รูปแบบการทำงานของใครหลายคนเปลี่ยนไปแบบพลิกโลก จากที่มีออฟฟิศเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ กลายเป็นต้องพึ่งอินเทอร์เน็ต น้ำ ไฟ จากที่บ้าน จากที่ทำงานเหนื่อย ๆ ตกเย็นหาที่ฟังเพลงจิบเครื่องดื่มคล่องคอหล่อเลี้ยงหัวใจ ก็เหลือแค่ห้องเดียวกับที่นั่งทำงานมาทั้งวันให้เอกเขนกดูซีรีส์จนตาแฉะ คนทำงานแต่ละประเภทจึงต้องเผชิญความท้าทายในรูปแบบที่ต่างกันไป รวมถึง “คนทำงานสร้างสรรค์” ศิลปิน นักดนตรี นักวาด นักเขียน ฯลฯ เมื่องานต้องการพลังสร้างสรรค์เท่าเดิม (หรือบางงานต้องการมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ) แต่การทำงานสร้างสรรค์ในห้องปิดตาย หรือสถานที่เดิม ๆ ซ้ำ ๆ นั้นไม่ง่ายที่จะขุดขุมพลังฉูดฉาดมาได้เหมือนที่เคยเป็นมา ทางออกคืออะไร? เราเชื่อว่าสายสร้างสรรค์หลายคนคงอยากฟังคำตอบจากเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ วันนี้ UNLOCKMEN รวบรวม 6 คำตอบจากคนทำงานสร้างสรรค์ว่าในสถานการณ์ชวนอึดอัดนี้และออกไปหาแรงบันดาลใจที่อื่นไม่ได้ พวกเขาทำอะไรเพื่อยังผลิตผลงานหรือใช้ชีวิตให้ไม่ทำร้ายศักยภาพตัวเองเกินไปนัก? ป๊อก-ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล ป๊อก-ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล ศิลปินผู้เชื่อเรื่องการแบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้เพื่อนมนุษย์ เขาเลือกใช้ศิลปะช่วยเหลือคนไร้บ้าน สำหรับเขาในห้วงวิกฤตเช่นนี้ อีกหนทางที่คนผลิตงานสร้างสรรค์ยังพอทำได้ คือการพยายามมองหาส่วนที่ดีที่สุดจากสิ่งที่เกิดขึ้น อาจไม่ได้เพื่อลืมแต่เพื่อหาหนทางที่จะใช้ผลงานของเรา ช่วยเหลือหรือสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่น ๆ เท่าที่พอทำได้ในช่วงเวลาที่ทุกสิ่งนั้นไม่ง่ายเลย “ผมพยายามมองด้านบวกว่าในเหตุการณ์นี้พอมีเรื่องอะไรดีอยู่บ้าง เราจะมีเวลาเพิ่มมากขึ้น ได้มีเวลาวางแผนการงานและชีวิต เห็นวิกฤตเป็นความท้าทาย พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปกับมัน
ขณะที่ดิจิทัลซึ่งเคยเป็นสิ่งแปลกปลอมกำลังก้าวขายาว ๆ เข้ามาในชีวิตเรา ทำให้เราทุกคนต้องแบกรับการโดน disrupt ทุกอย่างที่เคยเป็นมาชั่วชีวิต หลายคนเลือกที่จะไล่กวด วิ่งแซง และนำเสนอสิ่งที่ใหม่กว่า เร็วกว่า content มากมายผุดขึ้นมาเพื่อหวังพิชิตใจฐานคนอ่านเดิม สร้างความสดเสมอเพื่อชิงตำแหน่งผู้นำ แต่สิ่งที่เราตั้งข้อสงสัยคือ ความสดใหม่ จะเอาชนะใจลูกค้าได้จริงหรือ? และนี่คือคำตอบในอีกมุมที่เราค้นพบ… สดหรือเน่า? รักษาหรือทำลาย จากการพูดคุยกับคนจำนวนไม่น้อยในวงการสื่อ เราพบว่าอัลกอริทึมที่แต่ละโซเชียลแพลตฟอร์มตั้งขึ้น ไม่ว่าจะเพื่อเรียกเงินออกจากกระเป๋าให้มากกว่าเดิมหรือไม่ก็ตาม คำว่า “คุณภาพ” ของเนื้อหา ได้กลายเป็นมาตรฐานกลางที่เจ้าของพื้นที่โซเชียลเป็นผู้ “เลือก” ว่าเนื้อหาที่คุณทำมีค่าเพียงพอต่อการปรากฎในสายตาคนอื่นหรือไม่ “ความเร็ว” ของการผลิตเนื้อหาในนาทีนี้จึงเริ่มไม่ใช่ตัวแปรสำคัญที่ใช้ตัดรอบเหมือนยุคก่อนหน้า ผู้บริโภคยินดีจะเสพเรื่องราวของคน ๆ เดียวกันได้หากนำเสนอด้วยมุมมองที่แตกต่างกันตามความต้องการของตัวเอง ความสดที่เร่งผลิตก่อนแต่ไม่ได้เนื้อหาที่ดีหรือลึกพอจึงอาจตกกระป๋องทำหน้าที่เป็นแค่ทีเซอร์หนังที่ทำได้แค่ตัวแทนรอตัวจริงเท่านั้น ดังนั้น สิ่งสำคัญจึงไม่ใช่การวิ่งหาเรื่องที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในสายคนอื่น แต่เป็นการรีเมคประเด็นที่เคยมีให้น่าสนใจขึ้น “การทำออนไลน์ในเว็บมันง่าย ไม่ต้องใช้ต้นทุนอะไรเยอะ…ในมุมของผู้ผลิตคอนเทนต์ เราต้องแข่งกับคนที่มีเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม การสร้างคอนเทนท์ต้องมีประโยชน์และแตกต่าง” – วิสูตร แสงอรุณเลิศ เก๋าเก่ากลับมาเรียกแขกด้วยประเด็นใหม่ สิ่งที่เรามองเห็นได้ดี คือการปรับเปลี่ยนค่านิยมการนำเสนอสินค้าเดิมให้เข้าถึงกลุ่มคนที่หลากหลายขึ้นไวรัลได้มากขึ้น ตัวแสดงในโฆษณาอาจไม่ใช่นักแสดงค่าตัวหลายหลัก แต่เป็นคนทั่วไปที่ทำให้คนรู้สึกเข้าถึงได้มากกว่า ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ให้เป็นการทำเพื่อสังคม ตัวอย่างคลิปโฆษณาที่คนธรรมดาใช้ แต่ไวรัลในหมู่คนดู ไม่ว่ายอดขายจะเป็นเช่นไร แต่ยอดแชร์ถล่มทลายและจับจองพื้นที่ใจผู้บริโภคเข้าไปแล้วเต็ม ๆ
คุณมีความครีเอทีฟในตัวหรือเปล่า ? คำถามที่หลายคนอาจรีบตอบปฏิเสธในทันทีทันใด เพียงเพราะความเชื่อที่ตีกรอบว่าครีเอทีฟนั้นเป็นชื่ออาชีพเฉพาะ ที่เหมาะกับคนความคิดสร้างสรรค์ล้นปรี่เท่านั้น ทั้งที่จริง ๆ แล้ว ไม่ว่าจะทำงานสายไหน หรือประกอบอาชีพใด ๆ ก็ตาม พลังสร้างสรรค์หรือความ Creativity นั้นเป็นพลังสำคัญที่มักจะถูกดึงออกมาใช้ในการทำงานอยู่เสมอทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ด้วยปริมาณที่มากน้อยแตกต่างกันไปในลักษณะงาน แม้กระทั่งการใช้ชีวิตในด้านอื่น ๆ หากลองสังเกตตัวเองดี ๆ ก็จะพบว่าบ่อยครั้งที่พลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ได้เข้ามาช่วยให้การใช้ชีวิตมีสีสัน แถมยังมีอีกหลายวิกฤตชีวิตที่สามารถผ่านมันไปได้ด้วย Creativity Skill ที่มีอยู่ในตัวของทุกคนนี่แหละ แต่การที่บางคนนั้นมีออร่าความคิดสร้างสรรค์ฉายแสงออกมาอย่างโดดเด่นกว่าชาวบ้านชาวช่อง จริง ๆ แล้ว คนเหล่านี้ไม่ได้มีพรสวรรค์ที่พิเศษเหนือใคร แต่ความคิดสร้างสรรค์มากมายนั้นเกิดจากประสบการณ์ที่ผ่านมาสั่งสมเป็นวัตถุดิบชั้นดี ผสานเข้ากับความช่างสังเกต ช่างสงสัย กล้าที่จะตั้งคำถาม และหาทางออกของคำตอบใหม่ ๆ จนกลั่นกรองออกมาเป็นไอเดียคม ๆ รวมถึงวิธีสร้างงาน วิธีนำเสนองานที่โคตรเจ๋ง ให้หลายคนได้อุทานว่า “คิดได้ไงวะ” กันอยู่บ่อย ๆ และเมื่อใช้คำเรียกต้นทางของความคิดสร้างสรรค์ว่า “วัตถุดิบ” แน่นอนว่าวัตถุดิบเหล่านี้มันต้องมีวันหมด ถ้าไม่ออกไปเปิดหูเปิดตา เปิดมุมมองหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ยังไงซะวันที่ไอเดียตีบตันมันก็ต้องมาถึง วันนี้เราจึงอยากพาชาว UNLOCKMEN ที่ไม่ว่าจะเป็นครีเอทีฟโดยอาชีพ หรือใครที่อยากอัพสกิลความครีเอทีฟของตัวเองให้พุ่งกระฉูด
ความคิดสร้างสรรค์กลายเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แทบจะแตะต้องไม่ได้ เรียกว่าไปบีบคั้นมันมากเท่าไหร่ มันก็ยิ่งมีแนวโน้มว่าจะแหลกสลายลงไปตรงหน้ามากเท่านั้น บางทีเค้นให้ตายก็ไม่ออกมา จนเลือดเราขึ้นหน้าด้วยความโมโห UNLOCKMEN อยากจะบอกว่าอย่าเพิ่งหัวร้อนไป ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้ลอยมาจากอากาศ แต่อยู่ที่การฝึกนิสัยให้เราเป็นคนสร้างสรรค์ แล้วจะสร้างฉัน สร้างฝันนั้นให้สำเร็จได้อย่างไร ใช้เวลานานหรือเปล่า เราบอกเลยว่าขอเวลาแค่ 10 นาทีต่อวันเท่านั้น เพื่อฝึกเราเป็นคนใหม่ คิดอะไรสร้างสรรค์กว่าเดิม The Journey of A Man And A Dog การบริหารกล้ามเนื้อส่วนความคิดสร้างสรรค์ ถูกตั้งชื่อตามลักษณะง่าย ๆ แต่ทำได้จริงของมันว่า The Journey of A Man And A Dog มันง่ายสุดง่ายจนผู้ชายทุกคนต้องตะโกนออกมาว่า เฮ้ย รู้อย่างนี้ทำตั้งนานแล้ว! จุดเริ่มต้นของมันอยู่ที่คุณหลับตาแล้วจินตนาการให้ชัดเจนว่ามีผู้ชายหนึ่งคนและหมาหนึ่งตัว จากนั้นค่อย ๆ พิจารณาความสัมพันธ์ของผู้ชายคนนั้นกับหมาหนึ่งตัวในห้วงจินตนาการสุดบรรเจิดของคุณ หมาตัวนั้นมาจากไหนกันนะ? หมาตัวนั้นอยู่กับผู้ชายคนนั้นมานานแค่ไหนกัน? สุนัขตัวนั้นเป็นพันธุ์อะไร? หมาตัวนั้นเป็นของผู้ชายคนนั้นหรือเปล่า? แล้วทั้งเขาและมันกำลังทำอะไรอยู่ที่ไหนกัน? เริ่มจากคิดถึงรายละเอียดง่าย ๆ พื้นฐานทั้งหมด แต่ครอบคลุมทุก ๆ รายละเอียดเท่าที่เราจะจินตนาการออกในหัว