “งาน” ใครที่คิดเรื่องนี้ไม่ต้องคิดว่าตัวเองประหลาดที่อยาก เพราะมันเป็นปรากฏการณ์ที่คนทำงานอีกซีกโลกเขาก็ให้ความสนใจ อย่างล่าสุด ผลสำรวจคนทำงานชาวอเมริกันจาก Fiverr และ YouGov เผยว่า 6 ใน 10 ของคนทำงานอยากเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานในปี 2020 ข้อมูลที่น่าสนใจจากผลวิจัยประกอบด้วยเรื่องประเด็นหลัก ๆ เหล่านี้ คนทำงานอายุน้อยมองหาการเติบโตกับความเป็นมืออาชีพมากที่สุด มากกว่า 67% ของชาวมิลเลเนียลอยากได้ความแตกต่างเพิ่มจากวันนี้ ผู้ชายมีแนวโน้มต้องการความเปลี่ยนแปลงด้านหน้าที่การงานมากกว่าผู้หญิง แต่ก่อนคุณจะติดกับดักความเปลี่ยนแปลง ที่มันพยายามดันให้คุณเดินหน้าไปแบบงง ๆ อยากเปลี่ยนแปลง อยากออกจากงาน อยากไปสัมผัสชีวิตใหม่ ๆ ในการทำงาน เราอยากให้คุณถามตัวเองด้วย 5 คำถามเหล่านี้ก่อนตัดสินใจยื่นซองขาวแล้วไปนั่งเสียใจทีหลัง แพสชันของคุณคืออะไร อะไรที่สำคัญที่สุดในชีวิตการทำงาน คำถามเหมือนง่าย แต่บางคนก็ยังตอบไม่ได้ด้วยซ้ำว่าทำงานวันนี้ทำไปเพื่ออะไร
ช่วงเทศกาลปีใหม่คงมีผู้ชายหลายคนตั้ง New Year’s Resolution เอาไว้ ว่าอยากทำอะไรในปีหน้า จะเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างไร และใช้ชีวิตไปในทิศทางใดเพื่อให้เป้าหมายที่ตั้งไว้สำเร็จลุล่วง ผู้ชายบางคนอยากทำงานให้หนักขึ้น บางคนอยากมีเวลาว่างมากกว่าเดิม บ้างอยากหางานเสริมทำเพื่อให้เลิกนิสัยชักหน้าไม่ถึงหลังที่เป็นมาตลอดทั้งปี แต่ผ่านไปปีแล้วปีเล่า New Year’s Resolution ของใครหลายคนก็ยังไม่เคยสำเร็จสักที วันนี้ UNLOCKMEN เลยอยากแนะนำ 5 แอปพลิเคชันสุดเจ๋งที่จะช่วยให้การใช้ชีวิตในปี 2020 ของคุณมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล เพื่อให้เป้าหมายและความฝันที่หนุ่ม ๆ ตั้งไว้กลายเป็นความจริงขึ้นมา Microsoft To Do แอปพลิเคชันที่จะเข้ามาช่วยหนุ่ม ๆ วางแผนกิจวัตรที่ต้องทำในแต่ละวันให้เป็นระบบระเบียบยิ่งขึ้น ผู้ใช้สามารถสร้างรายการได้ทั้งในหมวด Work, Personal และหมวดอื่น ๆ พร้อมกำหนดวันที่ การแจ้งเตือน และแยกย่อยรายการใหญ่ให้เล็กลงเป็นหลาย ๆ รายการได้ นอกจากนี้ Microsoft To Do ยังมีฟีเจอร์ online groups ช่วยให้คุณแบ่งปันข้อมูลหรือตารางนัดหมายกับเพื่อนที่ทำงานหรือคนในครอบครัว และสลับไปมาระหว่างบัญชีที่ทำงานและบัญชีส่วนตัวได้อย่างสะดวกสบาย แถมคุณยังปรับแต่งเติมสีสันของรายการต่าง ๆ รวมทั้งสีพื้นหลังให้ดูไม่น่าเบื่อและมีชีวิตชีวายิ่งขึ้นได้อีกด้วย Microsoft
“คนเก่ง” คือประเภทคนที่ทุกองค์กรล้วนต้องการตัว เพราะเชื่อว่าคนเก่งนั้นจะเข้ามาเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แต่เมื่อได้คนเก่งระดับพระกาฬมาร่วมงานกับองค์กรแล้วกลับไม่เป็นอย่างที่หวังเสมอไป เพราะคนเก่งนั้นอาจหาหาได้ แต่เพราะเก่งอยู่คนเดียวอาจยังไม่พอ แล้วเก่งแบบไหนถึงจะเรียกว่าเก่งแบบมีประสิทธิภาพ? เก่งแบบไหนถึงจะไม่เก่งอยู่ลำพัง แต่เก่งแล้วเติบโตไปพร้อมกับทีมและองค์กรได้? มาสำรวจคุณสมบัติคนเก่งในทีมของเรา หรือสำตัวเอง (หากเราคิดว่าเราเก่ง) ว่าเก่งอย่างมีประสิทธิภาพแล้วหรือไม่? ในวันที่สมรภูมิการทำงานและการแข่งขันทางธุรกิจดุเดือดแบบนี้ แค่เก่งคงไม่พอ และเก่งอยู่คนเดียวก็คงไม่รอด เก่งแล้วต้องสื่อสารรู้เรื่อง การสื่อสารถือเป็นสกิลสำคัญที่เชื่อมโยงคนทำงานไว้ด้วยกัน เพียงเสี้ยวเดียวที่สื่อสารผิดพลาดไป อาจทำให้อะไร ๆ ผิดแผนไปไกลโข ดังนั้นการได้คนเก่งมาทำงานกับองค์กรถือเป็นโอกาสอันดีไปครึ่งหนึ่งแล้ว แต่ถ้าผสมสกิลการสื่อสารเข้าไปจะยิ่งเก่งอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะมันไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าคนเก่งนั้นสามารถทำงานตัวได้เก่งกาจ แต่ไม่อาจอธิบายหรือสื่อสาร ส่งต่อให้กับทุกคนในองค์กรได้ โดยเฉพาะคนเก่งเฉพาะด้าน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่อาจมีคำศัพท์หรือความรู้เฉพาะแบบ ยิ่งต้องสื่อสารให้เข้าใจง่าย และอธิบายให้คนอื่นสามารถไปทำงานต่อหรือทำงานร่วมกันได้จริง สำหรับหนุ่ม ๆ ที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองพูดรู้เรื่องมากน้อยแค่ไหน ลองศึกษาวิธีง่าย ๆ ได้ที่ เก่งและพูดรู้เรื่อง “5 วิธีพูดเรื่องยากให้คนอื่นเข้าใจง่าย”ไม่ใช่อธิบายเข้าใจอยู่คนเดียว เก่งแล้วต้องบริหารจัดการเวลาให้อยู่หมัด เพราะโลกทุนนิยมนั้นโหดร้าย ปริมาณงานไม่เพียงแต่ต้องมีคุณภาพดีเท่านั้น แต่ต้องแข่งขันกับเวลาอย่างบ้าคลั่ง โดยเฉพาะในยุคที่อินเทอร์เน็ตคือส่วนหนึ่งของชีวิต อะไร ๆ ก็ดูจะไหลไปเร็วเสมอ ทั้งในแง่การทำงาน และในแง่การปล่อยตัวปล่อยใจให้ไหลไปกับความบันเทิงผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ต ดังนั้น Time Management ถือเป็นอีกสกิลสำคัญแห่งทศวรรษ ที่ใครเรียนรู้ที่จะบริหารจัดการตัวเองได้มีประสิทธิภาพกว่าก็สามารถเก่งได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าด้วยเช่นกัน
แม้หลายคนจะใช้วันหยุดเพื่อนนอนตายเพื่อชาร์จแบตตัวเอง แต่บางคนข่มใจไว้ไม่ไหว ติดงาน ก็กระสับกระส่ายเพราะไม่ชอบทิ้งเวลาว่างไว้เฉย ๆ หรือมีเวลาว่างเมื่อไหร่ก็อยากใช้ให้คุ้มค่าเพื่อพัฒนาตัวเองเพื่อให้อนาคตหน้าที่การงานสดใส วันนี้เราจึงอยากแบ่งปัน 3 วิธีการพัฒนาสายงานตัวเองช่วงวันหยุดเพื่อคนอยากใช้เวลาว่างให้คุ้มที่ได้จาก Caroline Castrillon ผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการที่เป็นนักเขียนของ Forbes หยุดยาวนี้ใครว่างนั่งจิ้มมือถือเฉย ๆ บอกเลยว่าสามารถแบ่งเวลามาใช้พัฒนาตัวเองตามรอยนี้ ไม่ผิดหวังแน่นอน การอัปเดตโพรไฟล์งาน เชื่อว่าคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่าการอัปเดตโพรไฟล์ส่วนตัวใน Resume หมายถึงกำลังหางานใหม่ แต่เราอยากให้มองว่าทุกวันนี้พนักงานทุกคนเหมือนแบรนด์ เราต้องรู้จักพรีเซนต์ตัวเองเพื่อสร้างคุณค่า เพราะถ้าเราไม่อัปเดตข้อมูลประสบการณ์หรือผลงานเราให้โลกเห็นเลย โอกาสที่จะทำให้เราโดดเด่นกว่าคนอื่นมักมาในรูปแบบการตั้งรับ ทั้งที่จริง ๆ เราสามารถรุกได้ก่อนเพื่อให้บริษัทที่กำลังตามหาคนคุณสมบัติเดียวกับเราติดต่อมา เช่น การสร้างประวัติใน Linkedin เพราะเป็นแพลตฟอร์ม Resume ระดับโลกที่ทำให้คุณมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับบริษัทข้ามชาติ เป็นต้น แค่แบ่งเวลา 30 นาทีวันหยุดหรือน้อยกว่านั้นมาเข้าเว็บไซต์เพื่ออัปเดต Resume ให้เป็นปัจจุบันตามเว็บไซต์ออนไลน์ หรือถ้าให้ดีใครที่ยังไม่มี Linkedin ลองเข้าไปสมัครดูได้ หมายเหตุ เคล็ดลับการอัปเดต Resume ให้มีประสิทธิภาพควรระบุคำอธิบายที่กระชับสั้นได้ใจความ ตรงตามคุณสมบัติไว้ด้วย เพราะบริษัทที่กำลังหาคนมีศักยภาพเหมาะสมอาจจะไม่มีเวลาอ่านข้อความโดยละเอียด หรือหลายแห่งเริ่มใช้ AI สำหรับสแกนผู้สมัครแล้ว ดังนั้นอะไรที่เยิ่นเย้อเข้าใจยากมักจะถูกปัดตกไปก่อน ลงทุนกับการสร้างเน็ตเวิร์กแบบธรรมชาติ หยุดทั้งที
หลังจากทำงานหลังขดหลังแข็งมาตลอด 11 เดือน ในที่สุดปฏิทินก็วนมาถึงเดือนธันวาคม (สักที) นอกจากเดือนนี้จะเป็นเดือนตัดสินว่าผลกำไรที่ทำมาตลอดหนึ่งปีของบริษัทคุณเป็นอย่างไร ธันวาคมยังเป็นเดือนสุดท้ายก่อนจะก้าวสู่ศักราชใหม่แห่งปี 2020 ตลอดเกือบปีที่ผ่านมาคงต้องยอมรับว่าทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเรานั้นก้าวหน้า พัฒนา และเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แม้แต่วิธีการทำงานที่คุ้นชินของปีนี้ ก็อาจเปลี่ยนไปสู่รูปแบบใหม่เพื่อให้สอดรับกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีล้ำสมัยของปีหน้าก็ได้ หนุ่มมนุษย์เงินเดือนอย่างเราจึงต้องเรียนรู้ เตรียมรับมือ และปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในปี 2020 โปรดจำให้ขึ้นใจ เพราะนี่คือ 3 แนวโน้มการทำงานที่จะเปลี่ยนไปในปีหน้า! ระบบเศรษฐกิจเสรีและความยืดหยุ่นในการทำงาน ในปีที่ผ่านมานี้เราเห็นการเติบโตของระบบเศรษฐกิจเสรี หรือ Gig Economy อย่างต่อเนื่อง ระบบเศรษฐกิจประเภทนี้มุ่งเน้นไปที่การทำงานแบบโปรเจกต์ระยะสั้นและถือเป็นตลาดที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้บริการโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น Airbnb, Alibaba หรือแม้แต่ Uber Gig Economy ไม่เพียงช่วยให้บริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งด้านทรัพยากรและเวลา หากยังช่วยให้นายจ้างและผู้รับเหมาอิสระได้ประโยชน์ไปเต็ม ๆ แถมไลฟ์สไตล์การทำงานที่ยืดหยุ่นของพนักงานยังช่วยเสริม Work-life Balance ให้พวกเขาทำงานอย่างมีความสุขอีกด้วย ผลสำรวจจาก Global Workplace Analytics และ FlexJobs เผยว่าระบบเศรษฐกิจเสรีและการทำงานที่ยืดหยุ่น ส่งผลให้การทำงานแบบระยะไกลมีอัตราการเติบโตสูงถึง 91% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และในปี