

Business
SANSIRI BACKYARD โปรเจกต์เปลี่ยนสถาปัตย์เป็นฟาร์มออร์แกนิกลอยฟ้าเพิ่มความสดและความสุข
By: unlockmen July 23, 2019 154762
จากโปรเจกต์ Sansiri Tree story ที่แสนสิริคงสภาพพรรณไม้รูปทรงสวยงามที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ว่างก่อนพัฒนาโครงการโดยไม่ตัดและหาวิธีรักษาไว้ กระทั่งเข้าไปพัฒนาโครงการจนเสร็จสมบูรณ์และออกแบบให้สถาปัตยกรรมอยู่ร่วมกับสีเขียวได้อย่างลงตัว ทำให้เห็นว่าปัจจุบัน โมเดลธุรกิจเริ่มหันไปให้คุณค่ากับสีเขียวมากขึ้น และ “แสนสิริ” ก็นับว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ใส่ใจกับคุณภาพชีวิตและสังคมเสมอมา
แต่ล่าสุดยังไม่หยุดแค่นั้นเพราะแสนสิริยังก้าวเป็นผู้นำด้านนำด้าน Green และ Well-Being ของวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยจากการต่อยอดโปรเจกต์ Sansiri Backyard @ Sansiri Project ซึ่งเกิดจากการร่วมมือระหว่างแสนสิริ และ พลัส พร็อพเพอร์ตี้ เปลี่ยนพื้นที่ส่วนกลางด้วยการยกระดับพื้นที่สวยให้กลายเป็นพื้นที่สวนที่ไม่ลดทอนความสวยเพิ่มขึ้นถึง 30 แห่ง ใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจตลอดปีนี้
คุณจริยา จันทร์เจิดศักดิ์ (ซ้าย) และ คุณนฤมล อาภรณ์ธนกุล (ขวา)
เพื่อพิสูจน์ความสวยที่ไม่ฉาบฉวยแต่หวังสร้างสังคมแห่งความยั่งยืนทั้งสภาพแวดล้อมและชุมชนอยู่อาศัยให้ยาวนาน UNLOCKMEN จึงไปสัมผัสงานดีไซน์ที่อัดแน่นแพสชั่นนี้ถึงถิ่นที่ Onyx โครงการแสนสิริย่านพหลโยธินด้วยสายตาตัวเอง รวมถึงได้รับฟังและพูดคุยร่วมกับคุณจริยา จันทร์เจิดศักดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) และ คุณนฤมล อาภรณ์ธนกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารอาคารที่พักอาศัย บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด
“สร้าง – ปลูก – ดูแล – และส่งต่อ” คือคำสำคัญอธิบายรูปแบบโปรเจกต์ที่ทีมงานพลัสฯ ร่วมแรงร่วมใจกันทำให้เกิดขึ้น เริ่มต้นจากการสร้างพื้นที่ส่วนกลางให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับปลูกพืชผักตามความต้องการจากสำรวจไลฟ์สไตล์ของลูกบ้าน ประกอบกับความเหมาะสมเรื่องเวลาและความสะดวกในการดูแลของพนักงานผู้ดูแลโครงการ จากนั้นจึงนำพืชผลสีเขียวจากเมล็ดพันธ์ุออร์แกนิกที่ทั้งสดกรอบ ไร้สารพิษจากด้านบนอาคารเหล่านี้มาใส่ในแพ็กเกจย่อยสลายได้อย่างใบตองพันด้วยเชือกกล้วยหรือตะกร้าเพื่อส่งต่อสู่ลูกบ้านนำไปประกอบอาหารจนกลายเป็นสังคมน่าอยู่ในที่สุด
“ที่ Sansiri Backyard @ ONYX BY SANSIRI PHAHONYOTHIN สวนผักบนชั้นดาดฟ้าของโครงการได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับการดูแลของนิติและไม่เพิ่มภาระมากจนเกินไป โดยตำแหน่งของต้นผักจะถูกจัดวางให้ดูเป็นเรียบร้อยสวยงาม ด้วยผักสลัดหลากสีสัน มีศัตรูพืชน้อย เติบโตได้ดีทั้งในแสงแดดหรือพื้นที่กึ่งร่ม ทั้งยังให้ผลผลิตที่ดีแก่ลูกบ้าน อย่างกรีนคอส, บัตเตอร์เฮด, เรคโอ็ค, กรีนโอ็ค และฟิลเลย์โดยจะยังปลูกผักกวางตุ้ง คะน้า, ตะไคร้, โหระพาและกะเพรา เพื่อส่งมอบให้ลูกบ้านที่ชื่นชอบผักสวนครัว” คุณนฤมล กล่าว
บอกตรง ๆ ว่าตอนแรกเราเองก็ตั้งข้อสงสัยว่าแค่ผักบนอาคารสูงจะสร้างคุณภาพชีวิตให้ผู้คนได้แค่ไหน แต่จากรับฟังประสบการณ์ตรงของทั้ง 2 ท่านที่เข้ามาลงมือทำและมีส่วนร่วมจริง ๆ ในโปรเจกต์นี้ สรุปข้อดีได้ง่าย ๆ 4 สิ่งต่อไปนี้
ขอบฟ้า เมฆสวย ๆ กับผักสลัดสีเขียวอิ่มตา
ส่วนคำถามที่เราสงสัยว่า ถ้าถอนออกไปกินมันจะโกร๋นไหม? ภาพที่เห็นจะยังสวยอยู่หรือเปล่า คุณนฤมลและคุณจริยายืนยันว่าลูกบ้านจะพบไม่เห็นภาพเหล่านั้น เพราะปกติพนักงานจะเพาะต้นกล้าของผักไว้ก่อนแล้ว เพื่อรอการปลูกลงดิน หลังจากเจริญเติบโตจนครบรอบเก็บเกี่ยวอีกครั้ง ทำหมุนเวียนให้เรากินเป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ดังนั้น มันจึงสวย ชะอุ่มและน่ากินตลอดเวลา
“เราไม่เพียงให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์พื้นที่สีเขียวที่เป็นมากกว่าสวนหย่อมประจำโครงการ แต่เรายังต้องการเชื่อมโยงการใช้ชีวิตของลูกบ้านร่วมกับธรรมชาติให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อเติมเต็มพลังชีวิตให้อุดมสมบูรณ์ ด้วยการบริโภคผลผลิตปลอดสารที่สดใหม่ และมาจากการสร้างประโยชน์ร่วมกันที่ Sansiri Backyard @ Sansiri Projects ภายใต้การดูแลของพลัสฯ” คุณจริยากล่าว
โปรเจกต์นำร่องที่นำเสนอไอเดียให้น่ากิน และน่าอยู่ระยะยาวเป็นคอนเซ็ปต์สถาปัตยกรรมแห่งอนาคตที่ยั่งยืนในเมืองใหญ่ เพราะสุดท้าย ตึกอาจจะดูแข็ง แต่คนในอาคารมีชีวิต การสร้างคอมมูนิตี้ที่ดี ไม่ว่าจะอยู่ท่ามกลางความทันสมัยแค่ไหนคนเราก็ยังต้องการพื้นที่สบายใจและสังคมที่เอื้อเฟื้ออยู่เสมอ