หนังสือไม่เพียงบอกเล่าเรื่องราวภายใน แต่ยังสะท้อนเรื่องราวของคนอ่านด้วยว่ามีความสนใจเรื่องไหน ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับหนังสือจึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถแยกขาดจากกันได้ นี่จึงเป็นโอกาสดีที่เราแอบทำโปรเจกต์ลับ ๆ นี้ขึ้นโดย Snapshot หนังสือที่เราพบในสถานที่ต่าง ๆ ที่ไปเยือนและนำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อแนะนำต่อให้ชาว UNLOCKMEN ได้อ่านกัน เผื่อใครที่ชื่นชอบไลฟ์สไตล์ของเจ้าของหนังสือจะเห็นมุมมองอีกด้านที่กว้างขึ้น ที่สำคัญมันยังถือเป็นการปลุกกระแสการอ่านหนังสือล็อตเก่าที่ยังคงเจ๋งเสมอไว้ให้เรามีโอกาสไปพลิกอ่านกัน สำหรับครั้งนี้สถานที่ที่เราตามไป Snap คือ Apos the HQ สถานที่ทำงานของ Apostrophys Group แต่บอกก่อนว่าทั้ง 5 เล่มนี้ไม่ได้เป็นการ Recommend จากชาว Apos แต่อย่างใด หากเป็นความคิดเห็นและการคัดเลือกของเราที่คิดว่าน่าสนใจและต้องการนำมาบอกต่อ Very Thai : everyday popular culture เริ่มต้นเล่มแรกด้วยหนังสือปกแข็งสีชมพูแสบสันจำนวน 320 หน้าที่เขียนด้วยภาษาอังกฤษทั้งฉบับ แต่ไม่ได้ยากเกินความเข้าใจ ข้างในเล่มว่าด้วยเรื่องวัฒนธรรมของไทยที่เราเห็นจนชินตา แต่ชาวต่างชาติที่มาไทยแทบทุกคนล้วนต้องอุทานว่า “อย่างนี้ก็มีด้วยเหรอ” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทิชชู่สีชมพูในร้านอาหาร รถแท็กซี่ที่ตกแต่งด้วยการแปะโน่นนี่เต็มรถ ไปจนถึงการจัดชุดอาหารเล็ก ๆ แล้วปักธูปเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความโดดเด่นของเล่มนี้อยู่ที่มุมมองการนำเสนอจากผู้เขียนหนังสือที่เล่าเรื่องพาซื่อจากความเป็นชาวต่างชาติ แต่มีผลกับการปรับมุมมองที่เคยจำเจของเราไปอย่างสิ้นเชิง แถมยังต่อยอดความคิดให้เราตั้งคำถามกับทุกสิ่งรอบตัวได้มากขึ้นด้วย ดังนั้น Very Thai หรือ
BLANCPAIN เปิดตัวนาฬิกา Fifty Fathoms Bathyscaphe Bucherer BLUE EDITIONS ภายใต้ความร่วมมือกับร้านนาฬิกา Bucherer (บุคเคอเรอร์ ) ที่มาในธีมสีน้ำเงินสุดพิเศษ ซึ่งจะมีจำหน่ายเฉพาะที่บูติค และเว็ปไซต์ของร้านนาฬิกาสุดหรูจากเมืองลูเซิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เท่านั้น บลองแปง และ บุคเคอเรอร์ ถือกำเนิดขึ้นเพื่อสร้างสรรสิ่งที่ดีที่สุดภายใต้ความชำนาญของตนเอง และทั้งสองแบรนด์ต่างก็มีเรื่องราวสำคัญที่เชื่อมโยงกับสีน้ำเงินเช่นเดียวกัน โดยสีน้ำเงินถือเป็นสีไอคอนนิคของบุคเคอเรอร์ ในขณะที่สีนำ้เงินสื่อถึงความหลงใหล และความผูกพันกับโลกใต้ท้องทะเลของบลองแปงที่ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่การเปิดตัวนาฬิกาฟิฟตี้ ฟาธอมส์ซึ่งถือเป็นนาฬิกาดำน้ำรูปแบบโมเดิร์นเรือนแรกของโลก (First Modern Diving Watch) เพื่อใช้สำหรับการดำน้ำระดับมืออาชีพในปีค.ศ. 1953 ต่อมาในปีค.ศ. 1956 บลองแปงได้พัฒนานาฬิการุ่นบาธีสเคป (Bathyscaphe) สำหรับพลเรือนทั่วไป เหมาะสำหรับการสวมใส่ในทุกสถานการณ์ทั้งบนบก และใต้น้ำ ล่าสุดนับตั้งแต่ปีค.ศ. 2013 เป็นต้นมา บลองแปงได้นำนาฬิการุ่นบาธีสเคปมาตีความใหม่อีกครั้งโดยเสริมด้วยกลไกที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรวมไปถึงกลไกฟลายแบ็คโครโนกราฟ (Flyback Chronograph) ที่ได้ถูกเลือกมาเป็นกลไกเพื่อรังสรรนาฬิการุ่น บุคเคอเรอร์ บลู เอดิชั่นส์ ในแง่เทคนิคจักรกลของนาฬิกาฟิฟตี้ ฟาธอมส์ บาธีสเคป บุคเคอเรอร์ บลู เอดิชั่นส์นั้น ใช้กลไกโครโนกราฟ ขึ้นลานอัตโนมัติ