เมื่อพูดถึงโจทย์ของคนที่กําลังมองหาบ้านเดี่ยวใจกลางเมืองที่ดีสักแห่งนั้น ดูจะเป็นความต้องการในฝันที่ในความเป็นจริงดูจะขัดแย้งกันไปหมด “อยากได้ทําเลดีใจกลางเมือง ใกล้รถไฟฟ้า และไม่ห่างไกลจากทางด่วน” แต่ขอให้เป็น “พื้นที่เงียบสงบ” ที่สามารถพักผ่อนจากความวุ่นวายในเมืองด้วยได้มั้ย ? แสนสิริเก็บคําถามสําคัญนี้ไว้ในใจกับตัวเอง และเปลี่ยนให้เป็นความจริงในครึ่งแรกของปี 2024 พร้อมโอบรับเหล่าลูกบ้านผู้มีความต้องการในข้างต้นแบบทุกเช็คลิสต์ด้วยการเปิดตัวโครงการ ELSE หนึ่งใน 4 แบรนด์ใหม่ของแสนสิริ มาพร้อมคอนเซปต์ “BE ANYTHING ELSE” ให้คุณได้เป็นทุกสิ่งที่อยากเป็น ในพื้นที่บนทําเลซัพพอร์ตทุกความเป็นส่วนตัว เพื่อให้ทุกคนได้เป็นตัวของตัวเอง ว่ากันด้วยแนวคิดของโครงการ ELSE เป็นโครงการที่ปรับมุมมองเปลี่ยนวิธีคิดให้บ้านเดี่ยวกลางเมืองสามารถมาพร้อมกับความเป็นส่วนตัวแบบเงียบสงบได้ ซึ่งแตกต่างจากอสังหาโครงการบ้านเดี่ยวที่แสนสิริเคยมีมาอย่างสิ้นเชิง ด้วยความเอ็กซ์คลูซีฟไพรเวทที่มีเพียง 2-7 ยูนิตต่อทําเล ด้วยราคาเพียง 29-59 ล้านบาท UNLOCKMEN ชวนทุกคน Walk In เปิดประตูสู่ ELSE ที่อยู่อาศัยในฝันของชาว Urban Men ทุกคน ผ่านการพูดคุย กับ ‘แบงค์ – ปรีดากร เมธเกรียงชัย’ Designer & Co-Founder ของ RAMS
The Who คือวงดนตรีในปี 1964 จากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เริ่มต้นจากเด็กหนุ่ม 4 คน Roger Daltrey (ร้องนำ) / Pete Townshend (กีตาร์) / John Entwistle (เบส) / Keith Moon (กลอง) พวกเขาเป็นวงดนตรีที่มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมของชาว Mods (Modernism) และผูกพันกับภาพของ Lambretta มากที่สุดเท่าที่วงดนตรีวงหนึ่งเคยมีมา และความผูกพันนั้นถูกบันทึกผ่านเสียงเพลงที่ส่งต่อเป็นวัฒนธรรมจากสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 6 ของวง ที่มีรูปเด็กหนุ่มคนหนึ่งขึ้นคร่อมสกู๊ตเตอร์ด้วยแฟชั่นอิตาเลียนสไตล์ Parkas ของ Mods แต่บอกก่อนเลยว่ามันไม่ใช่แค่ภาพเอาเท่เฉย ๆ ในบทความนี้เราจะมาเล่าเส้นทางระหว่าง The Who กับสกู๊ตเตอร์อิตาเลียนสไตล์คันนี้กัน อัลบั้ม Quadrophenia ถูกวางเพลงเอาไว้เป็นแบบที่เรียกว่า “Concept Album” สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับสิ่งนี้ มันคือการทำอัลบั้มแบบที่ทุกเพลงจะเล่าเรื่องเพียงเรื่องเดียวจากคอนเซปต์ที่ถูกวางเอาไว้ อาจจะเป็นเรื่องราวที่แต่งขึ้น เป็นเหตุการณ์จากประวัติศาสตร์จริง หรือเป็นอะไรก็ตาม แต่สำหรับ The
ชื่อของ Lambretta กว่าจะถูกแปะอยู่ในวัฒนธรรมหลัก Pop Culture เป็น Scooter สัญชาติ Italian จากเมือง Milan สไตล์เฉพาะตัวไม่เหมือนใครได้อย่างทุกวันนี้ต้องบอกว่าเป็นการเดินทางที่ยาวไกลมาก และย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 1947 นู่นเลย แล้วเป็นการเดินทางที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเพียง Subculture ทางเลือกนอกกระแสคนขี่มาก่อนด้วยซ้ำ บทความนี้จะพาชาวเลือดกรุ๊ปแลมทุกคนไปรีแคปเส้นทางการเดินทางส่วนหนึ่งของ Lambretta ให้เห็นว่ารถจากอิตาลีคันนี้วิ่งผ่านเส้นวัฒนธรรมย่อยเข้าสู่วัฒนธรรมหลักได้อย่างไร เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ของแลมกับชีวิตของผู้คนอย่างจริงจัง ไปด้วยกัน หมุดหมายแรกของ Lambretta ในเรื่องเล่าของเรา มาเริ่มต้นเล่าเรื่องนี้กันตรงที่มาทบทวนคำศัพท์กันก่อนดีกว่า และคำเดียวที่คุณจะต้องรู้ก็คือคำว่า ‘ม็อด (Mods)’ ที่หมายถึง ‘สมัยใหม่นิยม (Modernism)’ เป็นคำซึ่งใช้นิยามคนกลุ่มหนึ่งจากเมืองผู้ดีกรุงลอนดอน (London) ในยุค 1950s ที่แน่นอนว่ามี Lambretta เป็นพาหนะเดินทาง เป็นสัญลักษณ์ และเป็นแพชชั่นของชีวิต Mods คือกลุ่มวัยรุ่นที่ฐานะอยู่ในระดับชนชั้นกลาง มีความคิดเห็นต่างต่อบรรทัดฐานของสังคมเพื่อที่จะแสดงถึงความอิสระของตัวเอง และสิ่งที่แสดงออกถึงความเป็นหนุ่มสาวชาว Mods ได้ดีที่สุดคือการคัสตอม Lambretta ที่มีกระจกข้างยุบยับเต็มรอบส่วนหน้าของรถ คำถามที่ว่า “ทำไม?” คำตอบก็คือพวกเขาทำเพื่อประชดรัฐบาลอังกฤษ ณ ช่วงเวลานั้น
จบการแข่งขันกันไปเรียบร้อยสำหรับแคมเปญคนคลั่งบอลประจำฤดูกาล 2024 ของ Chivas The Blend ในสโมสรฟุตบอลที่ใช้ชื่อว่า REGAL F.C. ที่มาในปีที่ 3 และยังคงแน่วแน่ในโกลด์ของตัวเอง ซึ่งต้องการให้วัฒนธรรมฟุตบอลถูกขับเคลื่อนด้วยความหลากหลายให้ได้ ไม่ว่าจะสไตล์ไหน มีความชอบอะไร หากมีใจรักให้กับ Football เราทุกคนก็คือทีม “I RISE, WE RISE!” อย่างไม่มีแบ่งแยก ! เพราะว่าวงการฟุตบอลมีตำนานและความเป็นไปได้รอให้ค้นหาในทุกวัน REGAL F.C จึงขอวิ่งลงสนามตามทันทุกเทรนด์ฟุตบอลโลกโดยมีคำประจำใจใช้เฉลิมฉลองของตัวเองว่า “Modern Football Culture” โดยที่ตั้งแต่เริ่มต้นสโมสรใน Day 1 ก็คิดแคมเปญนี้ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถจากทุกแขนงทั่วโลกที่ต้องการฉีกกฎเดิม ๆ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ โดยเฉพาะกับดนตรี ศิลปะ และแฟชั่น เป็นการขับเคลื่อนชุมชนวัฒนธรรมคนรักฟุตบอลแบบรอบด้านก็ว่าได้ และสำหรับแคมเปญ REGAL F.C 2024 ของไทยประจำปีนี้แมทช์ Football Game สุดดุเดือดจาก 3 Headliner คุ้นหน้าคุ้นตาคุ้นฝีแข้งนำทีมโดย #StreetIcon ‘บ๊อบ–วรากฤช วิวัฒนาเกษม
Oh, my baby, sweet like bubble gum Bouncin’ like playin’ ball จะร้องไห้ นี่สินะที่เขาเรียกว่าวางรากฐานมาดีซะจนจะฉีกไปทำอะไรที่ออกจากวงกลมของ Comfort Zone มาก ๆ ก็ได้แล้ว ใครจะนึกว่าจะได้ฟังเพลงที่มีความเป็น City Pop จาก NewJeans กันนะ แล้วพอไล่อ่านเครดิตก็ไม่ผิดคาด 250 ในตำแหน่ง Producer เหมือนอย่างที่แล้วมา ตั้งแต่วงเดบิวต์กับ ADOR ในปี 2022 ที่ผ่านมา ย้อนกลับไปในงาน Korean Music Awards ครั้งที่ 19 (KMA 2022) เป็นปีที่ Lee Ho-hyeong สามารถคว้ารางวัลทั้งฝั่งเบื้องหน้าในการเป็นศิลปินและเบื้องหลังของการเป็นโปรดิวเซอร์เองก็ตาม ชื่อที่ถูกส่งเข้าชิงรางวัลไม่ใช่ชื่อที่คุณเพิ่งอ่านไปในบรรทัดก่อน แต่สำหรับวงการเพลง K-pop เขาถูกเรียกด้วยรหัส 250 (이오공) เหตุผลไม่ซับซ้อน ชื่อจริงของเขาออกเสียงคล้ายกับตัวเลข 2
– นี่คือคำสารภาพของเด็กหนุ่มวัย 30 ที่หลงไหลในเพลงเศร้าผู้อยากขลุกตัวอยู่ในหลุมดำของตัวเองตลอดเวลา – ทุกครั้งที่ฟังเพลงของ AYLA’s มันเหมือนเราพาตัวเองเดินเข้าสู่คลาสบำบัดความรู้สึกเลวร้ายตลอดทั้งวันด้วยสิ่งที่เศร้ายิ่งกว่า ภายในห้วงนั้น มีเตียง 1 ตัวให้ทิ้งทุกอย่างก่อนปล่อยร่างลงนอน เมื่อโน้ตแรกจากเสียงเพลงแว่วเข้ามา การบำบัดก็ได้เริ่มต้นขึ้น เด็กหนุ่มทั้ง 5 ใช้ความเศร้าหมองเป็นยาดี ทำเพลงไวบ์หม่นเศร้าเพื่อที่จะคอยปรบบ่าเราเบา ๆ ให้ก้าวสู่วันใหม่ได้ด้วยแรงของของตัวเองอีกครั้ง อัลบั้ม I’M KEEP GOING RUN AWAY มีความหมายอย่างนั้นกับเรา และตัวเพลงก็ได้ทำให้ซีนจากมังงะ ภาพยนตร์ หรือซีรีส์หลาย ๆ เรื่องที่เคยอยู่ในความทรงจำของเราให้มีความหมายยิ่งกว่าเดิม Next Cover, Same Mood ตอนที่ 10 จึงเป็นการจับหลากซีนที่ทั้งใจสลาย หรือบางครั้งก็ทำให้ทำให้หลั่งน้ำตาแห่งความสุขออกมาโดยไม่รู้ตัวเหล่านั้น เข้ากับทั้ง 12 เพลงในอัลบั้มนี้ ** คอลัมน์นี้มีสปอยล์ซีนสำคัญของมังงะ ภาพยนตร์ และซีรีส์หลายเรื่อง ** Song : เปลี่ยนไปแต่เหมือนเดิม (Changed) Anime : Ocean
สำหรับคนที่เป็นแฟนคลับของแบรนด์รองเท้าจากเยอรมันอย่าง BIRKENSTOCK อยู่แล้ว ก็คงไม่ต้องอธิบายเยอะว่านี่คือรองเท้าที่ใส่ดีขนาดไหนสำหรับสายเดินตลอดวัน ที่ต้องการความสไตล์ลิ่งเท่ไม่เหมือนใคร ปี 2024 นี้ BIRKENSTOCK กลับมาตอกย้ำความหมาย ‘รองเท้าของคนเมือง’ อีกครั้ง ด้วยรุ่น ZURICH TECH และ SHINJUKU รองเท้าที่ผลิตขึ้นเพื่อตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของคนในเมืองใหญ่โดยเฉพาะ ความเจ๋งของรองเท้าทั้ง 2 รุ่นไม่เหมือนกับ BIRKENSTOCK รุ่นที่ผ่านมา UNLOCKMEN ได้สัมผัสมาแล้ส BIRKENSTOCK ZURICH TECH ก้าวเดินครั้งใหม่จากรองเท้ารุ่นคลาสสิกปี 1964s ถ้าลองพิมพ์คีย์เวิร์ดใน Google ด้วยชุดคำสองคำนี้ ‘1964s’ และ ‘Shoes History’ คำตอบที่อินเทอร์เน็ตมอบให้ จะมีชื่อของแบรนด์รองเท้าจากเยอรมันนี BIRKENSTOCK ขึ้นมาด้วย เพราะช่วงเวลานั้นเป็นปีเดียวกันกับที่ ZURICH รองเท้าซึ่งถูกเรียกว่าเป็นอีกหนึ่งรุ่นสำคัญของแบรนด์ได้ถือกำเนิดเป็นครั้งแรก BIRKENSTOCK ตั้งชื่อรุ่นรองเท้าของตัวเองด้วยการ Country & City Name จากรอบโลกทุกครั้ง จะ BOSTON / KYOTO
เมื่อพูดถึงการใช้เวลาท่องไปในราตรีของคืนวันศุกร์ ณ สะพานควาย อารีย์ ย่านรวมบาร์ที่เรียกได้ว่ามีความเป็นตัวของตัวเองมากที่สุดแห่งหนึ่ง จะบาร์ลับที่รอต้อนรับคนแปลกหน้าไม่ซ้ำแต่ละวันก็ดี หรือจะบาร์สาธารณะที่ผู้คนทั่วทุกย่านต่างต้องมาก็ไม่เลว ในอินเตอร์เน็ตมีไบเบิ้ลออนไลน์ Bar Guide ชี้โลเคชั่นแทบจะทุกจุดในซอกซอยที่มีบาร์ของย่านแห่งนี้เอาไว้หมด แต่แน่นอนว่าบางบาร์ก็หลบตัวจนพ้นจากสปอตไลต์ของนักรีวิวไปจนได้ และไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามที่พวกคุณคนอ่านไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ เรามายืนอยู่ที่ Roaring Room ใน 490/3 ถนนพหลโยธิน บาร์ที่อยู่ไม่ห่างไกลจากสำนักงานใหญ่ของธนาคารออมสินมากนัก ประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ ในบรรทัดที่คุณเพิ่งจะอ่านผ่านมา คือคอนเซปต์ของบาร์แห่งนี้ และไม่ว่าใครจะรู้สึกอย่างไร มันชวนให้เรานึกถึงบาร์แจ๊สที่ไม่มีอยู่จริงในหนังสือของนักเขียนชาวญี่ปุ่น Haruki Murakami ที่ชื่อ South Of The Border, West Of The Sun อยู่ไม่น้อย ตัวละครหลักชายหนุ่มวัยกลางคนอย่าง Hajime เลือกที่จะเปิดธุรกิจบาร์แจ๊สที่ Niche สุด ๆ แต่เขาก็ทำมันจนสามารถประสบความสำเร็จได้เพราะเชื่อใน ‘เสียงเพลง’ เหนือเหตุผลอื่นใดทั้งหมด เรามองเห็นสิ่งนี้ใน Roaring Room ไม่ต่างกัน ด้วยความความคล้ายคลึงของเสน่ห์บางอย่างจาก Roaring
“ร้านเขาอ่านว่า ‘สยามมิส’ เมื่อกี้มึงอ่านผิด” ขณะยืนเถียงระหว่างชี้ทางใน Google Maps กับเพื่อน AE ที่มาด้วยกันในวันนี้ เราทั้งคู่ก็เดินมาถึงหน้าร้าน Siamese Cocktail & Gallery ในสุขุมวิท 58 แบบไม่รู้ตัว วันนี้เราตามหาบาร์เทนเดอร์ของร้านเพราะมีทีเด็ดที่หลายคนบอกให้มาลอง นั่นคือเครื่องดื่มแก้วพิเศษที่สร้างสรรค์จาก Jameson Black Barrel และวัตถุดิบจากหลายภูมิภาคของไทย แถมยังเป็นการเสิร์ฟแบบ Pairing อาหารที่ช่วงส่งเสริมทั้งกลิ่นและรสชาติที่กลมกล่อมและแตกต่าง เล่าขานกันขนาดนี้ มีหรือที่เราจะพลาดได้ คอลัมน์ ManCave ในครั้งนี้ เราขอเสนอเรื่องราวของ Hand-selected Whiskeys ที่กลมกล่อมเพราะความพิถีพิถันใส่ใจซึ่งเป็น Herritage ของแบรนด์มาโดยตลอด ผ่านประสบการณ์จากบาร์ชื่อ Siamese Cocktail & Gallery ที่นำความเป็นค็อกเทลไทยมาเจอกับความเป็น Irish Whiskey ได้อย่างลงตัว แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น สิ่งที่ทุกคนต้องรู้ก่อนว่า คอนเซปต์ของบาร์แห่งนี้เขานิยามตัวเองเอาไว้ 2 คำ ซึ่งเป็นสิ่งที่บอกเล่าความเป็นไทยของร้านเอาไว้ทั้งหมดแล้ว นั่นคือ ‘Thai Drink
ขอเล่าย้อนกลับไปสักนิดก่อนจะเข้าเนื้อหาหลักที่โปรยเอาไว้บนเฮดไลน์ของบทความ (เพื่ออรรถรสที่สนุกมากขึ้นน่ะ) Rado แบรนด์นาฬิกาชั้นนำจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ผู้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้นำด้านวัสดุศาสตร์ เคยร่วมงานกับดีไซเนอร์ชื่อดังสามคนจากหลากแขนงมาร่วมออกแบบเรือนเวลาในซีรีส์ True ตามความสามารถที่แต่ละคนถนัด – Rado True Phospho ออกแบบโดยสตูดิโอ Big-Game บริษัทออกแบบชั้นหัวแถวของสวิตเซอร์แลนด์ – Rado True Blaze ออกแบบโดย Sam Amoia นักออกแบบภายในระดับโลก (Interior Design) และเมื่อปี 2017 Rado True Shadow ออกแบบโดย Kunihiko Morinaga แฟชั่นดีไซเนอร์ตัวท็อปแห่งวงการสิ่งทอแบบโฟโตโครมิก (Photochromic) ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทันทีที่ปล่อยคอลเลกชันออกมา เวลาผ่านไป 7 ปี วันนี้ Kunihiko Morinaga กลับมาพร้อมกับโปรเจกต์ที่พิเศษและเต็มไปด้วยความท้าทายใหม่ ๆ นำเสนอนาฬิการุ่น True Square x Kunihiko Morinaga ในปี 2024 ขึ้นมา แค่ชื่อก็น่าตื่นเต้นแล้ว เพราะได้ใช้ชื่อแบรนด์จากสวิตเซอร์แลนด์และชื่อ–นามสกุลภาษาญี่ปุ่นของเขาต่อกันเลย เล่ากันสั้น ๆ สำรับชื่อของ Kunihiko Morinaga ถูกนิยามเอาไว้ 2 ประโยค ‘นักวิทยาศาสตร์แห่งแฟชั่น’ และ ‘นักบทกวีแห่งแฟชั่น’ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ของตั้วเอง ANREALAGE ตอนอายุ 23 เท่านั้น เขาปฎิวัติวงการแฟชั่นโดยความสามารถพิเศษในการทำ Photochromic Design บนเสื้อผ้า ถึงขนาดถูกเรียกว่าเป็นนักเล่นแร่แปรธาตุ และด้วยความสนใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนี่เอง ที่ทำให้เคมีร่วมงานกับ Rado ลงตัวในผลงานอย่างที่สุด True Square x Kunihiko Morinaga คือผลงานล่าสุดหลังคอลเลกชันเมื่อ 7 ปีที่แล้ว