นี่ไม่ใช่ Porsche 911 ธรรมดา แต่มันคือรถที่เกิดจากความฝันของชายคนหนึ่งที่อยากให้ 911 วิ่ง 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง Jan Fatthauer ชายชาวเยอรมันผู้คลั่งความเร็ว ก่อตั้งสำนักแต่งชื่อ 9ff ขึ้นในเมือง Dortmund ด้วยเป้าหมายที่จะ “สร้าง 911 ที่เร็วที่สุดในโลก” โดยใช้ Porsche 911 Turbo (996) มาโมดิฟายท้าทายขอบเขตของ “street-legal car” ที่ต้องทำความเร็วได้เกิน 400 km/h เครื่องยนต์ 3.8L Twin-Turbo Flat-Six 840 แรงม้า แรงบิด 870 Nm RWD ภายนอกชุดแต่งเสริม Aerodynamics ประกอบด้วย Carbon hood, carbon roof, rear wing แบบ Le Mans กับน้ำหนักตัวราว 1,400
โลกของ Patek Philippe เคยสงบ เรียบหรู และอยู่สูงเกินเอื้อม เป็นโลกของทองคำ ความบางเฉียบ และความซับซ้อนในเชิงช่างที่ไร้ที่ติ จนกระทั่งปี 1976 — พวกเขารู้ตัวว่าถ้าไม่เปลี่ยนอะไรซักอย่าง อาจจะโดนแบรนด์ที่เคลื่อนไหวไวกว่าอย่าง Audemars Piguet ทิ้งห่างไปแบบถาวร Nautilus จึงถือกำเนิดขึ้นในปี 1976 ด้วยรหัส Ref. 3700/1 โดย Genta คนเดิม ชายผู้เปลี่ยนทั้งโลกของนาฬิกาหรูด้วยปลายปากกาชั่วข้ามคืน และครั้งนี้ ภายใน 5 นาที Nautilus จึงถือกำเนิดขึ้นในปี 1976 ด้วยรหัส Ref. 3700/1 ชายผู้เปลี่ยนทั้งสองแบรนด์ด้วยปลายปากกาภายในเวลาไม่กี่ปี Genta ให้สัมภาษณ์ในภายหลังว่า ดีไซน์ไอเดียของ Nautilus เกิดขึ้นระหว่างที่เขานั่งอยู่ในร้านอาหารของโรงแรมแห่งหนึ่ง เขาหันไปเห็นผู้บริหาร Patek Philippe กำลังทานข้าวอยู่ในอีกมุม ว่าแล้วก็เกิดไอเดีย บรรเลงแบบร่างลงในกระดาษเช็ดปากตรงนั้นจนเสร็จภายใน 5 นาที ไอเดียของ Nautilus คือการผสมความ sport
AUDEMARS PIGUET Royal Oak Jumbo A-Series เรือนเวลาที่กล้าท้าทายบรรทัดฐาน กล้าเปลี่ยนภาพจำของคำว่า “Luxury” ผลงานที่รังสรรค์โดย Gerald Genta ภายในเวลาเพียงข้ามคืน ย้อนกลับไปในปี 1972 โลกแห่ง Haute Horlogerie ยังตกอยู่ในความสงบนิ่ง นาฬิกาหรูหมายถึงตัวเรือนทองคำ หน้าปัดบางเรียบ สายหนังคลาสสิก เป็นสุนทรียะแบบเก่าแก่ที่ใครก็ไม่กล้าทำลาย จนกระทั่ง Audemars Piguet แบรนด์อิสระจาก Le Brassus ที่กำลังถูกคลื่นควอตซ์จากญี่ปุ่นไล่ล่า โทรหา Gerald Genta ด้วยคำสั่งด่วนที่สุดในชีวิต “ออกแบบนาฬิกาสปอร์ตที่ไม่เหมือนใคร ภายในเช้าวันรุ่งขึ้น” Genta ไม่เพียงแต่ทำทัน แต่สิ่งที่เขาส่งมาคือการปฏิวัติวงการครั้งใหญ่ เขาวาดนาฬิกาเหล็กที่กล้าตีราคาสูงกว่านาฬิกาทอง วางโครงสร้างของ bezel ทรง octagon พร้อมสกรูโชว์หัว สาย integrated steel ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และหน้าปัดที่แต่งแต้มด้วยลวดลาย petite tapisserie จากโรงงานที่ใช้วิธีฝังลายด้วยเครื่องจักร guilloche แบบโบราณ
Porsche 911 ‘Spirit 70’ ย้อนวันวานด้วยกลิ่นอายยุค 70’s ตั้งแต่ภายนอกสี Olive Neo อันเป็นเอกลักษณ์ จนถึงภายในที่ชุบชีวิต “Pasha Seats” เบาะลายตารางสุดเฟี้ยวที่ Porsche เอามาใช้ในช่วงปลายยุค 70s เบาะ Pasha Seats นี่โดดเด่นมาก ๆ นะ เพราะมันไม่ใช่แค่ลายตารางธรรมดา แต่มันเป็น optical illusion เหมือนกำลังเคลื่อนไหวในสายลมตอนขับเร็ว ๆ มาจากไลฟ์สไตล์หรูหราแบบบาร็อคผสมดิสโก้ เท่แสบตาแต่โคตรมีรสนิยม วัสดุเบาะเป็นการผสมผสานของ Textile และ Flock Yarn สี Olive Neo ตัดกับดำอย่างลงตัว ใครที่อินกับลุควินเทจสามารถอัปเกรดเพิ่มลายนี้ไปยังเบาะพนักพิงหลังและแผงคอนโซลได้ด้วย บอดี้สีเขียว Olive Neo ถูกออกแบบมาเฉพาะสำหรับรุ่นนี้โดย Porsche Exclusive Manufaktur เป็นเฉดเขียวหม่นแบบมีเสน่ห์ลึกลับ ผสานกับล้อ Center-lock สีเทาทอง (Gold Grey) ขนาด
เราถูกสอนให้เชื่อว่า ความสุขคือสิ่งที่ต้องวิ่งตามให้ทัน เราถูกหล่อหลอมด้วยภาพจำว่า ถ้าเรียนจบ ได้งานดี มีเงินเดือนดี ซื้อบ้าน ซื้อรถ มีแฟนดี ๆ เดี๋ยวเราก็จะมีความสุขเอง “ถ้าได้สิ่งนั้น ฉันจะมีความสุข” แต่พอได้ทุกอย่างแล้ว ทำไมมันยังรู้สึกว่างเปล่าอยู่ลึก ๆ เหมือนเราทุ่มทั้งชีวิตวิ่งไปข้างหน้าเพื่อไปเจออะไรบางอย่าง แล้วกลับพบว่า มันไม่มีอะไรอยู่ตรงนั้นเลย เหมือนพยายามจะเติมถังน้ำที่มีรูรั่วอยู่ข้างล่าง นักจิตวิทยาเรียกสิ่งนี้ว่า Hedonic Treadmill มันคือวงจรที่เราจะตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ ๆ แค่ช่วงแรก แล้วความรู้สึกพิเศษนั้นจะหายไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็น “เรื่องปกติ” ภายในเวลาไม่นาน แล้วก็เริ่มวิ่งหาเป้าหมายใหม่อีกครั้ง ไม่มีวันพอใจในความสุขที่มีอยู่ในครอบครอง แต่ทำไมบางคนกลับมีความสุขได้ง่าย ๆ กับเรื่องเดิม ๆ ทำไมความสุขถึงแตกต่างกันในแต่ละคน? สาเหตุเพราะ ทุกคนมี “จุดสมดุลของความสุข” ของตัวเอง ซึ่งถูกกำหนดจากพันธุกรรม บุคลิก และประสบการณ์ชีวิต แต่ข่าวดีคือ เราสามารถ “รีเซ็ตลู่วิ่งของความสุข” ได้ ไม่ใช่ด้วยการหาของใหม่มาเติม แต่ด้วยการหันกลับมาเข้าใจความสุขแบบลึกซึ้งมากขึ้น งานวิจัยพบว่ามีวิธีที่ช่วยให้เราเข้าถึงความสุขได้ง่ายขึ้น การฝึกขอบคุณในสิ่งที่เรามีด้วยความตั้งใจทุกวัน การเขียน gratitude journal
ชื่อของ Isami Amemiya อาจไม่ได้ดังในโลก mass media แต่เขาคือศาสดาในจักรวาลแห่งเครื่องยนต์โรตารี่ ชายผู้ก่อตั้งสำนัก RE Amemiya ด้วยความหลงใหลในเครื่องยนต์ 13B-REW ที่ลึกซึ้งที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ RE AMEMIYA 97GT เป็นเวอร์ชันที่หายากสุดของ RX-7 บนพื้นฐานของ Type RZ รุ่นเบาพิเศษจากโรงงาน Mazda ถูกนำมาปรับแต่งด้วยชุด 97GT Widebody แบบเต็มลำ ทุกรายละเอียดอัดแน่นด้วยฟังก์ชันที่แฝงในดีไซน์ ชุดแต่ง GT-style รอบคันได้รับแรงบันดาลใจจากรถแข่ง Le Mans และ Super GT ในยุคนั้น ซึ่งไม่ใช่แค่เพื่อความสวย แต่เพื่ออากาศพลศาสตร์ที่แท้จริง กันชนหน้าที่บึกบึนพร้อมช่องรับอากาศขนาดใหญ่ ฝากระโปรงหน้าพร้อมช่องระบายอากาศ โดดเด่นด้วย Rear Overfenders ที่โป่งราวกับมัดกล้ามในท่อนหลัง และสเกิร์ตข้างที่เสริมมิติของตัวรถให้ดูเตี้ยติดพื้นยิ่งขึ้น ทุกชิ้นมีน้ำหนักเบา ผลิตจากวัสดุไฟเบอร์เรซิ่นบางเฉียบ พร้อมเส้นสายที่ไหลลื่นราวกับเครื่องบินรบ หัวใจของ 97GT คือเครื่องยนต์ 13B-REW ที่ผ่านการโมมาเต็มระบบ full-bridge
ในโลกของ Black Series ที่รถแต่ละคันต่างก็มีความพิเศษเฉพาะตัว และสำหรับโมเดลลำดับที่ 3 ของตระกูล – The SL 65 Black Series ก็มีความพิเศษจากการเป็น V12 รุ่นสุดท้ายของสายพันธุ์แห่งความแรงสะใจสไตล์ OG AMG เครื่องยนต์ V12 6.0L BiTurbo (M275) ให้พลังมหาศาลถึง 670 แรงม้า แรงบิด 1,000 นิวตันเมตร ที่มีเท่านี้เพราะถูก ECU ล็อคเอาไว้เพื่อถนอมเกียร์ 5G-Tronic จาก torque มหาศาล ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง ทำความเร็ว 0-100 km/h ใน 3.8 วินาที เป็น Black Series รุ่นสุดท้ายที่ยังดิบบริสุทธิ์ ไม่มีระบบ Hybrid ไม่มีความซับซ้อน แรงแบบ Old School ท้าทายทุกการควบคุม ความหรูและความสบายถูก
ในโลกที่ Submariner กลายเป็นนาฬิกาหรูสำหรับนักสะสม ใครจะรู้ว่ายุคหนึ่ง Rolex Submariner ถูกสร้างขึ้นเพื่อใส่ใน ‘สงคราม’ สำหรับปฏิบัติการใต้น้ำของทหารอังกฤษจริง ๆ นั่นคือ Rolex Submariner 5513 “MilSub” อีกหนึ่งสุดยอดแห่งความแรร์สำหรับนักสะสมตัวจริง ในช่วงปี 1957 ถึงปลายยุค ‘70s รัฐบาลอังกฤษ โดย Ministry of Defence (MOD) ต้องการนาฬิกาดำน้ำคุณภาพสูงสำหรับหน่วยรบพิเศษ Royal Navy จึงสั่งให้ Rolex ผลิต Submariner ที่ผ่านการดัดแปลงเฉพาะกิจขึ้นมา นาฬิกาเหล่านี้ไม่ได้มีไว้ขาย ไม่เคยอยู่ในแค็ตตาล็อกทั่วไป มันถูกส่งตรงจาก Rolex ไปยัง MOD เท่านั้น โดยมีทั้งหมด 4 รุ่น แต่ที่โด่งดังที่สุดก็คือ Ref. 5513 เรือนนี้ และตามเอกสารยังระบุว่าเป็น standard equipment สำหรับทหารเรืออีกด้วย FUNCTION BEFORE FORM
ในปี 1967 โลกของการดำน้ำลึกไม่ได้อยู่ในการท่องเที่ยวหรือ content creation แต่มันคือโลกของนักสำรวจ นักปฏิบัติการ และวิศวกรใต้น้ำที่ต้องทำงานใต้แรงดันมากกว่า 600 ฟุต และนาฬิกาที่เกิดมาเพื่อเป็นเครื่องมือให้กับคนเหล่านั้นก็คือ Rolex Sea-Dweller และถ้าจะพูดถึงเวอร์ชันที่ทั้งนักสะสมและนักดำน้ำตัวจริงยกย่องมากที่สุด มันก็คือ “Double Red Sea-Dweller” หรือที่รู้จักกันในนาม DRSD ย้อนกลับไปในยุคที่ Rolex กำลังพัฒนา Submariner สำหรับดำน้ำลึก พวกเขาเจออุปสรรคเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมแรงดันสูง และเปลี่ยนระดับความดันอย่างรวดเร็ว กระจกหน้าปัดจะถูก “ดันหลุด” เพราะก๊าซ helium สะสมในตัวเรือนนาฬิกา วิศวกรของ Rolex จึงพัฒนา Helium Escape Valve (HEV) — ช่องระบายแรงดันที่ฝังอยู่ด้านข้างของตัวเรือน และ Sea-Dweller คือนาฬิกาเรือนแรกที่ใส่ระบบนี้เข้าไป “Double Red” คือชื่อเล่นของนาฬิกาเรือนนี้ มีที่มาจากตัวอักษรสีแดงสองบรรทัด SEA-DWELLER และ SUBMARINER 2000 พิมพ์ไว้บนหน้าปัด มันบ่งบอกถึงยุคเปลี่ยนผ่านที่ Rolex