สนุกเกอร์ หนึ่งในกีฬาซึ่งเป็นที่รู้จักในเมืองไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะสำหรับหนุ่ม ๆ ที่เคยเล่นกันมาก่อนคงทราบดีถึงรูปแบบเกมส์การเล่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งนอกจากผู้เล่นจะต้องมีฝีมือการปล่อยคิวที่เฉียบคมแล้ว เรื่องของสมาธิและการตัดสินใจ รวมไปถึงการอ่านเกมก็เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ชัยชนะของการแข่งขันแต่ละครั้ง และความพิเศษเหล่านี้เองที่ทำให้เกมแม่นหลุมชนิดนี้ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน แต่สำหรับคนที่ไม่ค่อยรู้จักและไม่เคยสัมผัสอารมณ์ของการชมและเล่นกีฬาชนิดนี้มาก่อน อาจมองว่าสนุกเกอร์เป็นกีฬายุคเก่าที่ไม่มีความน่าสนใจ กลายเป็นกิจกรรมที่ไม่เท่พอจะตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้ชายในปัจจุบัน อาจเพราะภาพจำเดิม ๆ ของสโมสรหรือสถานที่สำหรับเล่นสนุกเกอร์ในยุคที่ผ่านมาเป็นเหมือนสถานที่อโคจรของหนุ่ม ๆ รุ่นใหญ่ที่มีทั้งการดื่มและการเล่นพนัน จนถูกพูดกันปากต่อปากกลายเป็นภาพแง่ลบต่อกีฬาชนิดนี้ แต่แท้ที่จริงแล้วสนุกเกอร์คือหนึ่งในเกมกีฬาที่แสดงออกถึงการให้เกียรติและความเป็นสุภาพบุรุษได้เป็นอย่างดี เห็นได้จากการให้ความสำคัญกับในมารยาทระหว่างแข่งขัน การแต่งกาย จนไปถึงมารยาทของผู้เข้าชม รวมถึงสถานที่แข่งขันก็ถูกพัฒนาให้ทันสมัยมากขึ้น กีฬาสนุกเกอร์เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยในยุคแรกนิยมเล่นกันในกลุ่มทหารอังกฤษที่ประจำอยู่ในประเทศอินเดีย ก่อนจะเปลี่ยนแปลงและพัฒนารูปแบบการเล่นมาเป็นแบบสากลอย่างในปัจจุบันและแพร่ความนิยมไปทั่วโลกในเวลาต่อมา ส่วนในประเทศไทยถ้าพูดจุดเริ่มต้นของกีฬาสนุกเกอร์คงต้องย้อนกลับไปในช่วงปี พ.ศ. 2500 ซึ่งเริ่มมีการแข่งขันสนุกเกอร์ชิงแชมป์ประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ก่อนในปี 2525 สมาคมสนุกเกอร์แห่งประเทศไทยซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อสมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย จะถูกก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกถือเป็นการวางรากฐานของวงการนักซอยเมืองไทย โดยเริ่มต้นจากการเล่นแบบกติกาสากลด้วยลูกแดง 15 ลูก ก่อนจะมีการผลักดันการเล่นแบบลูกแดง 6 ลูก ให้เกิดขึ้นในเวลาต่อมา จนกลายมาเป็นรูปแบบการแข่งขันที่นักสอยคิวทั่วโลกต่างยอมรับและให้ความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน The Beginning of 6 Red Snooker แรกเริ่มเดิมทีการเล่นสนุกเกอร์ 6 แดงเป็นรูปแบบที่นิยมในหมู่นักสอยคิวทั้งมือเซียนและมือสมัครเล่นในเมืองไทยมานานจนเมื่อปี พ.ศ. 2550 ทางสมาคมบิลเลียดแห่งประเทศไทยตัดสินใจบรรจุสนุกเกอร์ 6 แดงเข้าไปสำหรับการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่
หากเอ่ยชื่อของ ‘เล็ก-อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร’ เชื่อว่าหลายคนอาจต้องใช้เวลาหยุดคิดว่าเขาคือใคร แต่เมื่อเอ่ยชื่อ ‘เล็ก Greasy Café’ เราเชื่อว่าภาพของชายผมยาว รอยสักรูปปลา กีต้าร์คู่ใจ บุคลิกของพี่ชายที่อบอุ่น แต่ลึกลับ พร้อมน้ำเสียงแหบหม่น ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวความรัก รวมถึงแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตแบบตรงไปตรงมาผ่านคำร้องและภาษาดนตรีที่สวยงาม ต้องปรากฎชัดเจนขึ้นมาในทันที ด้วยเอกลักษณ์ที่ชัดเจนของน้ำเสียง เนื้อหา และดนตรีที่ถ่ายทอดออกมา ทำให้ในสายตาของเรา ‘เล็ก Greasy Café’ ไม่ได้เป็นแค่นักดนตรี นักร้อง นักแต่งเพลง แต่เขายังเป็นนักเล่าเรื่อง ที่ทุกการเดินทางผ่านช่วงเวลาต่าง ๆ ของชีวิต เขามักจะเก็บเกี่ยวเอาประสบการณ์จากช่วงเวลาเหล่านั้น มาร้อยเรียง และ ส่งต่อมุมมองผ่านบทเพลงที่มีเนื้อหาลุ่มลึก อาจดูเหมือนฟังยาก แต่มันช่าง ‘จริง’ เสียจนเข้าไปสัมผัสตรงกลางใจคนฟังอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งการออกเดินทางถ่ายทอดเรื่องราวบนถนนสายดนตรีของ ‘เล็ก Greasy Café’ นั้นได้ผ่านเวลามาแล้วไม่ใช่น้อย นับตั้งแต่ร่วมทำเพลงในอัลบั้มรวมพิเศษ Smallroom 001 – 002 (2001) มาจนถึงการได้มีผลงานเดี่ยวของตัวเองในนาม Greasy Café