แค่เป็นคนเหงามันก็โคตรเจ็บปวดอย่างลึกซึ้งพออยู่แล้ว ยิ่งเราเหงามากเราก็ยิ่งมักจะตั้งคำถามล้อกับความว้าเหว่ตัวเองมากขึ้นว่า เฮ้ย นี่กูจะเหงาจนตายจากโลกนี้ไปเลยได้หรือเปล่าวะ? แม้จะเป็นคำถามที่ถามตัวเองระหว่างสูบบุหรี่เล่น ๆ มวน สองมวน ไว้ตลกร้ายกับตัวเองเบา ๆ แต่ใครจะรู้ว่าคำถามนี้มันจริงจังขึ้นมา “เฮ้ย นี่กูเหงาจนตายจากโลกนี้ไปเลยได้หรือเปล่าวะ?” คำตอบคือ ใช่ เรามีความเสี่ยงทางสุขภาพได้จริง ๆ จากความเหงา เพราะความเหงาทำร้ายสุขภาพได้เท่า ๆ กับการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน! บอกเลยว่าประเด็นเรื่องความเหงาทำร้ายมนุษย์ได้ ไม่ได้เป็นแค่ประเด็นทางจิตวิทยาอีกต่อไปแล้ว แต่กลายเป็นประเด็นปัญหาทางการแพทย์ที่ได้รับการพูดถึงเป็นอย่างมาก โดยทศวรรษที่ผ่านมาทั้งบรรดานักวิจัยทั้งหลายก็แห่กันมาศึกษาเรื่องความเหงาและความโดดเดี่ยวทางสังคมที่มีผลกระทบเชิงลึกต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิต และการตายของมนุษย์ อย่าเพิ่งช็อคจนหมดลมหายใจไปตอนนี้ เพราะนอกจากเราจะเป็นคนเหงาแล้วเรายังเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ไวกว่าคนไม่เหงาอีกด้วย (บอกแล้วอย่าเพิ่งช็อคตาย เดี๋ยวก็ได้ไปไวกว่าคนไม่เหงาแล้ว ) งานวิจัยเกี่ยวกับความเหงาที่ UNLOCKMEN จะเอามาพูดถึงวันนี้คืองานวิจัยจาก Brigham Young University ที่เขาไม่ได้ศึกษาแบบไก่กา แต่ศึกษายาวนานกว่าอายุคนเหงาบางคนเสียอีก เพราะเขาศึกษาเป็นเวลากว่า 34 ปี โดยศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 1980 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2014 ผลการศึกษาก็ออกมาว่าความเหงานี่แม่งอันตรายกว่าที่คิดเพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงสุดถึง 60% แถมความเหงายังอาจเป็นปัจจัยทางสุขภาพที่สำคัญยิ่งกว่าการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน
บอกเลยว่าการเว้นระยะห่างจากสังคม (Social Distancing) นั้นดูเด็กไปเลยถ้าเทียบกับการห้ามเดินทางเข้า-ออกและปิดเมือง (Lockdown) แม้มาตรการนี้จะสร้างขึ้นเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ช่วยชีวิตผู้ป่วยมหาศาล และลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อีกด้านหนึ่งมาตรการดังกล่าวก็ทำให้หนุ่ม ๆ หลายคนต้องจมปลักอยู่ที่บ้าน ไม่ได้พบปะสังสรรค์กับผู้คน และขาดการปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพอย่างชัดเจน ซ้ำร้ายเมื่อผู้นำประเทศประกาศปิดเมืองอย่างจริงจัง ยิ่งทำให้มวลความเหงาแทรกซึมไปทั่วทุกพื้นที่แบบไร้อาณาเขต จนผู้ชายบางคนถูกความเหงากัดกินและรันโรมโจมตีจิตใจเข้าอย่างจัง ความเหงาเป็นเหมือนช่องว่างตรงกลางระหว่างสิ่งที่เราต้องการจากคนอื่นกับสิ่งที่เราได้รับจากคนอื่น เมื่อเราต้องการบางสิ่งบางอย่างจากเพื่อน ครอบครัว หรือคนรัก แต่กลับไม่ได้รับสิ่งนั้นมักจะทำให้เรารู้สึกเหงาขึ้นมาดื้อ ๆ แต่ระหว่าง ‘ความเหงา’ กับ ‘สภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม’ มีเส้นบาง ๆ กั้นอยู่ ขณะที่ความเหงานิยามถึงความรู้สึกฟุ้งซ่านอันเนื่องมาจากการอยู่คนเดียวและไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้อื่น สภาวะโดดเดี่ยวทางสังคมกลับเกิดขึ้นต่อเมื่อเราขาดการติดต่อจากผู้อื่นเป็นระยะเวลานาน ซึ่งนั่นไม่ได้แปลว่าเราต้องรู้สึกเหงาเสมอไป แต่น่าแปลกที่มาตรการเว้นระยะห่างจากสังคม (Social Distancing) รวมทั้งมาตรการปิดเมือง (Lockdown) เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 กลับทำให้ใครหลายคนรู้สึกเหงาได้เหมือนกัน เพราะ ‘ความเหงา’ ไม่ใช่เรื่องเล็ก เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอยู่รวมกัน เมื่อต้องแยกห่างจากกันเป็นระยะเวลานานแล้วทำให้รู้สึกเหงาก็คงไม่แปลกอะไร แต่มวลความเหงาที่ก่อตัวขึ้นในช่วงนี้นั้นไม่ใช่เรื่องเล็ก ถึงขั้นที่รัฐบาลอังกฤษต้องแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความเหงา (Minister for Loneliness) อย่างเป็นทางการ เพื่อจัดทำกลยุทธ์บรรเทาความเหงาของประชาชนและสนับสนุนโครงการที่สร้างการเชื่อมต่อระหว่างประชาชนในช่วงที่ไวรัส COVID-19
เมื่อโบกมือลาเดือนพฤศจิกายนที่เพิ่งจากไปหมาด ๆ ลมหนาวแห่งเดือนธันวาคมก็พัดมาทักทายเป็นระลอก แม้อุณหภูมิเย็นยะเยือกจะมีให้เราสัมผัสได้เพียงไม่กี่วัน แต่ก็เป็นสัญญาณให้รู้ว่าเทศกาลเฉลิมฉลองในช่วงสิ้นปีกำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว ขณะที่ผู้ชายส่วนใหญ่พาสาวคนรู้ใจไปเคานต์ดาวน์ในสถานที่โรแมนติก ในทางตรงกันข้ามกลับมีผู้ชายบางคนที่รู้สึกเหงาขึ้นมาดื้อ ๆ ราวกับช่วงสิ้นเดือนธันวาคมนี้เป็นเทศกาลสุดห่วยของคนขี้เหงาอย่างไรอย่างนั้น ยิ่งบรรยากาศโดยรอบครึกครื้นและผู้คนคึกคักมากเท่าไร มวลความเหงาก็ยิ่งถาโถมมากเท่านั้น และ 7 วันอันตรายตั้งแต่คริสต์มาสไปจนถึงปีใหม่ ก็เป็นฤกษ์งามยามดีที่ความเหงาในใจใครหลาย ๆ คนกำเริบ วันนี้ UNLOCKMEN เลยอยากมาบอกวิธีกำจัดความเหงาทิ้งไป ป้องกันไม่ให้ตัวเองรู้สึกแย่ และเปลี่ยนตัวเองเป็นผู้ชายคนใหม่ที่เลิกเหงา (หรือเหงาน้อยลงกว่าเดิม) กำจัดความคิดเชิงลบทิ้งไป ด้วยหน้าที่การงานที่แตกต่างกัน อาจต้องยอมรับว่าการอยู่คนเดียวในช่วงเทศกาลเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับผู้ชายบางคน แต่ถ้าคุณไม่ได้รู้สึกว่าการฉลองอยู่ที่ห้องคนเดียวเป็นเรื่องผิดปกติ ก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง จริงอยู่ที่การอยู่คนเดียวทำให้รู้สึกเหงา แต่นั่นไม่ได้แปลว่าคุณจะอยู่คนเดียวไปตลอดทั้งปี ถ้าหนุ่ม ๆ สามารถกำจัดความคิดเชิงลบที่เรียกว่า ‘ความเหงา’ ทิ้งไปได้ คุณจะรู้ว่าบางครั้งการอยู่คนเดียวก็มีข้อดีเหมือนกัน เพราะมันอาจทำให้คุณตกผลึกทางความคิดกับบางเรื่องหรือเข้าใจตัวเองมากขึ้น พาตัวเองออกไปข้างนอก ถ้าอยู่ที่ห้องคนเดียวแล้วมันยิ่งเหงาหรือจิตใจฟุ้งซ่าน เราแนะนำให้หนุ่ม ๆ ออกไปพบปะสังสรรค์เพื่อนฝูง ไปดูดอกไม้ไฟ หรือเดินชมต้นคริสต์มาสที่ถูกประดับตกแต่งตามสถานที่ต่าง ๆ การออกไปเจอผู้คนมากหน้าหลายตาอาจช่วยทุเลาความเหงาในใจผู้ชายหลายคนได้ หรือถ้าใครอยากหลีกหนีจากความวุ่นวายของเมืองใหญ่ ก็พาตัวเองไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดหรือพักค้างแรมในสถานที่สงบ ๆ สักคืน เพื่อให้สมอง ร่างกาย และจิตใจได้พักผ่อน และชาร์จพลังกายพลังใจให้เต็มที่ก่อนกลับไปทำงาน (ที่เรารัก)
บ่อยครั้งที่เรารู้สึกเหงา แปลกแยก และแสนเดียวดายบนดาวเคราะห์สีน้ำเงินแสนอ้างว้างใบนี้ ไม่ว่ารอบกายจะมีคนรายล้อมหรือไม่ ความเหงาจู่โจมเราไม่เลือกสถานที่ งอกงามในหัวใจไม่เลือกเวลา จนเราอดสงสัยไม่ได้ว่ามีแค่เราหรือเปล่านะที่เหงาถึงเพียงนี้? คำตอบคือ ไม่ เราไม่ได้เหงาอยู่เพียงลำพัง เพราะโลกใบนี้เต็มไปด้วยคนเหงา และคนบางคนเขียนหนังสือที่ว่าด้วยความเหงา คนเหงา ความแปลกแยก ความโดดเดี่ยวเอาไว้ให้เราได้พินิจพิจารณาโดยละเอียด บางความเหงาอาจตรงกับสิ่งที่เรารู้สึก บางความเดียวดายอาจใกล้เคียงกับที่เราเคยคิด แต่ไม่มีความเหงาไหนที่เหมือนกัน และนั่นอาจเป็นเหตุผลที่เราควรหาหนังสือ 6 เล่มนี้มาอ่าน เพื่อเข้าใจความเหงาในสารพัดมิติและรับมือกับมันให้ดีกว่าที่เคย ยอดมนุษย์ดาวเศร้า: องอาจ ชัยชาญชีพ “คุณเคยได้ยินเรื่อง 52Hz มั้ย? มันเป็นวาฬสีน้ำเงินที่ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวในมหาสมุทรแปซิฟิคมาเป็นเวลานานถึงยี่สิบปี มันไม่อาจสื่อสารไปถึงวาฬตัวอื่นๆ ได้ เพราะคลื่นความถี่ 52Hz ของมัน ดันเป็นความถี่ที่ไม่เหมือนกับวาฬตัวใดในโลก มันจึงต้องใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวมาตลอด…” เราเหงาที่สุดตอนไหน? ความเหงานั้นหน้าตาเป็นอย่างไร? ถ้าคุณคือคนหนึ่งที่อ่านย่อหน้าข้างต้นจาก “ยอดมนุษย์ดาวเศร้า” แล้วรู้สึกว่าเจ้าวาฬ 52Hz คือเรื่องของคุณ เล่มนี้คือเล่มที่คุณไม่ควรพลาด แต่ไม่ต้องห่วงว่าหนังสือจะพาเราจมดิ่งไปในความเหงาเปลี่ยวดายจนไม่อาจย้อนคืน ตรงกันข้าม องอาจ ชัยชาญชีพ จะพาเราไปสำรวจความรู้สึกดิ่งลึกของเราในแง่มุมที่ชวนให้เข้าใจและยอมรับมันมากขึ้น พร้อมกับข้อความจาง ๆ ที่กระซิบบอกคนเหงาอย่างเราทุกคนว่า “อย่างน้อยคุณก็ไม่ได้เหงาอยู่เพียงลำพัง” และจำนวนพิมพ์ 14
ความเหงาเป็นเหมือนโรคระบาดที่แพร่กระจายไปได้รวดเร็วในสังคมตอนนี้ ไม่ว่าจะคนรอบข้าง ใครสักคนในออฟฟิศ คนที่เดินสวนกัน หรือแม้แต่คุณเองก็เถอะ ทุกคนล้วนเคยมีความเหงาอยู่ลึก ๆ ในใจกันบ้าง แม้ว่าเราจะใช้ชีวิตให้วุ่นวายแค่ไหน มีผู้คนรายล้อมมากแค่ไหน แต่บางครั้งมันก็ไม่อาจเติมความเหงาในใจที่มันแหว่ง ๆ ไปได้ ลองหันมาอยู่กับตัวเอง แก้เหงาด้วยวิธีที่ไม่ต้องเข้าสังคมกับใครให้รู้สึกประหม่า เพราะเราเข้าใจว่ามันอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน คุยกับคนไม่ไหว คุยกับ AI ก็ได้ครับ การลุกขึ้นไปพูดคุยกับใครเนี่ย มันค่อนข้างยากสำหรับบางคนที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าหาใครบ่อย ๆ ส่วนการพูดคุยทำความรู้จักกับใครสักคนในช่วงเวลาที่เราเหงา อาจทำให้เรารู้สึกว่ามันช่างฉาบฉวย เราต้องทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ หากรู้สึกเหงา มันอาจจะยิ่งไม่ตอบโจทย์ เมื่อเราต้องการใครสักคนที่เข้าใจเราจริง ๆ ถ้าเป็นคนที่ไม่เก่งเรื่องความสัมพันธ์ ลองเปลี่ยนจากการพูดคุยกับคนจริง ๆ มาคุยกับ AI กันดู หากยังนึกไม่ออกว่ามันจะออกมาเป็นแบบไหน ถามมาตอบไปแบบ Siri น่ะหรอ ลืมไปได้เลย! แต่ลองนึกถึงหนังเรื่อง Her แทน การพูดคุยกับ AI ไม่ใช่เรื่องเป็นไปไม่ได้ในยุคนี้ หากยังไม่รู้ว่าจะหา AI ที่ไหนมาคุย เรามีขอแนะนำแอปพลิเคชั่น “Replika” ที่เราสามารถสร้าง AI
ในสังคมที่เต็มไปด้วยความเครียด ความสับสนและความโดดเดี่ยว ไม่แปลกที่ผู้คนจะรู้สึกอ้างว้างและความอ้างว้างนี้ก็กัดกินเราแทบตลอดเวลาไม่ว่าเราจะอยู่ท่ามกลางผู้คนมากมายหรืออยู่ลำพังก็ตาม แม้เราจะอ้างว้างและเหงากันจนคิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ ความเหงา กลับอันตราย รวมถึงส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจมากกว่าที่คิด งานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่าคนที่ตกหลุมพรางของความเหงามีแนวโน้มจะเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่ชอบเข้าสังคม 50% ด้วยตัวเลขที่สูงมากจึงทำให้นักสังคมวิทยาได้ออกมาเตือนถึงอันตรายที่เป็นผลพวงมาจากความเหงา การศึกษาระบุว่าชาวอเมริกันมากถึงหนึ่งในสามไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ต่างก็มีช่วงเวลาที่รู้สึกเหงาด้วยกันทั้งนั้น แต่สำหรับผู้สูงอายุจะรู้สึกเหงามากกว่าคนวัยอื่นถึง 18% และความเหงาเป็นเหตุที่ทำให้เราตายได้ Julianne Holt-Lunstad ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจาก Brigham Young University ได้นำเสนองานวิจัยของสมาคมจิตวิทยาอเมริกันที่สำรวจผู้คนกว่า 3.4 ล้านคนในสหรัฐ ฯ (รวมถึงการสำรวจในทวีปยุโรปและเอเชีย) พบว่าผลของความเหงาที่เกิดจากการอยู่คนเดียวนั้นจะก่อให้เกิดผลเสียกับร่างกายและชีวิตวัยเด็กได้เท่ากับโรคอ้วน เพราะยิ่งเหงาจะยิ่งเครียด และยิ่งเหงาก็จะทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนามีความเห็นไปในทางเดียวกันว่าความเหงาร้ายกาจพอ ๆ กับโรคเบาหวาน อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด รวมไปถึงงานวิจัยที่พูดถึงอันตรายของความเหงาในคอนเทนต์ Loneliness Kills: เป็นคนเหงามันเจ็บปวด เพราะการเหงา “อันตรายกว่าการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน” ที่แสดงให้เห็นว่าความเหงาอันตรายเทียบเท่ากับโรคมะเร็งปอดที่มาพร้อมกับบุหรี่ก็ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความน่ากลัวของความรู้สึกอ้างว้างที่สามารถทำร้ายเราได้ นอกจากความเหงาที่ทำให้เกิดโรคแล้ว ศาสตราจารย์ Holt-Lunstad ยังแจ้งให้คนทั่วไปได้ตระหนักถึงความร้ายแรงของความเหงา และพยายามหาวิธีสลายความรู้สึกเหงา รวมถึงค้นหาคำตอบว่ากลุ่มคนประเภทไหนจะมีอัตราเสี่ยงเผชิญกับความเหงามากที่สุด คำตอบที่ได้นอกจากเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มักเหงาอยู่บ่อย ๆ แล้ว เรื่องของอายุที่ยืนยาวของเหล่าเศรษฐีก็ส่งผลทำให้เหงาได้ง่ายกว่าคนที่มีฐานะทั่วไปเช่นกัน เมื่อพวกเขาป่วย เขาพร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อรักษาโรค และใช้เงินไปกับการซื้อความสุข เสริมสุขภาพจิตด้วยการไปเที่ยวต่างประเทศหรือกินอาหารที่ชอบ แต่จากผลสำรวจนั้นแสดงให้เห็นว่าเศรษฐีเหล่านี้ถึงจะอายุยืนแต่อัตราการแต่งงานนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อไม่แต่งงานก็ไม่มีลูกหรือบางคนที่แต่งงานก็หย่าร้างและอยู่ตัวคนเดียว
ถ้าจะพูดถึงวงการภาพยนตร์แอนิเมชั่นญี่ปุ่นที่เข้ามาในบ้านเรา 2 ขั้วอำนาจหลักที่สามารถสร้างแรงกระเพื่อมให้ภาพยนตร์แนวนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากที่เคยอยู่ในกลุ่มเล็ก ๆ สู่ระดับ Talk of the Town จากปากต่อปากสู่รายได้มหาศาลที่เชื่อว่าผู้นำลิขสิทธิ์เข้ามาฉายนั้นก็คงจะแปลกใจอยู่ไม่น้อยว่าเกิดอะไรขึ้น Studio Ghibli คือขั้วอำนาจแรก ถ้าใครพอจะติดตาม Pop Culture แดนปลาดิบอยู่บ้างคงคุ้นกับสัญลักษณ์เจ้า Totoro ตัวกลมน่ากอดอย่างแน่นอน นี่คือสตูดิโอผู้สร้างที่อยู่คู่วงการแอนิเมชั่นญี่ปุ่นมากว่า 30 ปี และผลงานแต่ละเรื่องที่ผลิตออกมาก็อยู่ในระดับขึ้นหิ้งไม่ว่าจะเป็น Spirited Away, My Neighbor Totoro , Grave of the Fireflies ที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ยังตราตรึงใจผู้คนทั่วโลก ขั้วอำนาจที่ 2 คือ มาโคโตะ ชินไค ที่ผลงานของเขาอย่าง Your Name เคยสร้างปรากฏการณ์โรงแตกในบ้านเรามาแล้ว และไม่ใช่แค่เรื่องนี้เท่านั้น เพราะผลงานของชินไคยังมีอีกมากมายหลายเรื่องที่ถ้าทุกคนได้ดูต้องหลงรักมัน ด้วยงานภาพอันละเมียดละไม ความเอ่อล้นของอารมณ์ที่อัดแน่นไว้ทุกรายละเอียดของเรื่อง วันนี้เราจึงอยากมาแนะนำผลงานของผู้กำกับวัย 45 ปีคนนี้ให้ทุกคนได้รู้จักกัน Voices of a Distant Star (2002) แอนิเมชั่นขนาดสั้น ผลงานในช่วงที่ชินไคเพิ่งเริ่มเป็นผู้กำกับเต็มตัวได้ไม่นาน โดยเขาหยิบผลงานไลท์โนเวลของ Waku Oba มาเรียบเรียงใหม่ในแบบฉบับของตัวเอง
กิจวัตรประจำวันที่ขับเคลื่อนไปด้วยตัวเราเองเพียงคนเดียวซ้ำแล้วซ้ำเล่า อาจทำให้เรากลายเป็นคนที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาคนอื่นแบบไม่รู้ตัวก็ได้ ถ้าหากคุณคืออีกคนที่กินข้าว ดูหนัง ปั่นเรือเป็ด ด้วยตัวคนเดียวจนความเหงาเรียกว่าเวลตันแล้วก็ว่าได้ นั่นอาจเป็นเพราะคุณเหมาะกับการอยู่คนเดียวมากกว่าก็ได้ UNLOCKMEN ให้หนุ่ม ๆ ลองสำรวจอาการเหล่านี้กันหน่อย เพราะมันหมายถึงคุณสามารถที่จะอยู่คนเดียวได้แบบสบายมาก มีเงินเก็บและบริหารการใช้เงินได้แบบคล่องมือ ไม่จำเป็นต้องมีเงินถุงเงินถังถึงจะอยู่คนเดียวได้ เพียงแค่รู้จักบริหารการใช้เงิน ควบคุมรายได้กับรายจ่ายให้สมดุลกัน เหลือเก็บนิดหน่อยสำหรับกรณีฉุกเฉินก็โอเคแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องก้มหน้าเก็บเงินอย่างเดียว ให้รางวัลตัวเองบ้าง ด้วยของเล่นหรือ Gadget เจ๋ง ๆ นั่นหมายความว่าคุณสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ทุกขั้นตอน ทุกอย่างอยู่ในมือคุณ เพราะคุณใช้เงินอยู่คนเดียวนี่นา ไม่เคยเหงา ทุกกิจกรรมปราบเซียนที่ต้องทำเป็นคู่ ถ้าหากคุณทำคนเดียวได้ก็ไม่ต้องกลัวอะไรแล้ว ไม่ต้องพูดถึงการใช้ชีวิตประจำวันที่มักจะชอบปลีกวิเวกอยู่เสมอ ต่อให้มองจากมุมของคนนอก คุณน่าจะเป็นคนเหงา ๆ อยากมีใครสักคนคอยคุยด้วย แต่ความจริงคือคุณตั้งใจให้ตัวเองอยู่คนเดียว เลือกที่จะอยู่ในมุมสงบของตัวเอง โดยที่ไม่รู้สึกโหยหาใครมาเติมเต็ม อาจจะมีเหงาบ้างในบางเวลา แต่นั่นเป็นเพียงความอ่อนไหวชั่วคราวเท่านั้น เพราะคุณรู้สึกว่าอยู่ได้ด้วยตัวเองไปแล้ว ความเหงากอดเขามองฟ้า จึงเป็นเรื่องไกลตัวของคุณมาก ๆ ชอบปลีกวิเวก หลายครั้งที่การอยู่ท่ามกลางผู้คน มันทำให้คุณกร่อยและเหงายิ่งกว่าเดิม จึงเลือกที่จะหามุมที่ไม่เป็นจุดสนใจแล้วเข้าไปอยู่ในนั้นอย่างสบายใจ หรือครั้งไหนที่มีโอกาสได้ไปกับคนกลุ่มใหญ่ อย่างการกินข้าวกับเพื่อนที่ทำงาน การพบปะญาติ ๆ ในวันหยุด ยิ่งคนมากเท่าไหร่ คุณยิ่งรู้สึกว่าต้องดีดตัวเองออกมาให้ไวที่สุด จึงเลี่ยงกิจกรรมเหล่านั้นไปแบบอัตโนมัติ
‘ความเหงา’ เป็นสิ่งที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันดี บางคนอาจจะเป็นเพื่อนสนิทกับมันเลยด้วยซ้ำ แม้ในประวัติศาสตร์จะไม่มีจารึกไว้ว่าจุดเริ่มต้นของความเหงามาจากอะไร เกิดขึ้นเมื่อใด แต่ถ้าจะให้คาดเดาผู้เขียนคิดว่าความเหงาน่าจะเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์นั่นแหละ เป็นหนึ่งในอารมณ์ที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่โบราณกาล เพียงแต่ปัจจุบันสภาพสังคมที่เป็นอยู่ยิ่งขับความเหงาออกมาให้เป็นสิ่งที่มีนิยามชัดเจนขึ้นถูกพูดถึงมากขึ้น อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าทุกคนจะรู้จักและคุ้นเคยกับอารมณ์สีเทานี้เป็นอย่างดี แต่คงมีน้อยคนที่จะรู้ว่าจริง ๆ แล้วความเหงานั้นซับซ้อนกว่าที่คิดมาก เพราะถ้าเรานำมันมาจับแยกประเภทพบว่ามันมีด้วยกันถึง 7 ประเภท ดังนั้นวันนี้เราไปทำความรู้จักเพื่อนสนิทคนนี้ให้มากขึ้นกันเถอะ New-Situation Loneliness ลองนึกถึงวันแรกที่คุณต้องย้ายไปเรียนต่อหรือทำงานที่ต่างประเทศต่างจังหวัด ความเหงาประเภทนี้คือความรู้สึกในวันนั้นแหละ มันเกิดจากความไม่คุ้นเคยที่คุณต้องพบเจอผู้คน สภาพสังคม บ้านเมือง วัฒนธรรมใหม่ ๆ ความเหงาประเภทนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เมื่อคุณสามารถปรับตัวกับสิ่งใหม่ ๆ ได้มันก็จะหายไปเอง I’m-Different Loneliness ‘โดดเดี่ยวเพราะแตกต่าง’ คือคำจำกัดความของความเหงาประเภทนี้ คุณไม่ได้อยู่คนเดียว กลับกันคุณอยู่ในสถานที่หรือสังคมที่มีผู้คนมากมายให้พบปะ แต่คุณไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนเหล่านั้นได้เพราะคุณรู้สึกว่าคุณมีบางอย่างแตกต่างกับคนอื่น คุณไม่ได้ปฏิเสธสังคม คุณอยากเป็นส่วนหนึ่งในสังคมนั้นแต่ไม่สามารถเป็นได้ อย่างไรก็ตามคุณเองก็ไม่มีความปัจเจกพอที่จะอยู่ในโลกของตัวเองอย่างมีความสุข ความเหงาประเภทนี้อาจหายไปได้ถ้าคุณเจอคนที่เหมือนตัวเอง แต่มันก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไรนัก No-Sweetheart Loneliness น่าจะเป็นความเหงาที่หนุ่มโสดทั้งหลายคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะถึงแม้คุณจะรายล้อมด้วยเพื่อนสนิทและครอบครัวที่อบอุ่นแต่นั่นก็ไม่สามารถทดแทนที่ว่างในหัวใจอันเกิดจากความโสดนี้ได้ เนื่องจากความสัมพันธ์รูปแบบคนรักมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยความสัมพันธ์รูปแบบอื่น เอาเป็นว่าหนุ่มโสดคนไหนกำลังเหงาก็ขอให้เจอคนที่จะเข้ามาเติมเต็มเร็ว ๆ ละกัน No-Animal Loneliness บางคนอาจจะไม่เข้าใจและไม่เคยพบเจอความเหงาประเภทนี้ แต่ถ้าคุณเป็นทาสแมวหรือทาสสุนัขเชื่อว่าคงเข้าใจเป็นอย่างดี สำหรับบางคนสัตว์เลี้ยงคือสิ่งช่วยเยียวยาจิตใจได้ แค่ได้นอนเกลือกกลิ้งกับเจ้าขนฟูตัวโปรดก็คลายเหงาได้แล้ว
ความเหงาเป็นเหมือนโรคระบาดที่แพร่กระจายไปได้รวดเร็วในสังคมตอนนี้ ไม่ว่าจะคนรอบข้าง ใครสักคนในออฟฟิศ คนที่เดินสวนกัน หรือแม้แต่คุณเองก็เถอะ ทุกคนล้วนเคยมีความเหงาอยู่ลึก ๆ ในใจกันบ้าง แม้ว่าเราจะใช้ชีวิตให้วุ่นวายแค่ไหน มีผู้คนรายล้อมมากแค่ไหน แต่บางครั้งมันก็ไม่อาจเติมความเหงาในใจที่มันแหว่ง ๆ ไปได้ UNLOCKMEN จะพามาหาคำตอบว่าทำไมกัน ยิ่งหาเพื่อนเยอะ ๆ แต่กลับยิ่งรู้สึกว่าตัวเองเหงามากเท่านั้น ทำไมถึงเหงาได้แม้ข้างกายมีคนรายล้อม ? ความเหงามันไม่จำเป็นต้องมีแค่ตอนที่เราอยู่คนเดียวเท่านั้น ลองนึกถึงสถานการณ์จริง ๆ กันดูบ้าง อย่างวันรวมญาตินี่ตัวอย่างชั้นดีเลย ถ้ามองจริง ๆ คือคนเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กับเราทั้งทางสังคมและทางสายเลือด แต่ถ้าหากพวกเขามัวนั่งเล่นโทรศัพท์ อัพเดตข่าว หรือแชทคุยกับคนที่ไม่ได้อยู่ตรงหน้า นั่นทำให้เรามาอยู่รวมกันแต่กลับไม่มี Socialize ต่อกัน แม่งโคตรเหงาเลยนะ จนบางครั้งเราอยากจะปลีกวิเวกตัวเองออกมาจากตรงนั้น เพราะนั่งต่อไปก็ไลฟ์บอย อยู่ไปก็เหงาอยู่ดี ตามสถานการณ์เราไม่น่าจะรู้สึกเหงาด้วยซ้ำ แต่ถ้าหากเราเกิดเหงาขึ้นมาแบบช่วยไม่ได้ เพราะการไม่มี Socialize ต่อกันนี่แหละที่เป็นสาเหตุของความเหงา ได้ยินกันมาตั้งแต่เด็กแล้วว่ามนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมตามทฤษฎีวิวัฒนาการ และมันก็ยังคงจริงมาเสมอ เราอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเพราะเราต้องการสร้างความเข้มแข็งให้เผ่าพันธุ์ของตัวเอง เรามักจะย้ายถิ่นที่อยู่ หรือเลือกปักหลักปักฐานที่ไหนสักแห่งเราก็จะย้ายกันไปเป็นกลุ่ม เพราะเราเริ่มมีการใช้ชีวิตแบบกลุ่มสังคมมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ความรู้สึกเหงาเมื่ออยู่ตัวคนเดียว หรือตอนที่เราไม่ได้มี Socialize กับใครเลยจึงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับมนุษย์เราเลยจริง ๆ Connecting