หากให้หยิบยกเอาเรื่องของนาฬิกาดำน้ำรุ่นเด่นจาก SEIKO มาพูดคุยกัน เชื่อเหลือเกินว่าบรรดาสาวกทั้งหลายคงใช้สมญานามหรือชื่อเล่นแทนตัวของแต่ละรุ่น ไม่ว่าจะเป็น เต่า, มอนสเตอร์, ซูโม่, ซามูไร ไปจนถึงระดับจอมทัพอย่าง ‘โชกุน (Shogun)’ มาสนทนากันอย่างออกรส ชนิดที่ว่าคนวงนอกฟังแล้วอาจมีอาการงง พาลฟันธงไปว่ากำลังคุยเรื่องมังงะกันอยู่เป็นแน่แท้ ซึ่งต้องบอกว่าพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้คุยกันเรื่องการ์ตูน หรือหนังแฟนตาซีอะไรอย่างที่เข้าใจกัน แต่ต้องอธิบายว่าชื่อเล่นมากมายที่ถูกใช้ในการขนานนามนาฬิกาเรือนโปรด นั้นถูกนำมาจากจุดเด่นของรูปลักษณ์งานดีไซน์ในแต่ละรุ่น ยกตัวอย่างเช่น SEIKO โชกุน คือชื่อเล่นที่ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับ SEIKO PROSPEX รุ่น SBDC007 ที่โดดเด่นด้วยภาพลักษณ์ความแข็งแกร่งของโลหะที่ใช้ ซึ่งก็คือวัสดุไทเทเนียมที่มีน้ำหนักเบาและมีความทนทานสูง เปรียบได้กับชุดเกราะที่โชกุน หรือเจ้าของตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในสมัยก่อนสวมใส่ในยามออกรบ และไม่ใช่เพียงแค่วัสดุที่ทำให้ได้มาซึ่งสมญานามโชกุน แต่งานดีไซน์ในส่วนต่าง ๆ ยังสะท้อนจิตวิญญาณชุดเกราะของจอมทัพออกมาอย่างได้ชัดเจน ทั้งในส่วนของ Pointed Markers บนขอบหน้าปัดที่ดูแข็งแกร่ง และ Triangular Notches ที่ออกแบบเพื่อให้หมุนขอบตัวเรือนได้อย่างกระชับ มั่นคง แม่นยำ ตอกย้ำให้ผู้ที่ได้สวมใส่นาฬิกาเรือนนี้รู้สึกได้ว่าความแกร่ง ผสานกับความประณีต รวมถึงน้ำหนักที่เบาของวัสดุไทเทเนียม นั้นควรค่าที่จะเป็นชุดเกราะคู่ใจของโชกุนผู้เกรียงไกร จนกลายเป็นที่มาของชื่อ ‘โชกุน’ นาฬิกาดำน้ำที่เบาที่สุดจาก SEIKO ที่หลายคนยกให้เป็นตำนาน โดยเหตุผลที่ได้กลายเป็นตำนานนั้น
Omega Speedmaster ถือเป็นนาฬิกาสามัญประจำบ้านที่นักสะสมทุกคนต้องมีไว้ใน Collection มันคือนาฬิกาที่ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติทั่วโลก เป็นนาฬิกาที่ NASA เลือกให้นักบินอวกาศใส่ทำภารกิจนอกโลก ซึ่ง นีล อาร์มสตรอง และ บัซ อัลดริน สวมใส่ Speedmaster ref. 105.012 และ 145.012 ติดข้อมือไปสู่ดวงจันทร์ในวันที่ 22 กรกฎาคม 1969 จนได้รับการขนานนามว่า “รุ่นเหยียบดวงจันทร์” ซึ่งมีการพัฒนาต่อยอดในหลายรุ่นพิเศษ ด้วยความล้ำหน้าและควาสสิคของ Omega ตัวเครื่อง caliber 1861 Moonwatch สามารถทำหน้าที่ได้ดีเป็นเวลานานกว่า 50 ปี และก็ถึงเวลาแล้วที่มันจะถูกแทนที่ด้วยกลไกตัวใหม่ “co-axial Master Chronometer-certified caliber 3861” ใน Speedmaster ซึ่งตัวกลไกใหม่ล่าสุดนี้เคยถูกใช้ใน Omega เพียง 3 รุ่นพิเศษคือ Apollo 11 Anniversary Limited Edition
เชื่อว่าหลายคนที่ชื่นชอบในวัฒนธรรม Chicano culture (Mexican-American culture) ดนตรี รอยสัก รวมไปถึงคนที่เคยดูภาพยนตร์สารคดีอย่าง LA Originals คงจะรู้จักศิลปินชายเดี่ยวที่มีชื่อว่า ‘MISTER CARTOON’ หรือ Mark Machado กันอย่างแน่นอน เพราะนอกจากจะมีฝีไม้ลายมือในการสักที่เรียกได้ว่าเป็นระดับตำนานแล้ว เขายังมีผลงานออกแบบ Collaboration กับแบรนด์ดังระดับโลกขึ้นหิ้งเอาไว้มากมาย วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับชายผู้นี้ แถมยังมีข่าวดีสำหรับแฟน ๆ ของ ‘MISTER CARTOON’ ชาวไทยโดยเฉพาะมาฝากอีกด้วย ส่วนข่าวดีนั้นจะเป็นอะไร ไปติดตามดูกันได้เลย ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับที่มาที่ไปของชายคนนี้กันหน่อย MISTER CARTOON หรือชื่อจริงคือ Mark Machado ศิลปินสัก และศิลปินกราฟฟิตี้ระดับโลก เกิด โต และอาศัยอยู่ที่ Los Angeles, Califonia ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่ออายุได้ 8 ขวบ เขาก็ค้นหาพรสวรรค์ของตัวเองจนพบ นั่นก็คือการวาดรูป และทำให้เขาเริ่มต้นวาดรูปอย่างจริงจังจากนั้นเป็นต้นมา เมื่ออายุได้ 12 ปี ก็เริ่มหาเงินเลี้ยงตัวเองได้จากการใช้
อย่างที่รู้กันดีอยู่แล้วว่ารอยสักสำหรับคนญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่จะต้องถูกซ่อนเอาไว้ใต้ร่มผ้า หรือไม่เปิดเผยให้คนอื่นเห็นมากนักเพราะไม่อย่างนั้นคุณจะต้องพบกับสายตาดูแคลนปะปนกับสายตาหวาดกลัว ซ้ำยังถูกโรงอาบน้ำสาธารณะหรือซาวน่าหลายที่ปฏิเสธที่จะให้เข้าไปใช้บริการ แม้ว่าเราจะมีเงินและเป็นลูกค้าคนหนึ่งเหมือนกัน ก่อนหน้านี้ UNLOCKMEN เคยเล่าเรื่องราวความเป็นมาของการสักและรอยสักที่ชาวญี่ปุ่นมองว่าเป็นสิ่งผิดแปลกจากสังคมหรือจารีตไปแล้วใน (NIHON STORIES: รอยสักญี่ปุ่น ศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ที่ผู้คนทั่วโลกจับตามอง) ทั้งที่ในเวลาเดียวกันชาวต่างชาติกลับรู้สึกยกย่องและชื่นชมศิลปะญี่ปุ่นอันเป็นเอกลักษณ์ที่ถูกเล่าบนเนื้อหนังของบุคคลนั้น ๆ ซึ่งผู้สักชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักจะเป็นยากูซ่าหรือไม่ก็เป็นศิลปินที่ไม่ต้องทำงานออฟฟิศ ซึ่งบุคลิกและการทำงานอาจมีส่วนเล็กน้อยที่ทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างในสังคม เมื่อพูดถึงรอยสักเราจะไม่พูดถึงช่างสักก็คงไม่ได้ เพราะพวกเขาคือผู้สร้างสรรค์ศิลปะอันประณีตที่จะอยู่กับคนที่มาสักไปตลอดชั่วชีวิต และในประเทศญี่ปุ่นมีช่างสักผู้โด่งดังคนหนึ่งนามว่า ‘Horimitsu’ (โฮริมิตสึ) ที่มีส่วนช่วยทำให้วัฒนธรรมการสักของญี่ปุ่นยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน ซ้ำยังสร้างชื่อไปทั่วทุกมุมโลก และช่างสักก็ได้มีส่วนช่วยให้คนรุ่นใหม่เริ่มไม่ได้มองว่ารอยสักเป็นเรื่องน่ากลัวอีกต่อไป แต่มันคือศิลปะแขนงหนึ่งที่งดงามต่างหาก “คนที่ไม่มีรอยสักหรือไม่ชอบการสักมักมองว่าคนที่มีรอยสักจะต้องเกี่ยวข้องกับยากูซ่า แต่ทั้งสองสิ่งอย่างยากูซ่าและรอยสักไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องลึกซึ้งกันขนาดนั้น” – Horimitsu โฮริมิตสึ หรืออีกชื่อที่คนในวงการเรียกสั้น ๆ ว่า ‘มิตสึซัง’ เป็นช่างสักที่เปิดร้านสักอยู่ในย่านอิเคะบุคุโระ ณ กรุงโตเกียว ด้วยประสบการณ์ที่เรียกได้ว่าคร่ำหวอดในวงการนานกว่า 30 ปี ทำให้ชื่อเสียงของเขาถูกพูดถึงในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบการสักและช่างสักด้วยกัน ประกอบกับสไตล์การใช้เข็มวาดลวดลายของเขาจะใช้เทคนิคการสักญี่ปุ่นดั้งเดิมที่เรียกว่า ‘Tebori’ (เทโบริ) อายุกว่า 400 ปี ที่ขึ้นชื่อเรื่องสีสันสดสวยคงทนเหมือนกับวันแรกที่ไปสักแม้จะเวลาจะล่วงเลยมาพักหนึ่งแล้วก็ตาม เทคนิคการสักแบบเก่าแก่ของมิตสึซังจะกินเวลานานกว่าการสักแบบปกติ เขาจะใช้ปากกาสีส้มวาดภาพที่ต้องสักบนผิวหนังแบบช้า ๆ ด้วยความพิถีพิถัน จากนั้นค่อยใช้ปากกาเส้นพู่กันวาดซ้ำอีกรอบ มิตสึซังมักไม่ใช่เครื่องสักในการทำงาน และชอบใช้ใบมีดสเตนเลสแบบด้านเดียวที่ติดอยู่กับด้ามไม้แท่งยาวกรีดลงไปบนเนื้อ ย้ำซ้ำไปซ้ำมาจนกว่าจะได้สีสันลวดลายตามที่เขาพอใจ
บอกตรง ๆ ว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก Swatch เรือนเวลาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดินแดนที่เปรียบเสมือนมหานครแห่งโลกนาฬิกา แต่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้ว่าสวิตเซอร์แลนด์เคยเกือบเสียตำแหน่งเบอร์หนึ่งแห่งอุตสาหกรรมเครื่องบอกเวลาไปกับวิกฤตการณ์ Quartz ในช่วงยุค 70 – 80 จนกระทั่งในปี 1983 เหล่าผู้ประกอบการธุรกิจนาฬิกาสวิสได้ปรึกษาหารือแล้วว่าจะไม่ทนอีกต่อไป จึงได้ร่วมมือกันกอบกู้สถานการณ์ ด้วยการพัฒนานาฬิกาพลาสติกระบบ Quartz ตัวเรือนบางเฉียบ ดีไซน์เรียบง่ายทันสมัย สีสันหลากหลายราคาไม่แพง ออกมาแลกหมัดกับนาฬิกา Quartz จากแดนปลาดิบให้รู้ดำรู้แดงกันไป ผลสุดท้าย ด้วยคุณภาพอันเป็นที่ร่ำลือของนาฬิกา Swiss Made ที่จับต้องได้ในราคาเป็นมิตร ทำให้นาฬิกากู้ชาติของสวิสเรือนนี้ได้รับความนิยมถล่มทลายไปทั่วโลก ช่วยพลิกฟื้นธุรกิจส่งออกนาฬิกาของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ให้กลับมาผงาดอีกครั้ง และเจ้านาฬิกาพลาสติกเรือนที่ว่าก็คือนาฬิกา Swatch ที่ใคร ๆ ต่างก็รู้จัก และน่าจะเคยครอบครองมาแล้วอย่างน้อยคนละเรือนสองเรือน จากการ Debut สู่สายตา และข้อมือชาวโลกในฐานะนาฬิกาพลาสติก ราคาประหยัด สีสันสดใส ทำให้ใคร ๆ ต่างก็มีภาพจำกับความเป็นนาฬิกาพลาสติกของ Swatch แต่จริง ๆ แล้วตลอด 37 ปีที่ผ่านมา Swatch ได้สร้างสรรค์เรือนเวลาหลากรูปแบบ หลายฟังก์ชัน
คอลเลคชั่นแรกของ SWATCH (สวอท์ช) กลับมาสร้างความประทับใจใหม่อีกครั้ง เพิ่มเติมคือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยวัสดุสังเคราะห์จากธรรมชาติ โดยหยิบวัสดุธรรมชาติมาพัฒนาเป็นคอลเลคชั่นสุดพิเศษ ‘BIORELOADED’ ต้นแบบนวัตกรรมล่าสุดที่พร้อมพาคุณไปไกลอีกขั้นด้วยนาฬิกาที่ออกแบบด้วยวัสดุชีวภาพ เปิดตัวมาด้วยนาฬิกาหกสีหกสไตล์เอาใจคนหลงใหลในความเรียบง่ายด้วยสีสันที่สวมใส่ได้ในทุกโอกาส ด้วยแรงบันดาลใจสำคัญในการออกแบบมาจากคอลเลคชั่นในปี ‘1983’ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จยุคแรก ๆ จากการนำวัสดุนำสมัยมาใช้ออกแบบนาฬิกาอันโด่งดังเป็นเอกลักษณ์ สวอท์ชจึงได้นำจิตวิญญาณของความคลาสสิกกลับมาใช้อีกครั้งในคอลเลคชั่นนี้บวกกับคอนเซ็ปต์ BIORELOADED ที่ยกระดับมาตรฐานของการใช้วัสดุสร้างสรรค์นาฬิกาด้วยการนำเมล็ดต้นละหุ่งมาสกัดเป็นวัสดุในการสรรสร้างรวมกับเทคโนโลยีล้ำสมัยจากสวอท์ชจนกลายมาเป็นนาฬิกาสุดรักษ์โลก คอลเลคชั่น 1983 มาพร้อมกับแพ็คเกจจิ้งที่ออกมาแบบมาจากโฟมกระดาษซึ่งประกอบไปด้วยส่วนผสมที่เป็นนวัตกรรมใหม่จากมันฝรั่งและแป้งมันสำปะหลัง คอลเลคชั่นนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นนาฬิกาที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้อย่างสมบูรณ์และสามารถรีไซเคิลหรือแม้กระทั่งทำเป็นปุ๋ยหมักที่สวนหลังบ้านได้เช่นกัน BIORELOADED ทั้ง 6 แบบหลากหลายโทนสี ตอบโจทย์คนรักในความเรียบง่ายได้ในทุกไลฟ์สไตล์ วางจำหน่ายแล้ววันนี้ในราคา 2,350 บาท ที่ SWATCH Store ทุกสาขา และสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ shop.swatch และ Swatch Official Store ที่ Shopee และ Lazada จัดส่งฟรีทั่วประเทศ ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ LINE :@swatch_th Facebook: SWATCH Instagram: @SWATCH_TH
เฟอร์นิเจอไม้ดีไซน์สวยๆ จะช่วยให้บรรยากาศในบ้านคุณดูดี น่าอยู่ขึ้นมากเลยทีเดียว
หากเอ่ยถึงชื่อแบรนด์ Breitling (ไบร์ทลิ่ง) ขึ้นมา สาวกเรือนเวลาน่าจะรู้กันดีถึงกิตติศัพท์ด้านการจับเวลาที่เที่ยงตรงแม่นยำของจักรกลบอกเวลา ที่มีต้นกำเนิดจากหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งใน Saint-Imier (แซงต์ อิมิเยร์) ตั้งอยู่ใกล้เทือกเขา Jura (ชูรา) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งก่อตั้งโดยนาย Leon Breitling ช่างทำนาฬิกาที่ริเริ่มประดิษฐ์นาฬิกาจับเวลาในปี 1884 ด้วยชื่อเสียงเรื่องความแม่นยำทำให้จักรกลจับเวลาภายใต้ชื่อแบรนด์ Breitling ถูกนำไปใช้งานสำหรับภารกิจเหินเวหาอย่างมากมาย จนได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้บุกเบิกในการพัฒนานาฬิกาข้อมือแบบจับเวลาซึ่งได้มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในช่วงเวลาสำคัญในการพิชิตเวหาของมวลมนุษยชาติ จวบจนปัจจุบัน Breitling ยังเดินหน้าพัฒนานาฬิกาคุณภาพสูงขึ้นมาด้วยเป้าหมายเดียวกันกับวันแรกที่ Leon Breitling ผู้ก่อตั้งแบรนด์ได้เริ่มประดิษฐ์นาฬิกาจับเวลาขึ้นมา นั่นก็คือการสร้างสรรค์นาฬิกาจับเวลาที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมระดับโลก และยังคงผลิตกลไกเองแบบ In-House ซึ่งนาฬิกาทุกเรือนของ Breitling นั้นผ่านการผลิตจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้รับรองคุณภาพตามมาตรฐาน Chronometer จากสถาบัน COSC และเมื่อได้พูดคุยถึงเรื่องราวของ Breitling สิ่งที่จะขาดไปไม่ได้เลยคือ Chronomat (โครโนแมท) เรือนเวลาที่เปรียบเสมือนคอลเลคชันสําคัญในประวัติศาสตร์ของ Breitling ที่เปิดตัวมาในปี 1984 ซึ่งเป็นยุคที่นาฬิกา Quartz เรือนบางเฉียบจากญี่ปุ่นกําลังเป็นที่นิยมจนสามารถครองตลาดมาตั้งแต่ช่วงยุค 70s สวนทางกับนาฬิกาจักรกลสวิสเมดที่ความนิยมหดหายจนแทบเข้าขั้นวิกฤติ แต่ถึงกระนั้น
RADO ผู้สรรสร้างนวัตกรรมเรือนเวลาระดับโลก สุดยอดงานออกแบบล้ำสมัย ผู้นำเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์ของวงการนาฬิกาจากสวิตเซอร์แลนด์ ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับเลอ กอร์บูร์ซูซี่ (Les Couleurs Suisse) องค์กรที่อยู่ภายใต้ Foundation Le Corbusier ซึ่งถือสิทธิ์ในการออกใบอนุญาตการใช้ชุดสีเชิงสถาปัตยกรรม “Architectural Polychromy” ของนักออกแบบชื่อดังอย่าง เลอ กอร์บูร์ซิเย่ (Le Corbusier) แต่เพียงผู้เดียว และประสบความสำเร็จโดยได้รับเสียงตอบรับที่ดีเป็นอย่างมากเมื่อปีที่ผ่านมา ในปีนี้ RADO จึงได้ผนึกกำลังร่วมมือกับพันธมิตรเดิมอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นอีกจุดเปลี่ยนสำคัญในการต่อยอดความท้าทายด้านการออกแบบในโลกแห่งนวัตกรรมเรือนเวลาให้พัฒนาไปอีกระดับ สีสันถือเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังและมีความสำคัญต่อการออกแบบอานุภาพของสีได้รับการรังสรรค์ขึ้นใหม่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยฟังก์ชั่นและเอฟเฟกต์ด้านการออกแบบสีนั้นได้รับการพัฒนาและวางแนวคิดใหม่ โดย เลอ กอร์บูร์ซิเย่ ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ส่งมอบสีสันให้กับงานด้านการก่อสร้าง ส่งมอบประสบการณ์จากความว่างเปล่าสู่ชุดสีเชิงสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น มอบความกลมกลืนอย่างเป็นธรรมชาติและสามารถผสมผสานได้ทุกแนวทาง ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องให้ความสำคัญต่อผลลัพธ์ของสีที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบและการออกแบบสีเชิงสถาปัตยกรรม Charles Edouard Jeanneret Gris (ชื่อโดยกำเนิดของ Le Corbusier) หนึ่งในสถาปนิกและนักออกแบบระดับตำนาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานศิลปะ ภาพวาด กราฟิก ประติมากรรมและสิ่งทอ และเป็นผู้ที่สามารถจำแนกเฉดสีได้ถึง 63 เฉดสี จาก 2 คอลเลคชั่น
หลังจากนาฬิกา SEIKO 5 SPORT จากแบรนด์สัญชาติญี่ปุ่นอย่าง SEIKO ได้ถือกำเนิดใหม่ขึ้นอีกครั้งในปี 2019 โดยนำเสนอในรูปลักษณ์ใหม่ที่มีความแฟชั่นขึ้น หลากหลายขึ้น ผสานความทนทานในหลากหลายด้าน ด้วยนาฬิการะบบกลไกที่เชื่อถือได้สำหรับผู้ชื่นชอบนาฬิกา มาในวันนี้ SEIKO 5 SPORT ใหม่ได้สร้างปรากฏการณ์อันยิ่งใหญ่ ด้วยการเปิดตัวนาฬิกาไซโก ไฟว์ สปอร์ตรุ่นใหม่ล่าสุดทั้ง 6 รุ่น ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “สตรีท ไฟเตอร์ 5” ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดของเกมต่อสู้แบบผู้เล่นกับผู้เล่น ที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลกที่เกมเมอร์พันธ์แท้จะนึกถึงเป็นอันดับต้น ๆ เกม สตรีท ไฟเตอร์ นั้น เปิดตัวครั้งแรกในปี 1987 และยังเป็นเกมต่อสู้ชั้นนำในวงการอีสปอร์ต ที่มีผู้เล่นและผู้ชมหลายล้านคนทั่วโลก โดยนาฬิกาทั้ง 6 รุ่นของ SEIKO 5 SPORT นั้นได้รับแรงบันดาลใจจากตัวละครหลักของเกม อาทิ Ryu(ริว), Ken(เคน), Chun-Li(ชุนลี), Guile(ไกล์), Zangief(ซานกีฟ) และ Blanka(บลังก้า) โดยคอลเลคชั่นนี้จะออกวางจำหน่ายพร้อมกันที่ไซโกบูติก และรีเทลเลอร์ทั่วโลกในเดือนกันยายนในรูปแบบลิมิเต็ด เอดิชั่น
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซัมซุงได้ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลกอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว Galaxy Z Fold2 (กาแลคซี่ ซี โฟลด์ 2) สุดยอดนวัตกรรมสมาร์ทโฟนจอพับได้เจเนอเรชันที่ 3 จากซัมซุง ที่มาพร้อมนวัตกรรมการออกแบบสุดล้ำบ่งบอกนิยามแห่งอนาคต พร้อมพัฒนาฟังก์ชันใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานและมอบประสบการณ์ของสมาร์ทโฟนจอพับได้ที่ดีที่สุด เทรนด์การทำงานแบบ Remote Working นั้นกำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด สอดคล้องกับรายงานของ Microsoft ที่เผยว่า ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคมที่ผ่านมา อัตราการใช้บริการวิดีโอคอลบน Microsoft Teams ผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตนั้นเพิ่มสูงขึ้นถึง 300% ซัมซุงได้เล็งเห็นถึงเทรนด์ของไลฟ์สไตล์การทำงานที่เปลี่ยนไปนี้ จึงมุ่งต่อยอดนวัตกรรมสมาร์ทโฟนจอพับได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยคอนเซ็ปต์การรวมประสบการณ์หน้าจอขนาดใหญ่ของแท็บเล็ตและความคล่องตัวของสมาร์ทโฟนไว้ในเครื่องเดียว กลายเป็นผู้บุกเบิกและปฏิวัติอุตสาหกรรมด้วยการสร้าง Form Factor ใหม่ให้กับสมาร์ทโฟนในอนาคต หลังจากที่ซัมซุงได้เปิดตัว Galaxy Fold “สมาร์ทโฟนจอพับได้รุ่นแรกของโลก” ไปเมื่อปีที่ผ่านมา ได้พิสูจน์แล้วว่านวัตกรรมดังกล่าวไม่ได้ถูกคิดค้นขึ้นเพียงเพื่อสร้างลูกเล่นที่แปลกใหม่ หรือให้ประสบการณ์สมาร์ทโฟนรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนเท่านั้น แต่นวัตกรรมที่ผสานเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในเครื่องเดียวนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กับผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะฟีเจอร์ Multi-active window ที่ช่วยให้สามารถทำงานได้หลายอย่างพร้อมกัน หรือประสบการณ์การรับชมที่เต็มตาบนหน้าจอสมาร์ทโฟนขนาดใหญ่เทียบเท่าแท็บเล็ต แต่ยังให้ความสะดวกในการพกพาและคล่องตัวในการใช้งาน
“SAMMANKOPPLA/ซัมมันคอปล่า” คอลเล็คชั่นแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย ผลงานการออกแบบและพัฒนาร่วมกันระหว่างอิเกียและเกรฮาวด์ แบรนด์แฟชั่นและไลฟ์สไตล์ แบรนด์เดียวจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับเลือกให้ร่วม Collaboration Projects 2020 ซึ่งอิเกียได้ทำงานร่วมกับแบรนด์และดีไซเนอร์มากหน้าหลายตาจากทั่วโลก สร้างสรรค์คอลเล็คชั่นพิเศษถ่ายทอดความหลากหลายของวัฒนธรรมรอบโลก จากเทรนด์ทั่วโลกที่คนย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้น และใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดมากยิ่งขึ้น อิเกียและเกรฮาวด์ จึงได้สร้างสรรค์คอลเล็คชั่น “SAMMANKOPPLA/ซัมมันคอปล่า” โดยเชื่อมโยง 3 ความคิดหลักในการออกแบบ ประการแรก คือ ความเป็นอยู่แบบไทยยุคใหม่ที่ผสมผสานหลากหลายวัฒนธรรมและรูปแบบการใช้ชีวิต ประการที่สอง คือ ความเชื่อแบบไทย ๆ ที่ปลูกฝังส่งต่อกันมายาวนานเกี่ยวกับการใช้ชีวิตอย่างประหยัด พอเพียง ยั่งยืน และประการสุดท้าย คือ การนำสไตล์ของเกรฮาวด์ ที่เป็นแบรนด์ Casual Street Style ที่สร้างสรรค์และสนุกสนานเข้าไปด้วยกัน ผลลัพธ์ที่ได้คือ คอลเล็คชั่นเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ในบ้านที่มีความแตกต่าง ไม่เพียงเหมาะกับการใช้ชีวิตในพื้นที่ขนาดเล็กเท่านั้น แต่ยังตอบสนองต่อกระแสความคิดใหม่ในการใช้ชีวิตแบบรักษ์โลกอีกด้วย สินค้าหลาย ๆ รายการในคอลเล็คชั่นนี้ เกิดจากความคิดแบบมัลติฟังก์ชั่น บวกกับการใช้งาน หรือนำเอาวัสดุเก่ามาหมุนเวียนใช้ใหม่ อย่างแนวคิดของการเอาระบบนั่งร้านมาเปลี่ยนเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ที่เบาและมีความคล่องตัวในการใช้สอย โคมไฟที่มาจากการดัดแปลงกระปุกน้ำยาเก่าให้กลับมาเป็นประโยชน์อีกครั้ง หรือการนำเอางานหัตถกรรมจักสานพื้นบ้านไทย มาต่อยอดด้วยการผลิตที่ใช้วัสดุและดีไซน์ที่ทันสมัย เพื่อชูแนวคิด 3R