SWATCH (สวอท์ช) เปิดตัวสำนักงานใหญ่อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงสร้างแบบไม้ที่ใหญ่ที่สุดของโลก หลังการก่อสร้างอย่างยาวนานและพิถีพิถันกว่า 5 ปี พร้อมเผยโฉมให้เห็นถึงการออกแบบและคัดสรรวัสดุก่อสร้างที่ถูกคิดมาอย่างละเอียดอ่อนและหลักแหลม โดย Shigeru Ban สถาปนิกชาวญี่ปุ่น ผู้ชนะรางวัลพริตซ์เกอร์ (Pritzker Prize) ที่เรียกได้ว่าเปรียบเสมือนรางวัลโนเบลทางด้านสถาปัตยกรรม อาคารทรงโค้งแปลกตา ความยาว 240 เมตร สะท้อนแสงแดดเป็นประกายเห็นถึงความสง่างามที่ถูกวางพาดกลางเมือง Biel ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดีไซน์สุดแหวกแนวนี้เปลี่ยนสำนักงาน หรือออฟฟิศแบบเดิมๆ ให้กลายเป็นที่ปลุกจินตนาการของพนักงานและผู้คนที่สัญจรไปมา ทั้งยังผสมผสานแรงบันดาลใจในการสร้างเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเมืองอย่างลงตัวราวกับงานศิลปะ เปลือกภายนอกอาคาร ครอบคลุมพื้นที่กว่า 11,000 ตารางเมตร รอบอาคาร ทั้งด้านในและด้านนอกถูกออกแบบให้เกิดมิติที่มีความหลากหลายทางสถาปัตยกรรม พิเศษที่การผสมผสานระหว่างดีไซน์และนวัตกรรม ด้วยการวางแพทเทิร์นซ้ำๆ สลับกับวัสดุที่ต่างกันออกไปบนโครงสร้างเปลือกทำจากไม้สนลายกริด (Grid Facade) ไม่ว่าจะเป็นไม้ หรือกระจกที่โค้งไปตามสรีระโครงสร้างของตัวอาคาร ตอกย้ำความละเอียดและประณีตด้วยการใช้ไม้สนเป็นวัสดุสำคัญของโครงสร้าง ที่มีความแข็งแรง ทนทาน ในขณะเดียวกันกลับมีน้ำหนักที่เบาและให้สีอ่อน สบายตา เปลือกลายกริดถูกยึดกันด้วยคานกว่า 4,600 ชิ้น โดยแต่ละช่อง หรือกริด (Grid) ถอดฟอร์มมาจากทรงรังผึ้ง (Honeycomb) ที่ประกอบกันกว่า 2,800
นอกจากรถของเล่น เกมบอยตลับ และบรรดาหุ่นยนต์กันดั้มที่โตมากับเราตั้งแต่เด็ก ก็มีตัวต่อเลโก้ (LEGO) ที่เป็นหนึ่งในความทรงจำของเด็กผู้ชาย แถมยังมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานจนถึงปัจจุบัน เลโก้ (LEGO) เป็นตัวต่อพลาสติกที่เริ่มผลิตครั้งแรกในปี ค.ศ. 1949 ที่เมืองบิลลุนด์ (Billund) ประเทศเดนมาร์ก จากฝีมือของช่างไม้ระดับปรมาจารย์ Ole Kirk Christiansen ที่สร้างก้อนอิฐพลาสติกหลากสีขนาดต่าง ๆ เพื่อให้เด็ก ๆ นำมาต่อประกอบกันจนเกิดเป็นรูปร่างมากมาย CF Møller Architects สตูดิโอสถาปัตยกรรมแห่งเดนมาร์กจึงนำเอกลักษณ์ของเลโก้ มาถ่ายทอดผ่านดีไซน์ของอาคารสำนักงานใหญ่เลโก้ เพื่อให้สถาปัตยกรรมแห่งนี้สะท้อนความทรงจำในวัยเด็กที่แสนมีค่าของใครหลาย ๆ คน อาคารทั้งสองหลังที่สร้างขึ้นครอบคลุมพื้นที่กว่า 52,000 ตารางเมตร ตัวโครงสร้างออกแบบให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต วางก้อนอิฐขนาดใหญ่ด้านหน้าอาคาร เน้นการใช้โครงเส้นหนาและกระจกทรงสูงเพื่อมอบความรู้สึกที่เปิดโล่ง แถมยังมีตัวต่อเลโก้ขนาดยักษ์ที่ยื่นออกมาจากหลังคาเป็นจุดนำสายตาหลัก ทีมนักออกแบบอยากถ่ายทอดความภาคภูมิใจของเด็กคนหนึ่งที่ต่อเลโก้จนสำเร็จ จึงดีไซน์ภายนอกอาคารให้ดูสนุกสนาน แม้จะใช้โครงสร้างสถาปัตยกรรมแบบเรขาคณิตบอกถึงความแข็งแกร่งขององค์กร แต่ก็สอดแทรกจินตนาการและความสนุกสนานแบบเด็ก ๆ ผ่านตัวต่อเลโก้ที่ซ่อนไว้ตามจุดต่าง ๆ การออกแบบภายในก็โดดเด่นไม่แพ้ด้านนอก มีบันไดวนสีเขียวมะนาวและดีไซน์พื้นตลอดจนผนังให้เป็นหลากสีสัน นำแผ่นยิปซัมไฟเบอร์มาใช้เพื่อลดปริมาณการใช้โครงเหล็ก แถมยังใช้ไม้และอิฐเป็นวัสดุหลักในการออกแบบ สะท้อนสไตล์นอร์ดิก (Nordic Style) หรือ สแกนดิเนเวียน