ในวันที่เศรษฐกิจไม่คล่องตัวอย่างใจฝัน เงินไม่ได้ลอยเข้ากระเป๋าผู้ชายอย่างเราง่าย ๆ การทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำเพื่อสร้างรายได้ให้ตัวเองและคนที่เรารักจึงเป็นคำตอบแรก ๆ ที่เราต้องทำ ยิ่งงานเยอะ ก็ยิ่งได้เงินมาก แต่สิ่งที่นับวันยิ่งลดน้อยลง ๆ จนน่าใจหายคือ “เวลาพัก” แต่จะให้ลดเวลาทำงานเพื่อมานอนยาว ๆ ก็อาจไม่ตอบโจทย์ เพราะชีวิตตอนนี้ เวลาเป็นเงินเป็นทองให้หยุดหาเงินก็คล้ายหยุดหายใจ UNLOCKMEN จึงชวนทุกคนมาโกงความตาย ทำงานสู้ฟัด พร้อม ๆ กับหนทางนอนน้อยแต่ได้มากในวันที่เราทุกคนต้องฝ่าฟันทุกวิกฤตนี้ไปด้วยกัน เพราะนอนมาก ไม่สำคัญเท่า “นอนให้มีคุณภาพ” เหตุผลอย่างหนึ่งที่เรามักบ่นกันเสมอว่าช่วงนี้ไม่ค่อยได้นอนเลย หรือบอกว่านอนน้อย ๆ เป็นประจำ นั่นเพราะเรามีมาตรฐานการนอนที่บอกต่อ ๆ กันมา ฟังตาม ๆ กันมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กว่า “เราควรนอนให้ได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง” เราจึงเข้าใจว่าเมื่อไรที่เรานอนน้อยกว่า 8 ชั่วโมงนั้นหมายความว่าเรานอนไม่พอ เรานอนน้อย แต่ในความเป็นจริง 8 ชั่วโมงนั้นคือเวลามาตรฐานโดยเฉลี่ย แต่ไม่ใช่กฎตายตัวเพราะมนุษย์แต่ละคน แต่ละช่วงวัยนั้นมีช่วงเวลาการนอนที่พอเหมาะแตกต่างกันไป โดยเฉพาะเมื่อบทความชื่อ Sleep quality versus sleep quantity: Relationships
“บ้านผมอยู่ฝั่งธนฯ แต่ออฟฟิศผมอยู่รังสิต” หรือ “บ้านผมอยู่รังสิตส่วนที่ทำงานผมอยู่เพลินจิต” ประโยคเหล่านี้ไม่ใช่การพูดเกินจริงเพราะมันคือชีวิตประจำวันของใครหลายคนที่ต้องฝ่าฝุ่น ฝ่าฝน ฝ่าฟันการคมนาคมแสนโหดยามเช้า 5 วันติดกันเพื่อมาทำงานที่เรารัก แรก ๆ ก็คิดว่าไหว แต่รู้ตัวอีกที เราก็ได้ปัญหาสุขภาพมาเป็นของแถมจากการเดินทาง แถมยังมาแบบโหมกระหน่ำจนตั้งรับแทบไม่ทันอีกด้วย เพราะใคร ๆ ต่างต้องเดินทางไปทำงานไม่ว่าใกล้หรือไกล UNLOCKMEN จึงค้นหางานวิจัยเกี่ยวกับการทำงานและการเดินทางมาให้ทุกคนได้อ่านกัน เพื่อประเมินตัวเองว่าการใช้ชีวิตของตัวเองนั้นเข้าข่ายน่าเป็นห่วงหรือไม่? มีงานวิจัยที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยสตอกโฮล์มร่วมกับสถาบันสุขภาพและสวัสดิการของประเทศฟินแลนด์ (Finnish Institute for Health and Welfare) กล่าวว่าเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่ทำงานหนักและออฟฟิศอยู่ไกลจากบ้านมาก ๆ มักเจอกับความเครียดมากกว่าคนที่บ้านอยู่ใกล้กับที่ทำงาน โดยทีมวิจัยได้สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มวัยทำงานจำนวน 22,000 คน เป็นเวลาสองครั้งตั้งแต่ปี 2008-2018 กลุ่มตัวอย่างถูกถามเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ วิธีการเดินทางไปทำงาน อาหารการกินแต่ละวัน การออกกำลังกาย การนอนหลับ รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์และความถี่สำหรับคนที่สูบบุหรี่ จนได้ผลลัพธ์น่าสนใจว่ากลุ่มพนักงานออฟฟิศไกลบ้านหรือคนที่ต้องเดินทางหลายต่อ เช่น เปลี่ยนจากรถไฟฟ้าเป็นรถเมล์ หรือเปลี่ยนจากรถไฟฟ้าเป็นต่อวินมอเตอร์ไซค์ กลุ่มตัวอย่างประเภทนี้จะอ่อนเพลียหมดเรี่ยวหมดแรงมากกว่าคนที่บ้านอยู่ใกล้ออฟฟิศหรือเดินทางเพียงต่อเดียว ความกระฉับกระเฉงหลังตื่นนอนถูกใช้ไประหว่างทาง บนรถไฟฟ้าแออัดหรือรถเมล์ร้อนระอุที่จอดนิ่งสนิทบนท้องถนน การเดินทางนั้นดูดพลังมากกว่าที่คิด รู้ตัวอีกทีเราก็ใช้เวลาอยู่บนรถหรือถนนนานเกือบ 5 ชั่วโมง (ขาไปและขากลับรวมกัน) นอกจากนี้พอถึงออฟฟิศหลังจากสู้รบกับระบบคมนาคม กลุ่มตัวอย่างที่เป็นมนุษย์เงินเดือนบ้านไกลจะหมดเรี่ยวแรงส่งผลให้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
“คอนเนกชัน” คืออีกกุญแจหนึ่งที่จะไขบานตูแห่งโอกาสใหม่ ๆ ให้ชีวิตลูกผู้ชายอย่างเรา คอนเนกชันไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีความสามารถ แต่มันหมายถึงการที่เราทำความรู้จักคนที่เหมาะสม ผูกมิตรภาพและใช้ใจแลกใจจนเกิดเป็น “คอนเนกชันที่ดี” ซึ่งจะยิ่งเพิ่มโอกาสให้ความสามารถและผลงานของเราไปอยู่ถูกที่ถูกทางได้สะดวกขึ้น อย่างไรก็ตามคอนเนกชันไม่ได้ลอยมาจากอากาศ การรู้จักสร้างคอนเนกชันให้เหมาะสมก็ถือเป็นอีกความสามารถหนึ่งที่เราต้องเรียนรู้และฝึกฝน เพื่อให้ทุกปาร์ตี้ ทุกการสังสรรค์ หรือทุกงานเลี้ยงที่เต็มไปด้วยคอนเนกชันให้เก็บเกี่ยว เราจะได้สร้างบทสนทนาได้ลื่นไหล วางตัวได้ราบรื่น และเข้ากับผู้อื่นได้อย่างเป็นธรรมชาติที่สุด “ตรงกลาง” คือตำแหน่งสำคัญ หลายคนคิดว่าการสร้างคอนเนกชันจากบทสนทนานั้นมีแค่สกิลการพูดเท่านั้นที่สำคัญ จนหลงลืมไปว่า “ตำแหน่งที่เราเลือกอยู่” ในงานสังสรรค์หรืองานทางธุรกิจนั้น ๆ ก็สำคัญและมีความหมายไม่แพ้กัน เราเข้าใจดีว่าการไปในที่ที่เราไม่รู้จักใครเลย และหลาย ๆ คนก็มากันเป็นกลุ่มหรือดูจะรู้จักกันอยู่ก่อนแล้ว การเลือกเดินเข้าไปที่มุมห้อง แล้วยืนมองใครต่อใครจากมุมนั้นมันให้ความรู้สึกอุ่นใจกว่า แต่ในความอุ่นใจนั้นก็เป็นการตัดโอกาสของตัวเราเองเช่นกัน เพราะในปาร์ตี้ที่ต่างคนต่างต้องการหาคอนเนกชันและคนส่วนใหญ่อาจแปลกหน้าต่อกันนั้น ไม่มีใครเดินข้ามห้องจากมุมหนึ่งไปมุมหนึ่ง (โดยเฉพาะเมื่อสถานที่นั้นกว้างใหญ่) เพื่อหาคนที่อยากคุยโดยเฉพาะ แต่ผู้คนมักเลือกคนที่อยู่ตรงหน้าพวกเขา คนที่อยู่ไม่ไกลจากพวกเขา หรือคนที่มองเห็นได้ง่าย ไม่ต้องสอดส่ายสายตาหาให้เหนื่อย การเลือกยืนตรงกลางห้องจึงถือเป็นตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่ไม่ว่าใครผ่านไปผ่านมา หรือมองมาจากมุมไหนก็เห็นและง่ายต่อการที่ทั้งเราและเขาจะเริ่มต้นทำความรู้จักกัน ซึ่งมีประสิทธิภาพกว่าการไปยืนอยู่มุมห้องรอใครเดินเข้ามา และจบลงด้วยการยืนไถมือถืออย่างเหงา ๆ จนจบงาน ถ้าไม่รู้จะเริ่มบทสนทนาแบบไหนให้ “ชื่นชม” คนอื่น บางครั้งมันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะเดินดุ่ม ๆ เข้าไปเริ่มต้นบทสนทนากับคนแปลกหน้า หรือแม้แต่การยืนกลางห้องแล้ว แต่ถ้าไม่มีใครมี Eye Contact
คงต้องยอมรับว่ากว่าที่คนเราจะประสบความสำเร็จได้นั้นคงไม่ง่ายแบบในละคร และชีวิตการทำงานก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบอย่างที่เราคิดเสมอไป หากมากไปด้วยขวากหนามและอุปสรรคแสนท้าทายที่กำลังทดสอบตัวคุณอยู่ อีกหนึ่งบททดสอบในชีวิตการทำงานคงหนีไม่พ้นโปรเจกต์ยาก ๆ ที่ไม่มีเพื่อนร่วมงานหน้าไหนอยากจะรับมาทำ แต่ท่านหัวหน้าสุดที่รักดันโยนโปรเจกต์นี้มาให้คุณ ความรู้สึกแรกอาจประหม่าเล็กน้อยและกระวนกระวายจนทำอะไรไม่ถูก แต่ถ้านั่งนึกดูดี ๆ แล้วนี่ถือเป็นโอกาสสำคัญในเส้นทางความสำเร็จของคุณเลยด้วยซ้ำ วันนี้ UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำ 4 เทคนิคที่ช่วยให้หนุ่ม ๆ พิชิตโปรเจกต์ยาก ๆ ได้ราวกับปอกกล้วยเข้าปาก อย่าเพิ่งดูถูกตัวเองไป เพราะไม่มีอะไรที่ผู้ชายอย่างคุณทำไม่ได้! ค้นหาข้อจำกัด จริงอยู่ที่การจะคิดงานใหญ่ต้องมีใจนิ่งสงบ แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือคุณต้องค้นหาข้อจำกัดของโปรเจกต์นั้น ๆ เสียก่อน อย่างเช่นถ้าคุณต้องทำโปรเจกต์ใหญ่ ใช้คนจำนวนมาก ใช้เวลามาก แต่มีงบประมาณจำกัด คุณควรทำอย่างไร? การค้นหาข้อจำกัดจะทำให้คุณเห็นภาพใหญ่ขึ้นว่าทรัพยากรหรือเงินทุนที่มี สามารถนำไปทำอะไรได้บ้างและทำอะไรไม่ได้ วิธีนี้จะช่วยให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงจุด และไม่เปลืองพลังงานที่ต้องเสียไปกับการคิดอะไรที่ทำไม่ได้ แถมยังเหลือเวลาให้คุณไปทุ่มเทพลังกายพลังใจทั้งหมดกับงานทำได้จริง กำหนดระยะเวลาการทำงานอย่างเป็นระบบ การทำโปรเจกต์ยาก ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี นอกจากต้องอาศัยพลังงานมหาศาลแล้ว สิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนให้กำหนดการต่าง ๆ ราบรื่นได้คือการกำหนดระยะเวลาทำงานที่เป็นระบบ สมมติถ้าโปรเจ็กต์นี้มีเวลาให้คุณทำเพียงหกเดือน หนุ่ม ๆ ควรคิดและวางแผนว่าแต่ละเดือนจะทำอะไร และงานยิบย่อยต่าง ๆ ควรทำให้เสร็จภายในวันไหน กลับกันถ้าไม่มีเดดไลน์หรือการวางแผนงานที่แน่ชัด อาจมีแนวโน้มที่คุณจะต้องทำงานด่วนงานร้อน
ในยุคที่งานไม่ได้หาง่าย ๆ แถมหลายองค์กรยังปลดคนออกเพื่อความคล่องตัว การสมัครงานแล้วโดนปฏิเสธจึงอาจเกิดขึ้นได้กับใครหลาย ๆ คน บางคนโดนปฏิเสธเพราะคุณสมบัติไม่ถึง เพราะตำแหน่งในองค์กรไม่ว่าง หรือเพราะความต้องการไม่ตรงกัน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการปฏิเสธที่ผู้ชายอย่างเราเข้าใจได้ แต่เมื่อโดนปฏิเสธไม่รับเข้าทำงานด้วยเหตุผล “คุณดีเกินไป” หรือ OVERQUALIFIED เรามักจะงงเป็นไก่ตาแตก คิดว่าจะมีแค่คนรักเท่านั้นที่บอกปฏิเสธเราด้วยเหตุผลนี้ อ้าว แต่ที่ทำงานไม่ต้องการคนดี ๆ หรอกเหรอ? ดีเกินไปมันเกินไปอย่างไร? ความหมายที่แท้จริงที่ซ่อนอยู่ใต้คำว่า OVERQUALIFIED คืออะไรกันแน่ UNLOCKMEN พาสำรวจความหมายที่ซ่อนอยู่ใต้คำว่า “ดีเกินไป” ที่องค์กรใช้ปฏิเสธไม่รับเราเข้าทำงาน ไม่ได้ดีเกินไป แต่เราจ่ายคุณไม่ไหว บางทีคำว่าดีเกินไป หรือ OVERQUALIFIED นั้นไม่ได้หมายความว่าเรามีคุณสมบัติที่สมบูรณ์แบบเกินที่เขาต้องการแต่อย่างใด แต่อาจหมายความว่าคุณสมบัติเรานั้นก็ตรงกับประกาศรับสมัครของตำแหน่งนั้นทุกประการ แต่เขาไม่สามารถจ่ายค่าคุณสมบัติที่เราเรียกไปได้ไหว แล้วจริง ๆ เขาต้องการอะไร? เขาต้องการคนที่คุณสมบัติเท่านี้แต่เรียกค่าตอบแทนต่ำกว่าเรา รวมถึงยินดีรับคนที่คุณสมบัติไม่ถึง (แต่บอกว่าจะทำตามคุณสมบัตินั้นให้ถึง) และเรียกค่าตอบแทนต่ำกว่า ดังนั้นไม่ต้องมัวกังวลว่าเราดีเกินไป หรือสิ่งที่เรามีมันแย่ แต่แค่ความต้องการเขากับเราเรื่องค่าตอบแทนต่อคุณสมบัติที่เหมาะสมนั้นไม่ตรงกัน แม้ประสบการณ์และการเรียนรู้จะสำคัญกว่าค่าตอบแทน แต่การทำงานในองค์กรที่ไม่เห็นคุณค่าของความสามารถเรา ก็เป็นสิ่งที่ไม่คุ้มเสี่ยง เพราะหมายความว่าทัศนคติขององค์กรอาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับความสามารถคนทำงานมากพอ และนั่นอาจทำให้คุณทุกข์ทรมานมากกว่ามีความสุข คุณดีพอนะ แต่เรากลัวว่าคุณจะจากเราไปไว คำว่าดีเกินไปจากบางองค์กร คือการบอกว่าเรานี่แหละดีมาก เหมาะสมที่สุด
โตขึ้นเราต้องโหดร้าย ทำงานเราต้องเด็ดขาด เพราะสถานการณ์ที่ทำตัวรอมชอม รองบ่อนเกินไปมักจะทำให้เราโดนงัดข้อจากคนอื่นเสมอ คนส่วนใหญ่เลยคิดว่า “ความรู้สึกเห็นใจ” คือตัวปัญหาและเป็นอุปสรรคที่ควรตัดทิ้ง หรืออีกเหตุผลที่เราไม่สนใจคนอื่นนักบางครั้งก็ไม่มีอะไรมากกว่า “กูมาทำงาน เอาเงินเดือน ไม่ได้มาหาเพื่อน หาสังคม” สักหน่อย ความรู้สึกเห็นใจลูกค้า เจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงานบ้างมันช่างดูเลียคนและเสียเหลี่ยม หันไปรับผิดชอบหน้าที่การงานของตัวเองเท่านั้นคือคำตอบที่ดีกว่า แต่มีงานวิจัยเสนอความโปรดักทีฟอีกทางว่า การมีทักษะ “ใส่ใจคนรอบข้าง” มันช่วยให้งานของเราดีขึ้นจริง ๆ ผลวิจัยจาก Washington State University เผยว่าจากการทดลองกับกลุ่มนักศึกษาจาก 5 ประเทศที่แสดงออกเชิง Positive แบบ Extrovert แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น ช่วงท้ายของการทดลองกลับพบว่าคนกลุ่มนี้มีความสุขเพิ่มขึ้นจริง ๆ และแน่นอนว่าเมื่อความสุขเพิ่มขึ้นการใช้ชีวิตก็ดีขึ้นตามลำดับ นอกจากผลการวิจัยด้านบน Rebekah Bernard แพทย์สาวคนหนึ่งยังยืนยันเรื่องนี้จากประสบการณ์ส่วนตัวของเธอ จากเดิมที่เธอไม่ค่อยเห็นด้วยกับการรักษาแบบเห็นอกเห็นใจคนไข้นัก เพราะคนไข้ส่วนใหญ่มักจะทำตรงข้ามกับวิธีการรักษา โรคที่พวกเขาเจ็บป่วยโดยมากเกิดจากพฤติกรรมส่วนตัว เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีผลเกี่ยวข้องจากน้ำหนักตัว เป็นต้น แต่หลังจากเธอแสร้งแสดงความห่วงใยใส่ใจในช่วงสั้น ๆ ฟังการเล่าอาการและความรู้สึกของคนไข้ยาว ๆ ทั้งที่รู้แก่ใจว่าต้นเหตุมาจากอะไร เธอพบว่ามันช่วยให้สิ่งต่าง ๆ ราบรื่นกว่า ทั้งกับเรื่องงาน
“ไม่ไหวแล้วโว้ย อยากลาออก” นี่คงเป็นวลียอดฮิตของมนุษย์เงินเดือนหลายคนที่สื่อถึงภาวะสุดจะทนของมนุษย์เงินเดือนอย่างเราได้เป็นอย่างดี เพราะชีวิตการทำงานนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป อีกทั้งไม่ใช่ทุกคนจะพอใจกับงานและเงินเดือนที่ตนมี ‘การลาออก’ จึงเป็นอีกทางเลือกที่ทำให้เราได้ไปเจอสิ่งใหม่ ๆ หนีจากปัญหาและความวุ่นวายที่ไม่ถูกจริต หรืออาจเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ใครหลายคนเติบโตในอาชีพการงานก็ว่าได้ มีเหตุผลมากมายที่ทำให้คนเราตัดสินใจลาออก หนุ่มบางคนลาออกเพราะเจอหัวหน้าห่วยแตก ลาออกเพราะตำแหน่งงานไม่ก้าวหน้า ลาออกเพราะงานที่ทำไม่สมดุลกับเงินที่ได้ ลาออกเพราะเบื่อวัฒนธรรมองค์กรยอดแย่ และคงมีอีกสารพัดเหตุผลที่ทำให้คนอยากออก แต่สิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้สาเหตุของการลาออก คืนคนที่มักบ่นว่า “อยากลาออก” แต่ยังทนทำงานหัวหมุนอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่คนที่ไม่เคยปริปากบ่นสักคำกลับลาออกไปหน้าตาเฉย คุณว่ามันเพราะเป็นอะไร? คนบ่นไม่ออก เรามักจะเจอคนที่ชอบบ่นว่าอยากลาออก แต่ทุกวันนี้ก็ยังเห็นหน้าเพื่อนร่วมงานคนนั้นนั่งทำงานอยู่เหมือนเดิมและไม่มีทีท่าว่าจะย้ายไปไหนด้วย ไม่ใช่ว่าเราดูถูกเจตจำนงอันแรงกล้าที่อยากลาออกของพวกเขา แต่ถ้ามองตามหลักความจริงแล้ว จะมีเหตุผลสักกี่ข้อที่ทำให้คนบ่นอยากลาออกยังทนทำงานต่อ? บ่นเพราะอารมณ์ชั่ววูบ – บางทีการบ่นอาจช่วยระบายความอึดอัดและความทุกข์ทรมานของการทำงานที่นี่ แต่ใช่ว่าพวกเขาจะทนไม่ได้เสียทีเดียว ถามว่าทนได้ไหม ทนได้ แต่ขอบ่นหน่อยสักหน่อยแล้วกัน อยากลาออกจริง ๆ แต่ยังไม่พร้อม – สาเหตุที่ทำให้คนบ่นยังไม่ลาออก คงเพราะพวกเขายังไม่มีงานใหม่รองรับ ยังหางานที่ถูกใจไม่ได้ หรือยังไม่มีความสามารถโดดเด่นมากพอจะไปทำงานในที่ที่ดีกว่า การลาออกโดยที่ยังไม่ได้งานใหม่และต้องรับผิดชอบภาระรายจ่ายแต่ละเดือนอาจเสี่ยงเกินไป ก็เลยขอบ่นสักหน่อยและรอจังหวะที่ใช่ค่อยลาออกอีกที ไม่ได้อยากลาออกจริง ๆ แต่อยากเสนอเงื่อนไขให้ต่อรอง – บางคนที่บ่นตั้งแต่เช้ายันเย็นว่าอยากลาออก อาจไม่ได้คิดจะลาออกจริง ๆ แต่อยากเรียกร้องเงื่อนไขบางอย่างให้ตัวเอง เช่น อยากเพิ่มเงินเดือน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความเครียดกับความวิตกกังวลเป็นอีกสองส่วนผสมของการทำงาน และเป็นสิ่งที่หนุ่มมนุษย์เงินเดือนอย่างเรายากที่จะเลี่ยง แต่ต่อให้ความเครียดสะสมหรือความกังวลถาโถมโจมตีมากขนาดไหน มนุษย์เราก็ฉลาดพอที่จะหาวิธีจัดการกับมันได้เสมอ เชื่อว่าผู้ชายแต่ละคนก็คงมีวิธีคลายเครียดระหว่างการทำงานที่ต่างกัน บางคนชอบผละจากหน้าจอชั่วขณะ แล้วหันไปนั่งคุยกับเพื่อนเรื่องบอลแทน บ้างเดินออกไปสูบบุหรี่หวังเปลี่ยนบรรยากาศและลดความเคร่งเครียดจากงานตรงหน้า แต่กับหนุ่มบางคนเลือกที่จะเดินออกไปชื่นชมต้นไม้ใบหญ้า เปลี่ยนจากแสงสีฟ้าที่คุ้นตาหันไปหาธรรมชาติสีเขียวแทน นอกจากความร่มรื่น สบายตา และร่มเงาที่ช่วยปกป้องเราจากแสงอาทิตย์แล้ว ธรรมชาติยังช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลได้อย่างไม่น่าเชื่อ มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งอ้างว่าพนักงานชาวสหรัฐฯ 34% รู้สึกเครียดและกังวลกับการทำงาน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี และคิดว่าสถิติความเครียดของพนักงานชาวไทยก็คงไม่ต่างไปกว่ากันเท่าไร วันนี้ UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีจัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลในออฟฟิศ ด้วยประโยชน์จากธรรมชาติ นี่คือ 3 วิธีง่าย ๆ ที่อาจช่วยให้คุณมีความสุขกับการทำงานมากขึ้น! จินตนาการถึงธรรมชาติ อาจฟังดูเหมือนคนไม่ปกติ แต่เราอยากให้คุณลองมโนภาพว่าคุณกำลังอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่เงียบสงบ อาจเป็นชายหาดที่มีผู้คนบางตาและมีคลื่นซัดเป็นระลอก บนหุบเขาที่ห้อมล้อมไปด้วยอ้อมกอดของแมกไม้ หรือกลางทะเลที่มีแสงแดดอุ่น ๆ สาดกระทบใบหน้าและเสียงคลื่นเท่านั้นที่ดังก้อง การจินตนาการภาพถึงทิวทัศน์หรือเสียงในสถานการณ์นั้น ๆ จะส่งผลกระทบต่อสมองเช่นเดียวกับการมองเห็นหรือสัมผัสมันจริง ๆ ซึ่งงานวิจัยก็ย้ำว่าการสร้างภาพหรือข้อมูลต่าง ๆ ในหัวผ่านจินตนาการเพียงไม่กี่นาที ช่วยลดความเครียดและวิตกกังวลให้คนทำงานได้ มองหาธรรมชาติรอบตัว การมองหาธรรมชาติเล็ก ๆ รอบตัวเราก็เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ลดความเครียดและความวิตกกังวลได้เหมือนกัน หากย้อนไปตอนเด็ก ๆ ไม่ว่าหนุ่มคนไหนก็คงหลงใหลและเพลิดเพลินกับการจ้องมองฝูงปลาในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
แค่ข้อเดียวในนี้ ก็ไม่ขออยู่ใกล้ด้วยแล้ว
ผู้ชายแต่ละคนก็คงมีพฤติกรรมการทำงานที่แตกต่างกันไป บ้างชอบมาทำงานเช้าแล้วกลับเร็ว เร่งทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วง เพื่อจะได้เหลือเวลาไปทำเรื่องอื่น ๆ ในชีวิต ในทางกลับกันหนุ่มบางคนเป็นสายชิลที่ชอบมาสายหน่อย แต่ก็ทำงานได้เรื่อย ๆ จะอยู่จนดึกดื่นก็ไม่เกี่ยง เพราะชอบทำงานแบบเนิบช้ามากกว่าเร่งด่วน แต่ที่แปลกกว่านั้นคือมีมนุษย์ทำงานบางคนชอบทำงานไป ท่องโลกอินเทอร์เน็ตไป ทำงานได้ไม่ถึงสิบนาทีก็กด new tap แวะไปเล่นเฟซบุ๊กอีกห้านาทีค่อยกลับมาทำงานต่อ ไม่รู้ว่าพวกเขาสมาธิสั้นหรือไม่อยากเคร่งเครียดกับงานมากไปกันแน่ ในปี 2002 ทีมนักวิจัยของ The National University of Singapore สันนิษฐานว่าพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียในที่ทำงาน เป็นปัญหาใหญ่ที่อาจส่งผลให้พนักงานทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หลังจากนั้นก็มีงานวิจัยชิ้นอื่น ๆ สนับสนุนข้อสันนิษฐานดังกล่าวเช่นกัน ทำให้หลากหลายบริษัทพยายามหาแนวทางป้องกันไม่ให้พนักงานใช้อินเทอร์เน็ตหรือโซเชียลมีเดียระหว่างทำงานมากเกินไป ทั้งตรวจสอบการใช้อินเทอร์เน็ตและกำหนดนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ของบริษัท การท่องโลกอินเทอร์เน็ตช่วยจัดการกับความเครียดได้? มีรายงานว่าชาวอเมริกันใช้เวลาประมาณ 10% ของเวลาทำงานไปกับการท่องโลกอินเทอร์เน็ต เล่นโซเชียลมีเดีย ส่งอีเมลหาเพื่อนสนิท และชอปปิงออนไลน์ แต่พฤติกรรมทั้งหมดนี้ไม่ได้สะท้อนว่าพวกเขาขี้เกียจหรือไม่ตั้งใจทำงานแต่อย่างใด เพราะผลสำรวจเผยว่าพฤติกรรมที่ชอบทำงานพลางท่องโลกอินเทอร์เน็ตพลาง ช่วยให้พนักงานรับมือกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่ตึงเครียดและกดดันได้เป็นอย่างดี ซึ่งนั่นอาจทำให้พวกเขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ได้ จากการสำรวจนักศึกษามหาวิทยาลัย 258 คน ที่ทำงานอย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานของพวกเขา พบว่าการใช้อินเทอร์เน็ตในที่ทำงานเพื่อจุดประสงค์ส่วนตัว อาจมีผลเชิงบวกต่อพนักงานและมีผลดีต่อการทำงานอย่างไม่น่าเชื่อ พนักงานที่ใช้เวลาท่องเว็บไซต์และเล่นโซเชียลมีเดียขณะทำงาน ให้ความเห็นว่าพวกเขาพึงพอใจในที่ทำงานและมีแนวโน้มจะลาออกจากงาน