เวลานี้คงไม่มีผู้กำกับคนใดมีคนพูดถึงมากไปกว่า Bong Joonho (บง จุนโฮ) ผู้กำกับชาวเกาหลีใต้ที่พาภาพยนตร์ Parasite (2019) กวาดรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม, ภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม และผู้กำกับยอดเยี่ยมจากงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 92 ไปครองอย่างน่าภูมิใจ โดยถือเป็นผู้กำกับคนที่ 2 ของเอเชียและเป็นผู้กำกับคนแรกของเกาหลีใต้ที่คว้ารางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม ภาพยนตร์ Parasite (2019) เล่าเรื่องราวของชนชั้นได้อย่างเจ็บแสบ ตลกร้าย และเสียดสีสังคมจนใครที่ดูแล้วต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “หนังแม่งโคตรเจ๋ง!” แถมยังสร้างปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ให้วงการภาพยนตร์เมื่อ Parasite และชื่อของ Bong Joonho ถูกสลักไว้บนถ้วยรางวัลน้อยใหญ่จากหลายเวทีก่อนหน้านี้ ความสำเร็จทางด้านรายได้และคำชมเชยท่วมท้นส่งผลให้ใคร ๆ ต่างใคร่อยากรู้จักชีวิตกับแนวคิดของชายคนนี้มากขึ้น อยากรู้ว่าเขาสนใจอะไร มองโลกมุมไหน อะไรบ้างที่หล่อหลอมให้เขาเป็นชายมากความสามารถและมีมุมมองเฉียบคม ทำหนังออกมาได้เจ็บแสบขนาดนี้ ผลงานเก่าของนักเล่าเรื่องเสียดสีที่เติบโตในสังคมเผด็จการ ช่วงชีวิตของชายที่ชอบเล่าเรื่องราวผ่านภาพยนตร์ เริ่มต้นขึ้นเพราะหลงใหลการทำหนัง ครอบครัวของเขาก็สนใจสายวรรณกรรมและสังคมอยู่แล้ว แถมตัวของจุนโฮเองก็เข้าศึกษาในคณะสังคมวิทยาพร้อมกับสมัครเข้าชมรมภาพยนตร์ของมหาวิทยาลัย สนใจการทำหนังสั้นฟิล์ม 16 มิลลิเมตร ฝึกฝนการเขียนบทและอยู่ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้กำกับเมื่อมีการทำหนัง ชีวิตของเขาก็ไม่ได้ต่างจากคนรักหนังคนอื่น ๆ สภาพแวดล้อมที่เติบโตมาอาจมีส่วนทำให้จุนโฮกลายเป็นนักเล่าเรื่องมีลีลาเอกลักษณ์ เขามักใช้เวลาว่างนั่งดูภาพยนตร์ฮอลลีวูด ระหว่างยุค 70-80 ประเทศเกาหลีใต้อยู่ใต้อำนาจของประเทศสหรัฐฯ
ช่วงสิ้นปีถือเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญสำหรับวงการภาพยนตร์ ในปีนี้งานประกาศรางวัลที่คอหนังเฝ้ารอทั่วโลกอย่างออสการ์ก็กำลังอยู่ในช่วงสนุกสนานไม่แพ้กัน ค่ายหนังน้อยใหญ่ต่างส่งภาพยนตร์เรื่องเด่นของตัวเองเข้าช่วงชิงรางวัลสาขาต่าง ๆ กันอย่างคับคั่ง รวมถึงหลาย ๆ ประเทศที่เตรียมส่งหนังของตัวเองเข้าชิงรางวัลในสาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม (Best International Feature Flim) วันนี้ UNLOCKMEN จะเอ่ยถึงภาพยนตร์เรื่อง Buoyancy (2019) ผลงานจากประเทศออสเตรเลียที่ส่งเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม ซึ่งจุดน่าสนใจสำหรับเราคือภาพยนตร์เรื่องนี้คือเป็นหนังที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์จริง ใช้นักแสดงไทย พื้นหลังการดำเนินเรื่องก็เป็นอุตสาหกรรมการประมงไทย แถมในเรื่องยังพูดภาษาไทยอีกด้วย เรื่องราวที่เต็มไปด้วยคำถามใน Buoyancy (2019) จะถูกเล่าเรื่องโดยเด็กชายชาวเขมรอายุ 14 ปี ที่ต้องออกจากหมู่บ้านเดินทางมาทำงานยังประเทศไทย เด็กชายต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ต้องการเงินและหวังว่าอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทยจะเติมเต็มสิ่งที่เขาต้องการได้ แต่ทุกอย่างไม่เป็นดั่งฝันเมื่อเขาต้องกลายเป็นทาสที่ถูกใช้ความรุนแรงบนเรือประมง ติดอยู่บนเรือไม่ต่างจากปลาที่อยู่ในอวน จากการเดินทางเพื่อทำตามความฝันมาสู่การดิ้นรนกลางทะเลและรักษาชีวิตตัวเองไว้ไม่ให้ตาย เขาไม่สามารถหนีไปไหนได้นอกจากต้องก้มหน้าทำตามคำสั่งของนายจ้างคนไทยอยู่บนเรือ ถ้าไม่ทำตามก็คงจะต้องกลายเป็นศพกลางทะเล ความกดดันและความเครียดจะถูกเล่าเรื่องไปพร้อมกับบรรยากาศเหงา ๆ ของเรือลำหนึ่งท่ามกลางมหาสมุทร “ภาพยนตร์เรื่องนี้จะทำให้เราเห็นว่าความจนสามารถลดคุณค่าของความเป็นคน” – Graeme Mason Buoyancy (2019) เป็นผลงานกำกับครั้งแรกของ Rodd Rathjen แต่ถึงแม้ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นเรื่องแรกของเขาแต่ก็ถูกสมาพันธ์ภาพยนตร์ออสเตรเลียเลือกให้เป็นตัวแทนของประเทศช่วงชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม และได้ออกฉายให้นักวิจารณ์ได้ชมกันไปแล้วในเทศกาลหนังเบอร์ลิน ส่วนประเทศไทยของเราก็ลงมติเป็นที่เรียบร้อยว่าจะส่งภาพยนตร์เรื่องแสงกระสือในสาขาดังกล่าวเช่นกัน ถือว่าสาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยมของงานออสการ์ครั้งที่ 92 ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 9
ใกล้เข้ามาทุกทีกับงานประกาศรางวัลสุดยิ่งใหญ่ทรงคุณค่ามากที่สุดงานหนึ่งของโลกภาพยนตร์กับงานออสการ์ ครั้งที่ 92 (Oscar 2020) ทำเอาเหล่านักวิจารณ์รวมถึงคอหนังหลายคนต่างพากันจับตามองถึงรายชื่อหนัง นักแสดงและผู้กำกับที่มีโอกาสจะได้เข้าชิงรางวัลอันทรงเกียรติ UNLOCKMEN ยังไม่สามารถบอกได้ว่าใครจะได้รับรางวัลไหน หรือมาเดาว่าภาพยนตร์เรื่องใดจะผ่านการเข้ารอบเป็นหนึ่งในห้ารายชื่อเข้าชิงรางวัลในรอบสุดท้าย แต่เรากลับเห็นความน่าสนใจในรางวัลสาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม (Best International Feature Film) เดิมเคยชื่อว่ารางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best Foreign Language Film) ว่าสองประเทศจากทวีปเอเชียที่กำลังมีข้อพิพาทขัดแย้งกันทั้งเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจอย่างเกาหลีใต้กับญี่ปุ่น ต่างก็ส่งหนังตัวเก็งเข้าช่วงชิงความเป็นหนึ่งในสาขาเดียวกัน บางคนอาจจะยังไม่เคยติดตามข่าวความขัดแย้งของสองประเทศเท่าไหร่นัก เราจึงขอเท้าความให้เข้าใจตรงกัน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2019 ญี่ปุ่นประกาศงดสั่งวัตถุดิบ 3 ชนิด ที่มีผลต่ออุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของเกาหลีใต้ เนื่องจากทางเกาหลีใต้ฟ้องร้องขอค่าเสียหายเพิ่มจากญี่ปุ่นกับเหตุการณ์ที่เคยทำไว้ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (แต่ทั้งสองประเทศเคยเจรจาลงนามตั้งแต่ 1965) แถมทางฝั่งญี่ปุ่นยกเลิกสิทธิพิเศษทางการค้าของเกาหลีใต้ ส่วนทางเกาหลีใต้ก็ประกาศแบนสินค้าที่มาจากฝั่งญี่ปุ่น จึงทำให้ความตึงเครียดของทั้งสองประเทศทวีความร้อนแรงขึ้นเรื่อย ๆ กลับมายังวงการภาพยนตร์ ทั้งสองประเทศก็ต้องมาพบกันอีกครั้งในงานออสการ์ กับรางวัลสาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม ที่หลายประเทศต่างก็ส่งหนังดังของตัวเองเข้ามาเพื่อช่วงชิงรางวัลนี้ อย่างประเทศออสเตรเลียส่งภาพยนตร์เรื่อง Joy สเปนส่งเรื่อง Pain And Glory เยอรมนีส่งเรื่อง System Crasher หรือแอลจีเรียส่งเรื่อง Papicha