นับตั้งแต่ NIKE ได้ลงนามเป็นพันธมิตรกับสมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติสหรัฐฯ (NBA) ในปี 2015 สัญญาก็ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ในฤดูกาล 2017-2018 ในวันนี้ NIKE และ NBA จะเปิดเผยเบื้องลึกเบื้องหลังในการร่วมมือระหว่างนักออกแบบและวิศวกรของไนกี้ รวมถึงนักวิทยาศาสตร์การกีฬาและนักบาสเกตบอลอาชีพที่ได้จับมือกันพัฒนาชุดแข่งบาสเกตบอล ที่มีนวัตกรรมล้ำหน้าที่สุดเท่าที่ NIKE ได้เคยพัฒนามา ในช่วง2 ทศวรรษก่อนนั้น กีฬาบาสเกตบอลเป็นเรื่องของสรีระของผู้เล่น ผู้เล่นมักจะเน้นการเข้าแย่งบอลหรือจับบอลไว้ กับตัว บาสเกตบอลในยุคนั้นจึงมีจังหวะการเล่นที่ช้าและเป็นระบบมาก ต่อมากีฬาบาสเกตบอลมีการเปลี่ยนแปลงกติกา เช่นการกำหนดวิธีป้องกันฝ่ายรุกที่ผิดกติกา (ลดการตั้งรับแบบตั้งโซนโดยใช้แนวป้องกันที่เข้าข่ายผิดกติกา) และลดเวลาที่ผู้เล่นสามารถครอบครองบอลเพื่อให้การแข่งขันเร็วและไหลลื่นขึ้น ผู้เล่นบาสเกตบอลทุกระดับจึงต้องปรับตัวเองให้เข้ากับกติกานี้นั่นก็คือ พวกเขาต้องเคลื่อนไหวในสนามให้เร็วขึ้นและตัดสินใจให้เร็วขึ้นขณะแข่งขัน ทีมบาสเกตบอลอาชีพหลายทีมมีผู้เล่นในทีมน้อยลงและเริ่มเล่นเกมรุกอย่างเต็มตัว “รูปร่างของนักบาสเกตบอลในปัจจุบันแตกต่างจากนักบาสเกตบอลเมื่อ 10 ปีก่อนอย่างสิ้นเชิง วิธีการเคลื่อนที่ในสนามหรือตำแหน่งต่าง ๆ ในการเล่นก็แตกต่างกันด้วย เคิร์ท พาร์กเกอร์ (Kurt Parker) รองประธานฝ่ายการออกแบบเครื่องแต่งกายของไนกี้อธิบายว่า “ข้อแตกต่างเหล่านี้เป็นเหตุผลที่ไนกี้อยากพัฒนาทั้งคุณสมบัติและรูปลักษณ์ของชุดแข่งบาสเกตบอลไปพร้อม ๆ กัน” วัตถุประสงค์ที่คุณพาร์กเกอร์ ได้กล่าวข้างต้นเป็นวัตถุประสงค์หลักที่ทำให้ NIKE เปลี่ยนไปหลังจากลงนามเป็นพันธมิตรกับ NBA เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2015 นักออกแบบของไนกี้ลงมือออกแบบชุดบาสเกตบอลรุ่นใหม่ที่ไร้สิ่งรบกวนผู้สวมใส่ช่วยให้พวกเขารู้สึกสบายตัว เคลื่อนไหวได้คล่องตัวขึ้น และดูสวยงามในทันที ทีมงานนักออกแบบของไนกี้ที่มีประสบการณ์กว่า 25
เป้าหมายของงานดีไซน์ คือการยกระดับคุณภาพชีวิตที่มีอยู่ให้ดีขึ้น ไม่ใช่แค่ออกแบบให้ดูสวยงามเพียงอย่างเดียว ซึ่งการออกแบบสามารถเป็นอะไรก็ได้ แม้แต่ตัวหนังสือ โดยล่าสุดนักออกแบบ Kosuke Takahashi ผู้เกิดความสงสัยว่า ทำยังไงถึงจะอ่านอักษรเบรลล์ ซึ่งเป็นอักษรสำหรับคนตาบอด ประดิษฐ์โดย หลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) ครูตาบอดชาวฝรั่งเศส ทำให้คนตาบอดจำนวน 285 ล้านคนสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ Kosuke จึงเกิดไอเดียอยากออกแบบตัวอักษรที่ทำให้ทั้งคนตาดีและคนตาบอดใช้ร่วมกันได้ นี่จึงเป็นที่มาของ BRAILLE NEUE ฟอนต์สุดเท่เปลี่ยนโลกชุดนี้ Kosuke เริ่มการทดลองโดยการเอาตัวอักษรเบรลล์มา map เข้ากับตัวอักษรปกติ แน่นอนว่าการวางเข้าไปเฉย ๆ มันยังไม่พอ เพราะอักษรเบรลล์นั้นมีความซับซ้อน ไม่ได้ represent ตัวอักษรปกติได้มากนัก ตัวอย่างเช่นเลข 2 กับ 3 โดยเลข 2 ในอักษรเบรลล์จะเป็น 2 จุดเรียงลงมา แต่เลข 3 ก็มี 2 จุดเหมือนกัน ไม่ใช่ 3 จุด และเรียงเป็นแนวนอนด้านบน ยิ่งยากยิ่งท้าทาย