6lur (เบลอ) อัลบั้มที่ 6 ของ Slur เป็นเหมือน ‘สายลม’ ที่พัดพาช่วงเวลา ความรู้สึก ไปพร้อมกับการกักเก็บความทรงจำของคนฟังเอาไว้อยู่ในมวลอากาศ จะเปิดฟังแบบที่ไม่ต้องโฟกัสก็ได้ แต่ในวันที่เปิดฟังจริงจังก็ยิ่งรู้สึกมากเหลือเกิน โดยเฉพาะพาร์ทของเพลงเศร้าที่ทำให้เราคิดย้อนกลับไปถึงวันที่ฟังอัลบั้มแรก Boo! ในมุมที่ว่า ‘ความ Youth Power แบบ Slur มันโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นอีกครั้งแล้วว่ะ’ พลังวัยรุ่นในวันนั้นมันถูกเคี่ยวจนงวดเป็นความมันส์ด้วยท่าทีที่สุขุมขึ้น เศร้าอย่างเข้าใจ และซ่าแบบที่ลิมิตจะไปถึง การได้ฟังเพลงในอัลบั้มนี้หลาย ๆ รอบเพื่อเขียนถึง ทำให้เข้าใจความเป็น Slur หลาย ๆ อย่างที่ไม่เคยมองเห็นเหมือนกันนะ อย่างเนื้อร้องของพี่เย่ที่เลือกเพียงคำที่ทำงานกับความรู้สึกจริง ๆ ไลน์กีตาร์ของพี่เฮาส์ดีไซน์ให้มีความเย็น ๆ ซนแต่ไม่ซ่าจนเกินไปก็เข้ากับความเป็น Slur ในยุคหลังได้ถูกต้องที่สุด ไลน์เบสของพี่บู้ที่มีความแฟชั่นดีไซน์ไม่ตีกรอบอยู่เสมอ และริทึ่มกลองของพี่เอมที่หวดแบบวิ่ง ๆ สับ ๆ ริทึ่มที่เป็นมากกว่าให้จังหวะแต่ยังเป็นเหมือนเมโลดี้คุมตัวตนความซนของ Slur ในทุกเพลง Next Cover, Same Mood ตอนล่าสุดเลือกหนังและซีรีส์สำหรับคนที่มูฟออนจากเพลงหลากอารมณ์ในอัลบั้ม 6lur ไม่ได้
Next Cover, Same Mood ตอนที่ 4 นี้เราขอเปลี่ยนอารมณ์กันเล็กน้อย จาก ‘หนังสือ’ สู่ ‘ภาพยนตร์’ หลังจากที่ทำไป 3 ตอนแรกแล้วพบว่า เพลงบางเพลงจะมีภาพยนตร์อันเป็นตัวแทนอารมณ์ที่เหมาะกว่าหนังสืออยู่บ้างเสมอ ๆ และเพราะวง Dept เอง ก็มีจุดกำเนิดชื่อวงมาจาก Johnny Depp ที่มีความเกี่ยวข้องกับหนังอยู่ด้วย (พยายามหาเหตุผลสุด 555) แต่เชื่อใจเราได้เลย ว่าหนังเองก็สามารถต่ออารมณ์อันไม่ยอม Move On จากเพลงที่รักได้ดีไม่ต่างกันอย่างแน่นอน ถ้าให้พูดถึงหน้าตาของ Sound of Smallroom ใน gen 3 เราสามารถยกเอาวง Dept ขึ้นมาอยู่หัวแถวได้เลย ในความหมายที่ว่า เป็นประตูสู่ซุ่มเสียงเพลง POP ยุคใหม่ของค่ายห้องเล็ก และเป็นเพลงตัวแทนของหลากความรู้สึกของวัยรุ่นไทย Gen y และ Gen z ด้วย .. อัลบั้ม Ceramics Runway
หากจะให้พูดถึงอย่างค่ายเพลงทางเลือก ที่แม้ไม่ได้มีสเกลขององค์กรที่ขนาดใหญ่โตอะไรมากมาย แต่ได้ผลิตผลงาน ผลิตศิลปินที่มีทั้งเอกลักษณ์ และคุณภาพป้อนสู่วงการเพลงมาอย่างยาวนาน เราเชื่อว่าชื่อแรก ๆ ที่โผล่เข้ามาในหัวของใครหลายคน คงหนีไม่พ้น Smallroom ค่ายเพลงเล็ก ๆ ที่โดดเด่นจนกลายเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของยุคเด็กแนวที่วัยรุ่นส่วนใหญ่ในช่วงเวลานั้นเป็นต้องอ่าน a day, ไปงาน Fat และฟังเพลง Smallroom ค่ายเพลงทางเลือกซึ่งเราพูดถึงในตอนแรกเริ่ม ที่เดินทางผ่านกาลเวลามาไม่ใช่น้อย แต่ก็ยังคงความร่วมสมัยภายใต้ตัวตนที่แทบไม่ต่างไปจากเดิม ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน จากความน่าสนใจนี้ คอลัมน์ ZERO to HERO จึงขอพาชาว UNLOCKMEN ทุกท่าน ร่วมย้อนเหตุการณ์ผ่านความทรงจำ และ ประสบการณ์อันเข้มข้นของ ‘รุ่ง-รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์’ หรือที่ศิลปิน และใคร ๆ ต่างเรียกเขาว่า ‘พี่รุ่ง’ หัวเรือใหญ่แห่งค่าย Smallroom ผู้เป็นที่เคารพรัก และมักจะได้ยินศิลปินในค่ายกล่าวถึงเขาบ่อย ๆ ด้วยสไตล์การทำงานแบบคลุกวงในคอยให้คำแนะนำปรึกษา แต่งเพลง ช่วยโปรดิวซ์ แม้กระทั่งถ่ายทำ MV ให้ เรียกได้ว่ามีส่วนร่วมแทบทุกขั้นตอน กับชุดคำถามที่ว่าทำไมค่ายเพลงอิสระที่เริ่มต้นจากห้องเล็ก ๆ