

APPS
อนาคตของ FACEBOOK คำขอโทษของ MARK ทิศทางที่ชี้ชัดว่าข้อมูลของเรายังคงไม่ปลอดภัยแน่นอน
By: unlockmen April 13, 2018 101473
กลายเป็นฟ้าหลังฝนหน้าตาเฉย หลังจากคดีของยอดชายนายมาร์ก CEO เฟซบุ๊กที่ดูเหมือนไหวตัวทันเกมทุกช่องทาง ตั้งแต่การปล่อยขายหุ้นก่อนดิ่งฮวบ เพราะกระแสลบหลายขนาน ทั้งเรื่องปรับอัลกอริทึมที่อยู่ ๆ ก็ห่วงสังคม อยากปรับหน้าฟีดลดความสำคัญของโฆษณากับร้านค้าลง เพราะกลัวผู้คนไม่ Connect กัน (หรอ?) จนร้านรวงบนเฟซบุ๊กออกอาการร้อนผ่าวเพราะต้องอัดฉีดเงินเพิ่มเพื่อให้ได้ยอด view เท่าเดิม หรือข่าวฉาวเรื่องข้อมูลผู้ใช้บริการรั่วไหลสร้างความเสียหายจนเกิดเป็นแคมเปญล้างบัญชีเฟซบุ๊ก #deletefacebook เหล่า HATE SPEECH ที่ยากจะคุมได้ ฯลฯ ไปจนถึงเหตุการณ์ล่าสุดที่ใครก็อดพูดถึงไม่ได้ คือกรณีโดนฟอกขาวช่วงแถลงการณ์กับวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ ในสภาคองเกรสที่บางครั้งเฮียก็ตีหน้าซื่อตอบมึน ๆ แล้วตบท้ายหงายการ์ดตอบไปด้วยคำพูดแมน ๆ ว่า
“It was my mistake, and I’m sorry. I started Facebook, I run it, and I’m responsible for what happens here.”
ก่อนจบ 2 วันในศาลโดยการเอาชนะไปด้วยสกอร์หุ้นที่พุ่งกระเตื้องจากที่เคยหดตัว วันแรกพุ่งขึ้น 4.5 % และเมื่อเขาออกจากศาลในวันที่ 2 ก็พุ่งไปอีก 2.5 % จากหมูสนามกลับลำมาเป็นผู้กล้าอีกครั้ง ทั้งที่คำตอบในศาลฟังแล้วเรายังรู้สึกทะแม่ง ๆ แท้ ๆ งานนี้ใครเจ็บ ใครจำ และใครต้องทำตาม? เราลองมาดูกันตามตัวละครในชั้นศาลดีกว่า
ออกจะน่าสงสารไปหน่อย แต่ Sad but True! เพราะจากคนทำหน้าที่ต้อนเหนือบัลลังก์ในสภาคองเกรสอยู่ ๆ กลับกลายเป็นเบี้ยเนื่องจากต้อนไม่จนมุม แล้วยังดันโดนหัวเราะเยาะเอาในวันสุดท้ายด้วย กับคำถามที่เราจะจดจำไปนานแสนนานของวุฒิสมาชิก Orrin Hatch เรื่องการหารายได้ของเฟซบุ๊กที่ว่า “คุณจะรักษาโมเดลธุรกิจได้อย่างไร ถ้าผู้ใช้ไม่จ่ายเงินใช้ Facebook” ถามอย่างนี้ก็เสร็จสิ นี่ดันเข้าใจไปว่าเฟซบุ๊กเสียค่าสมัครเข้าใช้ ตัดภาพมาอีกทีก็เจอภาพอมยิ้มตัวโยนของเฮียมาร์กก่อนตอบออกฉะฉานว่า “ผมขายโฆษณาครับท่าน” เล่นเอาโอละพ่อเลยทีนี้ คงจะโดนจดจำไปนานแสนนานพร้อมกับ Meme ที่ว่า “We run ads.”
#We run ads.
แต่สำหรับวุฒิสภาบางท่านก็ต้องยกนิ้วให้ เพราะกู้สถานการณ์โยนคำถามเฉียบใส่จนเสียงคำตอบเบาลง คำถามส่วนมากเท่าที่สังเกตเรื่องที่สามารถเขย่าขาเก้าอี้มาร์กได้มักจะเป็นประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวของบัญชีผู้ใช้ในเฟซบุ๊กเสียเป็นส่วนใหญ่ อันมาจากความโป๊ะแตกเรื่องข้อมูลผู้ใช้จำนวนกว่า 87 ล้านคนหลุดรอดไปจนถึง Cambridge Analytica – บริษัทที่ปรึกษาทางการเมือง ซึ่งทางบริษัทได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลชุดนี้เป็น big data สำคัญในช่วงหาเสียงของ Donald Trump ช่วง พ.ศ. 2559 ซึ่งคำถามเรื่องความเป็นส่วนตัวเฉียบ ๆ ที่บันทึกไว้เป็นที่โจทย์จันกันหลายช่วงไม่น่าปล่อยผ่านไปก็คือการสวนบทสนทนากันแบบนี้
Dick Durbin VS Mark Zuckerberg
วุฒิสมาชิก Dick Durbin : เมื่อวานคุณไปพักที่ไหนบอกเราได้ไหม ?
มาร์ก : ไม่ครับ (ตอบอึกอัก)
วุฒิสมาชิก Dick Durbin : ถ้าคุณส่งข้อความไปหาใครอาทิตย์นี้คุณโชว์รายชื่อคนพวกนั้นให้พวกเราดูได้ไหม
มาร์ก : เรียนท่านวุฒิสมาชิก ผมเกรงว่าจะไม่ได้ครับ ตอนนี้ ในที่สาธารณะแบบนี้
วุฒิสมาชิก Dick Durbin : นั่นล่ะ ผมคิดว่านั่นคือสิ่งที่เกี่ยวข้องกันทั้งหมด สิทธิของการหวงความเป็นส่วนตัวของคุณ การจำกัดสิทธิความเป็นส่วนตัว และมีมากน้อยแค่ไหนที่คุณให้ไปในอเมริกายุคใหม่เพื่อการเชื่อมต่อผู้คนทั่วโลก
credit photo: sputniknews.com
ถ้าใครที่ฟังเฮียมาร์กแถลงการณ์ในสภาจะต้องเกิดความรู้สึกอยู่ 2 อย่าง คือหมอนี่พาซื่อ กับอีกอย่างคือนี่แหละ! ปลาไหลตัวเอ้ แต่เราขอเทคะแนนให้อย่างหลังมากกว่า เพราะแน่นอนว่าไอ้อาการตีมึนที่เห็นแสดงออกถี่ ๆ ในสภา ถามเรื่องตอบอีกเรื่องไปให้รู้สึกกวนโมโหแทนการตอบตรง ๆ นั้น ก็คงเป็นเพราะเขาคิดว่ามันจะมีผลกระทบตามมาภายหลัง เอาวะกูไม่รู้จะยังไงแล้ว ตอบกลาง ๆ เลี้ยวไปเลี้ยวมาแทนแล้วกัน ตราบเท่าที่จับไม่ได้ไล่ไม่ทันกูก็จะตอบมันวนไปน่ะแหละ
ส่วนสำคัญที่สุดที่ต้องซูฮกให้คือเมื่อเจอคำถามที่วุฒิสมาชิกท่านหนึ่งขอให้มาร์กให้คำมั่นเรื่องการรักษาความเป็นส่วนตัวคนใช้งานเพิ่มขึ้น เอาข้อมูลกลับไปน้อยที่สุดหน่อย แล้วเขาสวนตอบกลับไปว่า “เรื่องนี้มันซับซ้อนครับท่าน มันน่าจะต้องการคำตอบมากกว่าคำ ๆ เดียว” แปลได้ว่า “ไม่ทำ” เพราะคำคำเดียวที่ควรตอบว่า YES ในคำตอบนี้มันถูกปฏิเสธเอาเสียแล้ว
credit photo: qz.com
ตัวอย่างคำถามคำตอบ “คนละเรื่องเดียวกัน” 2 คำถาม
1. วุฒิสมาชิก Lindsey Graham ถามว่าเฟซบุ๊กนี่ผูกขาดมากไปหรือเปล่า ใครเป็นคู่แข่งที่สำคัญที่สุดของคุณ ? แต่เฮียตอบกลับอย่างคลุมเครือให้งง ๆ ด้วยการสรุปประเภทบริษัทคู่แข่ง ต่อเนื่องด้วย ทุกวันนี้คนอเมริกันใช้เฉลี่ยตั้ง 8 แอปฯ ในการสื่อสารกัน จบท้ายการโดนจี้ว่าส่วนตัวผมไม่ได้รู้สึกว่าเฟซบุ๊กมันผูกขาดครับ (ทั้งที่ในเชิงสถิติ ไอ้ 8 แอปฯ ทั้งหมดก็ต้องมีเฟซบุ๊กเอี่ยวอยู่ครบแทบทุกคนที่ใช้แท้ ๆ
แต่ด้วยความที่ถ้าวัดกันตามส่วนแบ่งตลาดที่มีผู้วิเคราะห์ไว้ในปี 2017 ถึงแม้เฟซบุ๊กจะสร้างรายได้จากการโฆษณาในธุรกิจถึง 98% ก็ตาม แต่ก็ยังพ่ายให้กับ Google บริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน IT ที่ใช่ช่องโฆษณาผ่านแค่ทาง Youtube ก็กินอิ่มเหนาะ ๆ ถึง 35,000,000,000 ดอลลาร์ในสหรัฐฯ ขณะที่เฟซบุ๊กบอกว่าตัวเองได้แค่ 17,400,000,000 ดอลลาร์เท่านั้น ฟังขึ้นถูกไหม ?)
2. วุฒิสมาชิก Chuck Grassley ถามว่ามีการถ่ายโอนข้อมูลที่เหมาะสมเกิดถี่แค่ไหน? เฮียก็ตอบว่า เดี๋ยวผมให้ฝ่ายตรวจสอบของผมกำลังหาก่อนครับ
แต่ถ้าอันไหนเสียเชิงจับได้ หรือต้อนจนมุมแล้วล่ะจะทำยังไง “ขอโทษ” นี่แหละคือไม้ตาย คิดดูว่าวันสุดท้ายของแถลงการณ์เฮียแกใช้ประโยคว่าด้วยคำขอโทษตลอดรายการไปชนิดที่มีคนนับไว้ว่ามันเยอะถึง 40 ครั้ง!
ตัวอย่างคำถามคำตอบ “ขอโทษ” ที่กินใจคน 2 คำตอบ
นับว่าความฉลาดที่จะไม่ตีมึนต่อไป เพราะมันเรียกคะแนนความสงสารและความจริงใจแบบปุถุชนธรรมดาที่ถึงจะเก่งแค่ไหนผมก็ทำผิดได้นะครับ ใต้เจตนารมณ์แบบที่มาร์กบอกว่า ผมก็ไม่ได้ตั้งใจและข้อมูลผมก็รั่วเหมือนกันแต่ไม่เป็นไรนะครับความผิดทั้งหมดมันของผม ผมรับไว้เอง เลยรับคะแนนจากคนฟังแบบ 10 10 10 คะแนนเต็ม ความเชื่อมั่นที่หดหายก็เริ่มกลับมาอีกคร้ัง หุ้นก็โจนทะยานกลับมาเขียวเหมือนเก่า ถึงอย่างนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ก็ทำให้เขาต้องจำมันไปอีกนานแสนนานกว่าจะลุกมาขยับหยิบจับอะไร
ขนาดคนในสภายังทำอะไรมาร์กไม่ได้ แล้วคนที่เป็นผู้ใช้ธรรมดาอย่างเรา ๆ ล่ะจะทำยังไง แม้ฟังแนวทางการรับผิดชอบของมาร์กมันก็ช่างจะ 2 แง่ 2 ง่ามเสียเต็มประดา เพราะเขาบอกว่าเขาให้สิทธิพวกเราเวลาใช้งานแล้ว เรื่องข้อมูลบนเฟซบุ๊กเนี่ย ผู้ใช้เนี่ยแหละเป็นคนควบคุม ไม่ใช่โผ้มมมมม ผมเปล่าบังคับคุณแชร์ ผมถามคุณก่อนแชร์ และผมให้สิทธิคุณลบทุกอย่างที่คุณอยากจะลบ ถามจริงองค์กรสอดแนมที่ไหนมันจะให้ทางเลือกคุณแบบนี้ ดูเจตนาของผมก่อนสิครับ ฟังแล้วอาจจะดูโคตรจะแฟร์แต่ก็แปลไทยเป็นไทยได้ง่าย ๆ ว่าเมื่อไหร่คุณเป็นตาสีตาสาที่ดันอ่านข้อมูลไม่ละเอียดกดตกลงไป มันหมายความว่า คุณทำเอง ผมไม่รับผิดชอบ ถูกไหม ?
แต่นอกจากบทสรุปที่ผู้ใช้บริการต้องเอาชีวิตรอดด้วยการปกป้องตัวเองอยู่ดี การจัดแถลงการณ์ครั้งนี้ก็ถือเป็นการเปิดโลกให้เราเหมือนกัน เพราะอย่างน้อย 3 สิ่งที่คุณอาจยังไม่รู้หรือไม่เคยนึกถึง แม้ว่านายจะเข้าทีม #deletefacebook ตาม Playboy หรือ Elon Musk ไปก็ตามคือสิ่งเหล่านี้
สุดท้ายแล้วเรื่องเล่าจากสภาฯ จะบอกอะไรเรา ? แถลงการณ์ที่มีในครั้งนี้เอื้อประโยชน์ให้ใครกันแน่เป็นเรื่องที่น่าจะต้องตามกันต่ออย่างใกล้ชิด แต่ลงท้ายแล้วการมี account เฟซบุ๊กก็เหมือนเราขออาศัยบ้านของเขาอยู่มาร์ก ที่เป็น CEO เฟซบุ๊กก็คือ Host ที่เรามาขออยู่ด้วย เมื่อตัวเราไม่มีสิทธิขาดในพื้นที่ก็ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ตามที่ดีหากยังอยากอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น แถมถึงไม่อยู่บ้านแต่อยู่หน้าบ้านมาร์กก็ยังติดกล้องวงจรปิดตามในรัศมีรอบบ้าน มองเห็นอนาคตรำไรกันบ้างหรือยัง สุดท้ายในฐานะผู้บริโภค เราก็คงยืนมองอยู่ขอบสนามเหมือนเดิมอยู่ดีนั่นแหละ ไม่ว่าเราจะให้อภัยมาร์กหรือไม่ คิดจะอยู่ในระบบไหนก็คงต้องเคารพกฎของผู้สร้างระบบนั้นโดยดี