การระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้คนในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีอัตราผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้โรงพยาบาลหลักหลายแห่งเริ่มไม่เหลือพื้นที่เพียงพอสำหรับรักษาและกักตัวผู้ติดเชื้อทั้งหมด สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้บริษัทด้านสุขภาพอย่าง Jupe เร่งพัฒนาโปรเจกต์ “อาคารดูแลผู้ป่วยแบบติดตั้ง” เพื่อเตรียมนำมาใช้งานจริงในสถานที่ห่างไกลจากโรงพยาบาล โดยตึกพยาบาลแบบ Standalone ทั้งหมดจะประกอบไปด้วยอะไรบ้างมาชมไปพร้อมกัน Jupe คือบริษัทด้านสุขภาพที่ก่อตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่ชื่อ Jeff Wilson และนายแพทย์ Esther Choo โดยได้เงินสนับสนุนจากเศรษฐีผู้สนใจงานด้านมนุษยธรรมอย่าง Cameron Sinclair ซึ่งทั้ง 3 คนมีความเห็นตรงกันว่าอยากจะสร้างศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินเคลื่อนที่ ที่สามารถขนส่งและติดตั้งในสถานที่ไหนก็ได้ รวมถึงใช้เวลาประกอบเพียงชั่วข้ามคืนจนออกมาเป็นผลงานที่ชื่อว่า Jupe Health Jupe Health ประกอบไปด้วยสิ่งก่อสร้างทั้งหมด 3 ยูนิตด้วยกันคือ Jupe Plus, Jupe Care และ Jupe Rest ที่สร้างขึ้นมาตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่าง แต่สิ่งอำนวยความสะดวกในยูนิตต่าง ๆ จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มาทำความรู้จักไปพร้อมกัน เริ่มกันที่ Jupe Plus อาคารดูแลผู้ป่วยหนักแบบ Stand-Alone ยูนิตแรกของโลก ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นห้องดูแลผู้ป่วย ICU
สาวก NIKE น่าจะหลงรักแบรนด์มากขึ้นไปอีก เมื่อได้รู้ว่า Nike Air Sole เทคโนโลยี Signature ใกล้ตัว กำลังถูกปรับเปลี่ยนเป็นชิ้นส่วนสำหรับผลิตหน้ากาก Face Shields ให้กับเหล่าแพทย์และพยาบาล เพื่อต่อสู้กับมือกับ Coronavirus Nike เป็นแบรนด์ล่าสุดที่ร่วมพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์ โดยเปิดตัวพร้อมดีไซน์ Face Shields ที่ออกแบบโดยร่วมพัฒนาภายใต้คำแนะนำของ Oregon Health & Science University (OHSU) เพื่อให้ได้ design และ function ที่เป็นประโยชน์กับผู้กล้าแถวหน้าที่ใช้งานจริง ผลิตจากวัสดุที่ใช้ผลิตรองเท้าและเสื้อผ้าของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นสายรัดปรับขนาดที่ดัดแปลงมาจากวัสดุผลิตเชือกรองเท้า และตัวล็อคปรับระดับที่เอามาจากไลน์เสื้อผ้า แต่ที่น่าสนใจกว่าคือการนำวัตถุดิบ TPU สำหรับทำพื้น Air ของรองเท้า Nike มาผลิตเป็นแผ่นกันลมและกระจกใสด้านนอกเพื่อป้องกันสารคัดหลั่งจากคนป่วย ออกแบบเป็น Polyurethane film Shields แยกชิ้น 3 ชั้น เพื่อการป้องกันเฉพาะส่วนที่รัดกุมกว่า ในขณะเดียวกันก็ยังช่วยให้การถ่ายเทอากาศทำได้ดีขึ้น “Full-Face Shields เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในการทำงานดูแลผู้ป่วย
ในบรรดาค่ายรถผู้ผลิตยนตรกรรมระดับโลก คงต้องยอมรับว่า BMW (บีเอ็มดับเบิลยู) เป็นหนึ่งในค่ายที่ให้ความสำคัญกับการขับขี่รถยนต์หรูหราล้ำสมัยไปพร้อมกับการขับเคลื่อนผลงานศิลปะที่เปี่ยมด้วยแรงบันดาลใจจากศิลปินผู้รังสรรค์ ตั้งแต่ปี 1975 ที่ Hervé Poulain นักแข่งรถและนักประมูลรถชาวฝรั่งเศสได้ริเริ่มโปรเจกต์ ‘BMW Art Cars’ เอาไว้ นับแต่นั้นบริบทของศิลปะก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ผลงานศิลปะไม่ได้จำกัดอยู่แค่บนผืนผ้าใบหรือในพิพิธภัณฑ์ชื่อก้องโลกอีกต่อไป หากสอดแทรกอยู่แทบทุกที่รอบตัว แม้แต่บนหลังคา ปีก หรือฝากระโปรงของรถยนต์ BMW ก็ตาม Hervé Poulain ชวนศิลปินหลากหลายแขนงทั่วโลกมาร่วมสร้างผลงานศิลปะเฉพาะตัว เนรมิตยานพาหนะเพื่อการขับขี่ให้กลายเป็นผ้าใบผืนใหญ่ และเปิดโอกาสให้เหล่าศิลปินใช้พื้นที่ว่างรังสรรค์ศิลปะที่สะท้อนเอกลักษณ์และตัวตนของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น Alexander Calder, Frank Stella, Roy Lichtenstein หรือแม้แต่ Andy Warhol ล้วนเคยสร้างผลงาน BMW Art Cars ในแบบฉบับของตัวเองมาแล้วทั้งนั้น พวกเขาระเบิดความคิดสร้างสรรค์และถ่ายทอดทักษะความสามารถลงบนโมเดลรถยนต์ค่ายใบพัดฟ้าจนเป็นตำนาน ซึ่งปัจจุบันมี BMW Art Cars รวมทั้งสิ้น 19 คันทั่วโลก ‘BMW Unbound World of
กลุ่มคาราวานขี่มอเตอร์ไซค์ไปตามที่ต่าง ๆ หรือนักดนตรีพังก์ที่ออกจากบ้านมาร้องเพลงในบาร์เล็ก ๆ ทุกคืนวันเสาร์ แก๊งยากูซ่าผู้ถูกเกลียดชัง ทั้งหมดคือกลุ่ม Subcultute หรือวัฒนธรรมย่อยที่ซ่อนตัวอยู่ในสังคม เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มผู้คนความชอบเดียวกัน แถมการรวมกลุ่มพวกเขามักโดดเด่นและมีเอกลักษณ์จนคนจำได้ เหตุผลที่ UNLOCKMEN พูดถึงชาวพังก์ แก๊งบิ๊กไบค์ และกลุ่มแยงกี้กับยากูซ่า ที่ดูแล้วไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องใด ๆ กันมากนักเป็นเพราะพวกเราได้เจอกับแบรนด์เครื่องหนังสัญชาติญี่ปุ่นชื่อว่า “Blackmeans” ที่ร่วมสืบทอดวัฒนธรรมย่อยเหล่านี้ให้ได้ไปต่อในกระแสสังคม ผ่านการออกแบบเครื่องหนังที่ถือเป็นไอเทมยอดฮิตสำหรับชาวแก๊งทั้งสาม แจ็กเกตหนังคือไอเทมประจำตัวของหนุ่ม ๆ ผู้ชื่นชอบการขี่มอเตอร์ไซค์ระยะไกล อาจเป็นเพราะแจ็กเกตหนังแขนยาวสามารถกันแดด ป้องกันผิวหนังเวลาเกิดอุบัติเหตุได้มากกว่าผ้าชนิดอื่น ๆ แถมยังสามารถสลักรูปประจำกลุ่มไว้กลางหลังได้เหมือนอย่างแก๊ง Hell Angels อันโด่งดัง ส่วนชาวพังก์ก็มักสวมเสื้อกั๊กหนัง ปลอกคอหนัง และกำไลข้อมือหนังออกไปพบปะกับคนคอเดียวกันในบาร์เหล้า ส่วนยากูซ่ากับแก๊งแยงกี้ก็มักมีเสื้อหนังประจำกลุ่มแบบเดียวกับกลุ่มบิ๊กไบค์ เครื่องแต่งกายคือสิ่งเติมเต็มความพึงพอใจทำให้ผู้คนจดจำพวกเขาได้ การให้ความสำคัญกับแฟชั่นจึงเป็นเรื่องสำคัญทำให้คนทั่วไปเข้าใจสิ่งที่พวกเขาพยายามจะสื่อ Yujiro Komatsu (ยูจิโร่ โคมัตสึ) เป็นชายที่ชื่นชอบเครื่องหนังมาก เขาไม่ได้บอกว่าตัวเองเป็นชาวพังก์ เป็นสมาชิกแก๊งยากูซ่า หรือว่าขี่บิ๊กไบค์แต่เขาเป็นแค่คนหลงรักเครื่องหนังและเห็นชาวพังก์มาตั้งแต่ 10 ขวบ แถมยังรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรให้ความชอบของตัวเองตอบโจทย์ของคนหลายกลุ่มได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากความชอบส่วนตัวยูจิโร่ยังได้แรงบันดาลใจที่ทำให้ก้าวสู่โลกแฟชั่นจากการเห็น John Lennon สวมเสื้อ “Sukajan” ในปี
แม้คนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้คุ้นชินกับการออกแบบเชิงตอบโต้ หรือ Interactive Design มากเท่าไรนัก แต่งานประเภทที่ผสานความคิดสร้างสรรค์เข้ากับประสิทธิภาพทางเทคโนโลยี เพื่อรังสรรค์ประสบการณ์ตื่นเต้นตระการตาให้กับผู้ชมเช่นนี้ อาจไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร แถมงานสไตล์นี้ยังแทรกตัวอยู่ทั่วทุกมุมโลกด้วยซ้ำ แต่ในช่วงไม่กี่ปีให้หลังชื่อเสียงด้านงาน Interactive Design ของคนไทยก็เริ่มกลายเป็นที่โจษขานมากยิ่งขึ้น งานดีไซน์ที่ว่านี้ไม่ได้มีดีแค่ขับเน้นความงามให้กระทบต่อสายตาผู้ชม หากมอบความบันเทิง ขับเคลื่อนบริบทแวดล้อม และช่วยสร้างแรงบันดาลให้กับคนในเวลาเดียวกัน แล้ว “อะตอม-ติณห์นวัช จันทร์คล้อย” Creative Director ของบริษัท Eyedropper Fill คือหนึ่งในผู้ที่อยู่เบื้องหลังงานออกแบบเชิงตอบโต้สุดสร้างสรรค์ที่เราหมายถึง งานออกแบบประสบการณ์ของอะตอม Eyedropper Fill “ถ้าจะให้อธิบายถึงสิ่งที่เราทำคร่าว ๆ น่าจะอยู่ในสามประโยคคือ เราสร้างพื้นที่ เราชวนคนมาเจอกัน และเราสร้างประสบการณ์ที่น่าจดให้กับพวกเขา Eyedropper Fill เริ่มต้นจากงานที่เป็นภาพเคลื่อนไหวซะส่วนใหญ่ แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนจากภาพเคลื่อนไหวไปสู่งานบนพื้นที่จริง” ปัจจุบัน Eyedropper Fill เป็นสตูดิโอผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างภาพเคลื่อนไหว ศิลปะติดตั้ง และการออกแบบเชิงตอบโต้ พวกเขานิยามตัวเองว่าเป็น ‘สตูดิโอนักออกแบบประสบการณ์’ ขยันครีเอตผลงานดีไซน์เจ๋ง ๆ ที่สอดรับกับความต้องการพวกเขา คล้องกับความต้องการของลูกค้า ตลอดจนขับเคลื่อนและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนที่มาชมงาน “การเล่นสนุกคือน้ำเสียงในแบบคนไทยที่เราใช้สื่อสาร”
สำหรับแฟน ๆ Seiko รวมถึงผู้หลงใหลในเรือนเวลาอีกมากมาย หากเอ่ยถึงชื่อของ Seiko 5 Sports ขึ้นมา เชื่อว่าเข็มนาฬิกาแห่งความทรงจำ ต้องพาทุกคนย้อนวนกลับไปเป็นเวลากว่า 50 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาแรกเริ่มที่โลกได้รู้จักกับ Seiko 5 Sports นาฬิกาที่มอบความน่าเชื่อถือ ความทนทาน ประสิทธิภาพ และมูลค่า ให้กับผู้ที่ชื่นชอบนาฬิกาจักรกลทั่วโลกมาอย่างยาวนานจวบจนปัจจุบัน ซึ่งเรื่องราวของมันเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษของนาฬิกา Seiko 5 อย่าง Seiko Sportmatic 5 ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาในปี 1963 และครองตำแหน่งนาฬิการะบบอัตโนมัติที่มาพร้อมฟังก์ชั่นบอกวันและวันที่ เรือนแรกของ Seiko และเป็นเรือนแรกของประเทศญี่ปุ่น เรียกได้ว่าล้ำสมัยสุด ๆ ในยุคนั้น โดยเลข “5” ในชื่อรุ่นเป็นสิ่งแสดงถึงคำมั่นสัญญาว่านาฬิกา Seiko 5 ทุกเรือนจะมาพร้อมคุณสมบัติหลัก 5 ประการ ดังนี้ เครื่องระบบอัตโนมัติ, ฟังก์ชั่นวันและวันที่บริเวณ 3 นาฬิกา, ระบบกันน้ำ, เม็ดมะยมบริเวณ 4 นาฬิกา และ ตัวเรือนรวมถึงสายที่มีความแข็งแรงทนทาน เมื่อนำมาผสานเข้ากับเมนสปริงใหม่ล่าสุด และระบบป้องกันการกระแทก
สิ่งที่พรากความสุขไปจากชีวิตเรามีเพียงความสิ้นหวังเท่านั้น เพราะทุกความลำบากที่เคยเกิดและเผชิญ มนุษย์รุ่นต่อรุ่นก็ฝ่ามาได้ทุกครั้ง ขอแค่มีแสงแห่งความหวังเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เป็นเครื่องชโลมความรู้สึกให้คลี่คลายและผ่านไปได้ จะทุกข์ทนหรือสุขสม ศิลปะมักจะมาในช่วงนั้น ทำหน้าที่เป็นทั้งกระบอกเสียงและเยียวยาหัวใจคนในสังคม นี่จึงสาเหตุที่ทำให้อีกซีกโลกเกิด Hashtag “#MuseumBouquet” หรือภาพดอกไม้ที่เป็นผลงานของศิลปินไม่ว่าจะเบอร์หรือใหญ่ ประติมากรรมหรือจิตรกรรมซึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์เหล่านั้นออกมาให้เห็นในทวิตเตอร์ การเด็ดดอกไม้ทุกดอกที่มีในพิพิธภัณฑ์มาอยู่ในโลกออนไลน์แล้วจัดเป็นคอลเลกชันส่งถึงกัน เริ่มต้นจากบัญชีของ New-York Historical Society ที่แชร์ภาพจิตรกรรมดอกแอปเปิลเบ่งบานของจิตรกรอเมริกัน Martin Johnson Heade ให้ The Smithsonian ถัดมา The Smithsonian จึงส่งรูปวาดต้นกล้าสีสันสดใสของ H. Lyman Saÿen ไปให้ Akron Art Museum ต่อ จากนั้นการตามหาดอกไม้ในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ จึงเหมือนเป็น Challenge ส่งกำลังใจถึงกันระหว่างพิพิธภัณฑ์ จากบัญชีของพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งสู่อีกแห่ง หลายที่ก็เป็นบัญชีทวิตเตอร์ของพิพิธภัณฑ์ที่คนออนไลน์ตามกันจำนวนมาก ทั้ง the Metropolitan Museum of Art, the Guggenheim,
ต้องยอมรับว่าจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นปัจเจกบุคคลอาจยังไม่พอทุเลาสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 การกระตุ้นและรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์จึงเป็นอีกเครื่องมือช่วยเปลี่ยนปรับพฤติกรรมที่ใช้ได้ผล ทว่าบางครั้งข้อมูลที่ประชาชนได้รับเป็นทางการมากเกินไป ใช้ศัพท์วิชาการที่เข้าใจได้เฉพาะกลุ่ม หรืออัดแน่นเบียดเสียดไปด้วยตัวอักษรที่มักจะทำให้ใครหลายคนไม่อยากคลิกเข้าไปอ่าน งานดีไซน์เจ๋ง ๆ ที่ทำให้คนเข้าใจไวรัสง่ายกว่าเดิม ต่อให้ใช้ข้อมูลเดียวกันและส่งไปยังกลุ่มผู้อ่านที่ต่างกัน ก็ไม่อาจรับประกันว่าผู้รับสารที่เป็นทั้งเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และผู้สูงอายุจะเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดในทิศทางเดียวกันได้ เหล่าศิลปินและนักออกแบบจึงผลิตผลงานสุดสร้างสรรค์เพื่อรณรงค์และแนะนำวิธีการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องในช่วงที่ไวรัสแพร่ระบาด พวกเขานำความคิดสร้างสรรค์ผนวกเข้ากับสัญลักษณ์ รูปภาพ ตัวอักษร และการจัดองค์ประกอบเพื่อสื่อความหมายเชิงทัศนศิลป์ และช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาสาระทั้งหมดที่ต้องการสื่อได้ง่าย ๆ เพียงตาเห็น ภาพเคลื่อนไหวจำลองพลังของเชื้อไวรัส Harry Stevens จากหนังสือพิมพ์ The Washington Post จำลองภาพโมชั่นกราฟิกให้เห็นถึงพลังของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งประชาชนอยู่ใกล้ชิดกันในพื้นที่สาธารณะมากเท่าไร ยิ่งทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายง่ายขึ้นมากเท่านั้น ซึ่งนั่นทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นตามมาได้ นี่เป็นอีกหนึ่งผลงานดีไซน์ที่ตอกย้ำว่า Social Distancing หรือการเว้นระยะห่างจากสังคม ยังเป็นเรื่องสำคัญเสมอตราบเท่าที่เราไม่อาจมองเห็นเชื้อไวรัสด้วยตาเปล่า หรือยังไม่มีวัคซีนจำนวนมากพอจะยับยั้งไวรัสได้อย่างขาดรอย ภาพประกอบสุดกวนที่เล่าอาการของผู้ติดเชื้อ ผู้สื่อข่าวสายข้อมูลชาวอังกฤษ Mona Chalabi โพสต์ภาพวาดประกอบของเธอลงใน Instagram ส่วนตัวเพื่ออธิบายอาการของผู้ติดเชื้อ COVID-19 แบบเข้าใจง่าย เธอใช้ภาพวาดสุดกวนที่ดูตลกและสร้างสรรค์ในเวลาเดียวกันสื่อความหมายว่าอาการผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ต่างจากผู้ป่วยโรคไข้หวัดอย่างไร แถมสีสัน สายเส้น และฟอนต์ตัวอักษรที่เธอเลือกใช้ก็ไม่ได้ดูหดหู่หรือเคร่งเครียดเกินไปด้วย ไม้ขีดไฟที่ไม่ถูกเผาไหม้
ไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัย เรือนเวลาที่สุภาพบุรุษส่วนมากมักให้ความสนใจคงหนีไม่พ้น Rolex เพราะมันคือหนึ่งในสัญลักษณ์ความเท่ก้าวผ่านกาลเวลา เป็นตัวแทนของความภูมิฐานมีระดับ ด้วยเหตุผลหลายอย่างจึงทำให้นาฬิกาสัญชาติสวิสนามว่า Rolex กลายเป็นนาฬิกาขวัญใจของใครหลายคนอย่างไม่ยากเย็น รวมถึงชายที่ชื่อว่า Paul Altieri ด้วยเช่นกัน ชายชาวอิตาลีนามว่า Paul Altieri เป็นผู้ก่อตั้ง Bob’s Watches บริษัทขนาดใหญ่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนนาฬิกาแบรนด์หรูทั้ง Rolex, Patek Philippe, Omega, Tudor, Panerai และ Cartier โดยการจัดประมูล สร้างเว็บไซต์ให้เหล่าคนหลงรักนาฬิกาแบรนด์นี้เข้ามาพูดคุยและตามหาเรือนเวลารุ่นที่ใช่ ถ้าเป็นการซื้อขายผ่านหน้าร้านหรือแข่งขันกันแย่งชิงในงานประมูล ผู้คนก็จะอุ่นใจว่านาฬิกาที่ได้ต้องเป็นของแท้ แต่สำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันบนเว็บไซต์อาจสร้างความไม่มั่นใจให้กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย คนขายก็กลัวว่าจะไม่ได้เงินส่วนคนซื้อก็กลัวว่า Rolex ที่ตัวเองได้มาจะเป็นของปลอม Paul ผู้รักนาฬิกาตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดีเพราะเขาก็หลงใหลนาฬิกาแบรนด์นี้ไม่น้อยกว่าใคร การสร้างเว็บไซต์ของเขาดำเนินไปอย่างรัดกุม Paul ทีมงานของเขานำนาฬิกาที่จะวางจำหน่ายบนเว็บไซต์มาตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนเพื่อให้แน่ใจว่าเรือนเวลาเป็นของแท้และอยู่ในสภาพดีเยี่ยม Paul พูดเสมอว่านาฬิกา Rolex GMT Black & Blue ที่ผู้คนเรียกกันว่ารุ่นแบทแมน ได้รับความนิยมในหมู่นักสะสม Rolex มาโดยตลอด ตัวเขาเองก็ชอบสวมใส่นาฬิกาข้อมือรุ่นนี้อยู่บ่อย ๆ พร้อมมอบความรู้เท่าที่ตัวเองมีเกี่ยวกับ Rolex
นอกจากศิลปะรูปธรรมที่ลอกเลียนรูปทรงของธรรมชาติ เน้นความสมจริง และทำให้เราเข้าใจความหมายตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็น อีกด้านยังมีศิลปะนามธรรมที่ยากจะเข้าใจ เต็มไปด้วยความคลุมเครือ และอาจหาคำจำกัดความให้กับสิ่งที่เห็นไม่ได้ บนโลกนี้มีศิลปินหลายต่อหลายคนที่ใช้ศิลปะแบบนามธรรม (Abstract Art) สื่อความหมายผ่านรูปทรง สีสัน และลายเส้นที่ไร้รูปแบบตายตัว ซึ่งศิลปะแนวนี้ไม่ได้เน้นความสมจริงหรือรูปทรงที่แน่ชัดแบบรูปธรรม ทว่าเน้นอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อผลงานชิ้นนั้น ๆ กระทบต่อสายตาผู้ชม ยุคที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมถูกพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด วิธีการสร้างงานศิลปะเองก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ศิลปินยุคใหม่บางคนไม่ได้ยึดติดกับการใช้ฝีแปรงละเลงลงบนผืนผ้าใบอีกต่อไป แต่ใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันล้ำสมัยและแพลตฟอร์มออนไลน์สร้างงานศิลปะแนวใหม่พร้อมจัดแสดงในเวลาเดียวกัน Michael Strevens ศิลปินดิจิทัลในลอนดอนผู้นี้ ใช้สมาร์ตโฟนและแอปพลิเคชันแต่งภาพสร้างคอลเลกชันศิลปะของตัวเองใน Instagram จนเกิดเป็นกระแสไวรัลทั่วโลกศิลปะออนไลน์ แรงบันดาลใจของ Michael Strevens เริ่มขึ้นในปี 2012 ที่เขาซื้อ iPhone มาใช้ครั้งแรกและเพิ่งรู้จักกับแอปพลิเคชัน Instagram เขาเข้าไปสำรวจภาพถ่าย ผลงานสถาปัตยกรรม รวมทั้งภูมิทัศน์ของเมืองทั่วยุโรปในแอปพลิเคชันนี้ ขณะเสพผลงานไปเรื่อย ๆ เขาค้นพบว่าตัวเองหลงใหลการถ่ายภาพและอยากสร้างผลงานศิลปะเจ๋ง ๆ ด้วยสมาร์ตโฟน จึงผันตัวมาเป็นศิลปินดิจิทัลเต็มตัวตั้งแต่ปี 2012 และอัปโหลดผลงานลงใน Instagram เพื่อจัดแสดงผลงานจนถึงทุกวันนี้ ผลงานของเขามีทั้งภาพสีและภาพขาวดำ เส้นตรงและเส้นโค้ง แถมยังโดดเด่นด้วยการเล่นกับเส้น ความละเอียดคมชัด มุมมองสายตาผู้ชม และรูปแบบเดิม ๆ
คงไม่แปลกถ้าการใช้ชีวิตท่ามกลางยุคที่ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดเฉกเช่นตอนนี้ ทำให้ผู้ชายหลายคนรู้สึกหดหู่และสิ้นหวังอย่างบอกไม่ถูก หันไปมองถนนหนทางก็เงียบสงัด ร้านค้าร้านอาหารไร้ผู้คน แถมยังมีบรรยากาศรอบตัวเงียบเหงาพาให้ใจหวาดหวั่นยิ่งกว่าเดิม หนุ่มบางคนใช้ซีรีส์เรื่องโปรดในเน็ตฟลิกซ์เป็นตัวช่วยทุเลาความเครียด บ้างอุดสองรูหูด้วยเสียงดนตรีหวังผ่อนคลายจิตใจ แต่ถ้าลองทำสองวิธีนี้แล้วยังไม่ได้ผล แถมอยู่บ้านเฉย ๆ นับวันก็ยิ่งเบื่อ หมดหวัง และไม่รู้จะทำอะไรดี UNLOCKMEN ขอชวนคุณมาจัดทริป Virtual Tours เดินชมผลงานศิลปะเจ๋ง ๆ ในแกลเลอรีและพิพิธภัณฑ์ระดับโลก พร้อมเรียนศิลปะฟรีผ่านโลกออนไลน์ได้ที่บ้าน โดยไม่ต้องก้าวเท้าออกไปไหน ทั้งยังจรรโลงจิตใจในสถานการณ์เลวร้ายแบบนี้ได้เป็นอย่างดี “เพราะศิลปะจรรโลงใจมนุษย์ได้เสมอ” ศิลปะเป็นศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดอีกแขนงหนึ่งของโลกที่แตกแขนงแยกย่อยได้หลากสาขา และการใช้ศิลปะช่วยประคับประคองจิตใจมนุษย์ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร ถ้าย้อนไปในอดีตจะรู้ว่าศิลปะกำเนิดขึ้นเนิ่นนานแล้ว นับเป็นผลผลิตของศิลปินที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิด ตัวตน และแรงบันดาลใจในการรังสรรค์ผลงานของพวกเขา ศิลปะเคยเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่บนหิ้งและสงวนไว้แด่ชนชั้นสูง เคยเป็นเครื่องมือระบายระบอบอยุติธรรม ตีแผ่ความแออัดยัดเยียด และเสียดสีตบหน้าความร้ายกาจคนในของสังคม แต่อีกด้านหนึ่งศิลปะคือสีสันที่ช่วยจรรโลงจิตใจมนุษย์และยังคงเป็นเช่นนั้นจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัยที่มนุษย์ปราศจากความหวัง พ่ายแพ้หมดรูป และหมดสิ้นกำลังจะเดินต่อ ศิลปะเข้ามาช่วยค้ำจุนและพยุงมวลมนุษย์ให้อยู่ในร่องในรอยได้เสมอ อาจเป็นภาพถ่ายที่ทำให้ฉุกคิด จิตรกรรมฝาผนังแฝงนัยต่างยุค โคลงกวีที่ซ่อนวลีกินใจ หรือแม้แต่ภาพวาดศิลปะทั่วไปที่เรารู้จักดี เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองและเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคที่ทันสมัยขึ้น เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากลายเป็นเครื่องมือเปิดโอกาสให้คนได้เสพงานศิลปะ ท่องโลกอินเทอร์เน็ตไปชมผลงานเจ๋ง ๆ ทั่วมุมโลก รวมทั้งเรียนศิลปะผ่านออนไลน์ได้ง่าย ๆ แม้ไม่ต้องออกไปไหน เดินชมงานศิลปะเสมือนจริงด้วย Google Arts
โลโก้กว่าจะดังติดตาต้องสั่งสมบารมีไว้หลายปีดีดัก ดังนั้นบางอย่างที่แม้เป็นของธรรมดา ถ้าปะสิ่งที่เรียกว่าโลโก้เข้าไป มันจะกลายเป็นของมีค่ามีราคาขึ้นมาทันที อาจจะโดดไปแตะหมื่นแตะแสน แตะความเป็นลิมิเต็ดที่คนทั้งโลกคลั่งไคล้ชั่วพริบตา แต่ใครจะจินตนาการออกว่าถ้าเอาโลโก้มาสร้างบ้านจะเป็นอย่างไร ? UNLOCKMEN นำผลงานการออกแบบทางสถาปัตยกรรมสุดน่าทึ่งของ Karina Wiciak จาก Warehouse Studio ที่เนรมิตโลโก้ที่เราคุ้นเคย เปลี่ยนเป็นอาคารสไตล์ Luxury น่าปักหลัก จนเปลี่ยนภาพลักษณ์จาก Dream Shoes หรือ Dream Cars กลายเป็น Dream Houses ได้ง่าย ๆ เริ่มที่ตัวแรก พอเดาออกไหมว่านี่คือแบรนด์อะไร ? Trihouse : Adidas บอกเลยตอนแรกเรามองไม่ออก แต่พอข้ามกระจกไป เพ่งไปที่วัสดุอย่างหิน ภาพสามขีดที่คุ้นเคยจาก Adidas ก็ชัดกระแทกเข้าเบ้าตาทันที อาคารหลังนี้ชื่อว่า Trihouse ได้แรงบันดาลใจการออกแบบมาจากแบรนด์ Adidas จุดที่น่าสนใจอยู่ที่การสร้างสเปซลวงตา ถ้ามองปกติตามแนวเส้นทแยงของอาคารเราจะรู้สึกว่าอาคารเอียง แต่กระจกที่โชว์พื้นที่ใช้สอยด้านในทำให้เห็นระนาบขนานพื้นดิน ทำให้อาคารหลังนี้มีเสน่ห์มากขึ้น สอดรับกับบริบทแวดล้อมรอบข้างอย่างลงตัว The Ringshouse :