

DESIGN
‘เจกิตาน์ โตนิติ’ จิตอาสาปั้นประติมากรรมประดับพระเมรุมาศ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ร.๙
By: LIT October 25, 2017 80151
นับตั้งแต่วันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคต ชาวไทยทั้งแผ่นดินก็ตกอยู่ในบรรยากาศแห่งความโศกเศร้า เราล้วนมีวิธีการจัดการความโศกเศร้าที่แตกต่างกันไป บ้างก็เลือกน้อมนำแนวพระราชดำริมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้รู้สึกว่าพระองค์ท่านยังประทับอยู่ในใจเราเสมอ แต่ แจม-เจกิตาน์ โตนิติ บัณฑิตสาวจากรั้วจามจุรี เลือกการลงมือทำด้วยการร่วมถวายงานครั้งสุดท้ายอย่างสมเกียรติ ในการเป็นจิตอาสาปั้นประติมากรรมประดับพระเมรุมาศงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชกาลที่๙
ขอขอบคุณภาพจาก : Santisuk Danpisuth
โดยผู้รับผิดชอบหลักในการปั้นประติมากรรมครั้งนี้คือ สำนักช่างสิบหมู่กรมศิลปากร ซึ่งเป็นเสาหลักสำคัญของศิลปะไทย ได้เปิดรับสมัครจิตอาสาช่วยงาน ผู้ที่สมัครจะต้องผ่านการคัดเลือก และทดสอบฝีมือก่อน มีคนให้ความสนใจสมัครเป็นจำนวนมาก และแจมก็เป็นหนึ่งในจิตอาสาที่ได้เข้าร่วมปั้นหุ่นต้นแบบ เพื่อนำไปใช้เป็นแม่พิมพ์หล่องานปั้น หรือประติมากรรมประดับตกแต่งรอบพระเมรุมาศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ล้วนเป็นต้องใช้ความละเอียดประณีตทุกขั้นตอน
เรามีโอกาสได้ร่วมพูดคุยกับเจกิตาน์ โตนิติ หรือ แจม เกี่ยวกับการร่วมเป็นจิตอาสาและเบื้องหลังงานรังสรรค์ศิลป์แห่งการประดับพระเมรุมาศ
ขอขอบคุณภาพจาก : Santisuk Danpisuth
เจกิตาน์ โตนิติ หรือ แจม เรียนจบจาก คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาทัศนศิลป์ เอกประติมากรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชอบวาดนู่นนี่ตั้งแต่เด็ก สนใจรูปภาพสีสัน เลยเลือกเรียนศิลปะ ส่วนประติมากรรมพึ่งมาชอบตอนที่ได้ลองทำจริงในการเรียนในมหาวิทยาลัยช่วงปี 1 เลยค้นพบว่าตัวเองชอบอยู่กับสิ่งที่ได้ลงมือลงแรง ได้ขยับ มันสนุกดีเลยเลือกเรียนเป็นเอกประติมากรรม ตอนปี 3
ขอขอบคุณภาพจาก : Santisuk Danpisuth
พูดถึงการเริ่มต้นเรียนด้านศิลปะหน่อยว่ามีที่มาอย่างไร
ที่บ้านให้การสนับสนุนดีมาก อยากให้เราเรียนในสิ่งที่มีความสุขตลอด เพียงแค่เขาขอให้เราตั้งใจทำ สิ่งที่ชอบให้ดีที่สุด ให้กำลังใจในเวลาท้อตลอดมา
ล่าสุดมีโอกาสได้เข้ามาเป็นช่างจิตอาสาในการทำงานศิลป์ประดับพระเมรุมาศงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง ร.๙ ฝ่ายประติมากรรม ทำอยู่ที่สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร พุธมณฑลสาย 5 บางวันก็ได้เข้าไปทำในส่วนของสนามหลวงบ้าง
ขอขอบคุณภาพจาก : Santisuk Danpisuth
ขอขอบคุณภาพจาก : ทีมงานกบนอกกะลา
เล่าถึงโอกาสที่ทำให้เราเข้าไปช่วยงานประติมากรรมประดับพระเมรุมาศหน่อยว่ามีที่มาอย่างไร
มีพี่เจ้าหน้าที่ในกรมศิลปากรที่คุณแม่ของแจมรู้จัก เขามาชวนว่าที่สำนักตอนนี้ต้องการช่างอาสาพระเมรุมาศอยู่ เราเข้าไปในช่วงแรก หัวหน้ากลุ่มประติมากรรมก็ให้เราทำหลาย ๆ อย่างดูว่าเราทำอะไรได้บ้างและพอช่วยส่วนไหนได้บ้าง เลยได้มีโอกาสเข้ามาช่วยในฝ่ายประติมากรรม
ส่วนที่เราได้รับผิดชอบในการทำงาน แจมได้ช่วยเก็บรายละเอียด ปั้นบางส่วน ขัดแต่ง ต้นแบบของ ท้าวธตรฐ(1ในเทพจตุโลกบาล) และ ครุฑหัวเสาขนาดเล็ก1.5 ม.(จะมีสองขนาด)
ขอขอบคุณภาพจาก : ช่างภาพกรมศิลปากร สำนักช่างสิบหมู่
ที่ภูมิใจที่สุดคือได้ใช้สิ่งที่ได้เรียนมาในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปั้นงานศิลป์ประกอบงานพระเมรุมาศครั้งนี้ คือเรามีโอกาสได้นำสิ่งที่เคยทำกลับมาใช้ในการทำงานและพัฒนาฝีมือของตัวเอง
“พ่อหลวงรัชกาลที่ ๙ เป็นแรงบัลดาลใจหลาย ๆ อย่างในชีวิตแจม พระองค์ทรงทำเพื่อคนไทยทุกอย่าง แสดงให้เห็นถึงความรักที่แท้จริงของพระองค์ที่มีต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นคำสอนในทุก ๆ เรื่องของพระองค์นำมาใช้ในชีวิตและพัฒนาตัวเองได้ทั้งหมด แม้จะเหนื่อยเพียงไหนพระองค์ก็ยังทำได้สำเร็จ พระองค์มีอัฉริยะในทุก ๆ ด้าน รวมถึงด้านศิลปะด้วย พระองค์ใช้ความรู้สึกและมีความสุขที่ได้ทำ แจมดีใจที่มีโอกาสเรียนรู้จากพระองค์ในทุกเรื่อง”
ขอขอบคุณภาพจาก : Santisuk Danpisuth
การถวายงานครั้งนี้ทำให้แจมได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หลายอย่าง นอกจากจะได้ฝึกฝนพัฒนาการปั้นของตัวเอง ได้พัฒนาการขัดและแต่งปูนด้วย ยังได้เรียนรู้ลายไทย เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของไทย เรื่องราวมหาเทพ เทพจตุโลกบาล เทวดา และ สัตว์หิมพานต์เป็นต้น เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น ได้เห็นวิธีการปั้นของประติมากรชั้นครูหลาย ๆ คนอีกด้วย
ขอขอบคุณภาพจาก: Pakakeeta Palm Karwkanya
“เราภูมิใจมากที่ได้เป็นส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งในการสร้างครั้งนี้ เป็นโอกาสที่สูงสุดในชีวิตของทั้งแจมทั้งครอบครัวของแจม และที่สำคัญโอกาสนี้เป็นครั้งสุดท้ายที่แจมจะได้รับใช้พระองค์ ทำเพื่อถวายพระองค์ ในหลวง ร.๙ ”
ขอขอบคุณภาพจาก : ช่างภาพกรมศิลปากร สำนักช่างสิบหมู่
หลังจากที่เรามีโอกาสได้เข้าไปทำงานร่วมกับศิลปิน กรมศิลปากรแล้วเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง
หลังการร่วมงานครั้งนี้ อย่างแรกเลยคือความสนใจในลายไทยของเรามากขึ้น อยากเรียนรู้ต่อในหลาย ๆ เรื่องของศิลปะไทย บ้างก็มีค้นหารูปลายไทยที่เราสนใจเก็บไว้ในมือถือตอนหลังเลิกงาน เพื่อจะเอาไว้ดูในตอนปั้น และเวลาตื่นนอนเปลี่ยนไป กลายเป็นตื่นเช้าและนอนเร็วขึ้น ได้คุยกับครอบครัวบ่อยขึ้นเพราะญาติ ๆ และพ่อแม่จะสนใจและถามเกี่ยวกับงานจิตอาสา ทำให้เรามีเพื่อนแลกประสบการณ์ความรู้เพิ่มขึ้นด้วย
ขอขอบคุณภาพจาก : ช่างภาพกรมศิลปากร สำนักช่างสิบหมู่
ความรู้สึกที่ได้ร่วมงานปั้นประดับประติมากรรมในครั้งนี้
แจมบอกได้เลยว่าดีใจและโชคดีมากที่ได้เจอทุกคนได้ร่วมงานกัน ทุกคนทั้งเก่งและใจดี มีน้ำใจช่วยเหลือกันในการทำงานตลอด ในการทำงานก็สนุกและมีความสุขตลอด ถึงเราจะเหนื่อยกันบ้างแต่ก็ยังสนุกกันได้ในการทำงาน อาสาบางคนน่ารักมากเขาทำงานศิลป์ไม่ได้ เขาก็นำอาหารขนมน้ำมาให้ มาแบ่งปันช่าง บ้างก็มาร้องเพลง เล่นดนตรี ให้ฟัง เป็นกำลังใจให้ช่างที่ทำงานด้วย
ส่วนในการแบ่งงานของฝ่ายประติมากรรม พี่ ๆ ประติมากรจะมีผู้ช่วยปั้นรูปละประมาณ 2-3 คนประกบอยู่ แต่ส่วนมากช่างอาสาถ้ามีอะไรที่เค้าต้องการให้ช่วย ช่วยได้ก็ช่วยหมด เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ทำ
ขอขอบคุณภาพจาก : ช่างภาพกรมศิลปากร สำนักช่างสิบหมู่
เรายังอยาก UNLOCK ทักษะอะไรของตัวเองอีกบ้าง
อนาคตที่วางแผนไว้ คือแจมตั้งใจอยากจะสอบเข้าทำงานในสำนักช่างสิบหมู่ต่อ ยังไม่รู้ว่าจะทำในตำแหน่งไหนแต่ตั้งใจจะลองสอบเข้าดู อยากทำงานเป็นข้าราชการและรับใช้หลวงต่อไป อีกอย่างคือแจมรู้สึกประทับใจในการทำงานร่วมกับพี่ ๆ ในครั้งนี้ด้วย รู้สึกผูกพันธ์และอยากร่วมงานกับทีมต่อ
ขอขอบคุณภาพจาก : Santisuk Danpisuth
“เราถือได้เป็นเกียรติสูงสุดในชีวิตที่ได้ร่วมทำงานถวายพระองค์ท่านในการทำงานประติมากรรรมประกอบพระเมรุมาศ ในหลวง ร.๙ นี้ และ ขอขอบคุณสำนักช่างสิบหมู่ที่ให้โอกาส ขอบคุณทีมงาน ทุกท่าน และทุกกำลังใจ”
ในงานครั้งนี้แจมภูมิใจที่ได้เป็นตัวแทนคนหนึ่งของคนไทย ที่ได้มีโอกาสทำงานศิลป์ถวายในหลวง ร.๙ แจมตั้งใจในงานครั้งนี้ที่สุดในชีวิต ถึงแม้แจมจะช่วยอะไรไม่ได้มากมาย แต่ในส่วนเล็กน้อยนั้น แจมทำแทนทุกคนที่ไม่ได้มีโอกาสเข้ามา เต็มที่สุดใจเพื่อพระองค์จริง ๆ และในงานครั้งนี้ทำให้แจมเห็นว่าคนไทยรักและเคารพในหลวง ร.๙ แค่ไหน ทุกคนรักกันร่วมมือร่วมใจสามัคคีเต็มที่ในงานครั้งนี้เพื่อพระองค์คนเดียวกัน และแจมอยากเห็นภาพคนไทยที่รักกันแบบนี้ตลอดไป
ขอขอบคุณภาพจาก :