ช่วงนี้บนหน้าฟีดบน Facebook เป็นอะไรไม่รู้ มีแต่ร้านอาหารที่ขายเมนู Fish & Chip เต็มไปหมด โดนอัลกอริทึ่มโจมตีต่อมความหิวอย่างหนัก ตอนเวลาประมาณ 3-4 ทุ่มทุกวันเลย แต่ไม่เป็นไร เพราะโดยทุนเดิมก็เป็นคนรักในวัฒนธรรมอาหารสไตล์อเมริกันอยู่แล้ว จะการตกแต่งร้านก็ดี จะอาหารก็ดี แล้วก็พยายามนึกให้ออกว่าครั้งสุดท้ายที่ไปนั่งกิน Fish & Chip อย่างจริง ๆ จัง ๆ มันคือตอนไหนกันนะ .. เห้ย! นานมากแล้วนี่หว่า นั้นเป็นโอกาสดีเลยที่จะได้อัพเดทกับตัวเองและเพื่อน ๆ ทุกคนที่ชอบ American Diner เหมือนกัน UNLOCKMEN จะพาไปตะลุยร้านอาหารสไตล์ American Diner ที่น่าสนใจในปี 2022 ไปปักหมุดพร้มกันเลย The Diner 3021 ขอเปิดร้านแรกแบบยิ่งใหญ่และเขาเพิ่งเปิดได้ไม่นาน ซึ่งออกตัวเลยว่าเป็น NO.1 ที่เราอยากไปตอนนี้เลย นั่นก็คือ The Diner 3021 ร้านที่ให้อารมณ์เหมือนได้สวมบทเป็นตัวละครจาก Riverdale ซีรีส์
สำหรับปี 2022 ก็เป็นระยะเวลาที่มังงะโจรสลัดอันดับหนึ่งของโลกอย่าง One Piece เข้าขวบที่ 25, ความยาว 1,000 ตอน และ จำนวนเล่มที่ 100 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหล่าแฟนคลับคงจะได้อ่านข้อความขอบคุณผู้อ่านอันยาวเหยียดของอาจารย์ ‘เออิจิโระ โอดะ’ กันแล้วใช่มั้ยครับ ระหว่างที่เขาเขียนจะมีน้ำตารึเปล่าก็ไม่รู้ แต่เชื่อว่าทุกคนที่ติดตามกลุ่มโจรสลัดหมวกฟางมาตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น มีเรือของพวกเขาเทียบท่าอยู่ในใจตลอดมา ต้องเสียน้ำตากันอย่างแน่นอน เมื่ออาจารย์โอดะทิ้งท้ายข้อความจดหมายเอาไว้ว่า ‘เนื้อเรื่องได้เดินทางเข้าสู่ช่วงสุดท้ายกันแล้วครับ’ พอคิดล่วงหน้าถึงวันที่ตอนจบมาถึงก็คงจะเศร้าที่ต้องจากลา แต่ก็คงโล่งใจไม่น้อยที่ได้รู้บทสรุปเสียที เพื่อเป็นการฉลองให้กับความยิ่งใหญ่ของการ์ตูนโจรสลัดกับ The Movie ลำดับที่ 15 ในชื่อตอน One Piece Film RED ซึ่งพาเราไปรู้จักกับตัวละครใหม่อย่าง ‘อูตะ’ สาวน้อยไอดอลในโลกของโจรสลัด และความลับในอดีตของจักรพรรดิผมแดงอย่าง ‘แชงค์’ ที่แฟน ๆ ทั่วโลกอยากรู้มาโดยตลอด One Piece Film RED เข้าฉายแล้วทุกโรงภาพยนตร์ในวันที่ 23 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา แต่สำหรับที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งฉายก่อนตั้งแต่วันที่ 6
นี่เป็นคนชอบอ่านมังงะที่มีความเรียลชีวิตจริงแบบเศร้า ๆ มาก แล้วทุกครั้งจะต้องเศร้าตามพร้อมกับเสียน้ำตาไปหลายลิตร แต่มันไม่ใช่เพราะว่าเราเสพติดความเศร้าหรืออะไรนะ มันเป็นเพราะความเศร้าได้สร้างคุณค่าให้ชีวิตเรา ไปพร้อม ๆ กับเติมเต็มว่าปัจจุบันเรายังมีชีวิตอยู่ วันนี้อยากจะขอพูดถึงมังงะภาพสวย พล็อตแสนเศร้า ซึ่งมาพร้อมกับบทสรุปอันแสนงดงาม ชื่อ My Broken Mariko ผลงานเดบิวต์ปี 2020 ของคุณ Waka Hirako ผู้ที่เขียนพร้อมวาดมังงะเรื่องนี้จากประสบการณ์ตรงในชีวิตของตัวเอง โดยเลือกถ่ายทอดความเจ็บปวดได้อย่างเข้าใจ * Trigger Warning ต้องขอเตือนก่อนเลยว่า My Broken Mariko เป็นมังงะที่มีเนื้อหาซึ่งจะส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างรุนแรง ด้วยภาพของการทำร้ายในครอบครัว และภาพของการพยายามจบชีวิตตัวเองของตัวละคร * แต่ UNLOCKMEN อยากให้คุณได้อ่านการ์ตูนเรื่องนี้ ที่พาเราไปสัมผัสกับ ‘อาการซึมเศร้า’ แบบที่ใกล้ที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งมาพร้อมกับคุณค่าดี ๆ มากมายเพื่อให้เรามีชีวิตอยู่กันต่อไป เรื่องย่อ : หลังจากที่ได้ยินข่าวว่า ‘มาริโกะ’ จากไปอย่างกระทันหันด้วยสาเหตุที่ไม่ใช่แค่เธอเท่านั้น แต่ไม่ว่าใครก็ไม่มีทางรับได้ ‘ชิอิโนะ โทโมยะ’ ผู้เป็นเพื่อนสนิทของเธอ ถ้าจะพูดให้ถูกต้องคือเป็นเพื่อนคนเดียวถึงจะถูกกว่า รู้ถึงสาเหตุเบื้องหลังนี้ จึงออกไปโขมย
เพราะวรรณกรรมเต็มไปด้วยความสวยงามที่เกิดจากความเมามายทางอารมณ์มากมาย ไม่ว่าจะในเนื้อเรื่องที่ถูกแต่งขึ้นก็ดี หรือตัวนักเขียนเองที่ใช้เป็นแรงขับเคลื่อนในการจรดปากกาแต่ละตัวอักษรก็ดี ไปจนถึงการมีแพชชั่นในการดื่มโดยส่วนตัว อย่างผู้เขียน Ernest Hemingway ผู้เขียน Old Man and The Sea ก็ถึงขนาดเปิดแบรนด์เครื่องดื่มของตัวเองขึ้นมาเลย ในนิยายซีไรต์ของ ‘ชาติ กอบจิตติ’ เรื่อง คำพิพากษา เครื่องดื่มเย็น ๆ ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการ ‘ลืม’ โดยหมายถึงการลืมว่าโลกในชีวิตจริงเป็นอย่างไร แล้วอาศัยอยู่ในโลกหลังแอลกอฮอลล์แทน หรืออดีตนายกของประเทศไทย ‘คึกฤทธิ์ ปราโมช’ ก็เขียนรวมเรื่องสั้นขนาดยาวชื่อ หลายชีวิต ที่มีโทษของการใช้เครื่องดื่มเพื่อเป็นสุดยอดนักเขียนบันทึกเอาไว้ด้วย ความสัมพันธ์ระหว่าง ‘เครื่องดื่มเย็น ๆ’ กับ ‘วรรณกรรม’ เป็นสิ่งที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาอย่างยาวนาน เพราะมนุษย์ยังคงดื่มและเขียนอย่างไม่มีทางสิ้นสุด UNLOCKMEN จะพาทุกคนไปรู้จักกับเครื่องดื่มที่ได้แรงบันดาลใจมาจากหนังสือเล่มดังกัน First Rule India Pale Ale (Fight Club) “กฎข้อแรกของไฟต์คลับ ห้ามพูดถึงไฟต์คลับ” จากนิยายเล่มดังของ Chuck Palahniuk สู่หนังไอคอนิกในปี 1999 โดย
หลังจากเคยถอดออกจาก Netflix (ไทย) ไปแล้วครั้งนึง ตอนนี้ Death Proof ภาพยนตร์ปี 2017 ของเจ้าพ่อหนังคัลท์ยุคใหม่ Quentin Tarantino ก็กลับมาสตรีมมิ่งอีกครั้ง ใครที่ยังไม่เคยดูบอกเลยห้ามพลาด! ด้วยเสน่ห์ที่มีกลิ่นอายความสยองขวัญแบบปี 80s ซึ่งมาพร้อมกับความฟิล์มนัวร์ Noise มาเต็มที่ได้อารมณ์มาก ๆ และถ้าคุณรักรถ Vintage อย่าง Chevy Nova เรียกว่าจะได้เชยชมความงามที่มาพร้อมความแรงตลอดเรื่องกันเลยล่ะ สำหรับ Death Proof เควนตินเคยให้สัมภาษณ์ว่าเป็นผลงานที่ชอบน้อยที่สุดตั้งแต่เคยสร้างมา แต่ถ้าถามความเห็นของเราที่เป็นแฟนคลับเขา และเพิ่งจะดูเรื่องนี้อีกครั้งไปเมื่อไม่กี่วันก่อน ต้องบอกว่าไม่ได้รู้สึกว่าแย่ กลับกันคือยังเปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์ (และกวนตีน) สไตล์เควนตินเหมือนเดิม และที่ชอบมากโดยส่วนตัว คือการแตกไอเดียหัวข้อ ‘Death Proof’ อันเป็นเรื่องราวว่าด้วยรถซิ่งของสตั๊นแมนยุคเก่า ที่ใช้เพื่อชนจริง กระแทกจริง ไม่มี CGI ผสมใด ๆ มาเป็นเรื่องราว 2 ชั่วโมงได้อย่างสนุกจนน่าเหลือเชื่อ และปฎิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งที่น่าประทับใจนอกจากการได้เห็น Mary Elizabeth Winstead ใส่ชุดเชียร์ลีดเดอร์สีเหลืองแล้ว
ถ้านึกถึงสิ่งแรกที่คิดถึงประเทศเกาหลีใต้ สำหรับคนที่ยังไม่เคยไปอย่างเราก็คงมีวัฒนธรรมการกินไก่ทอด & เบียร์, วง G-IDLE (เป็นติ่งแหละ), การทำศัลยกรรม อ้อ ๆ แล้วก็แน่นอน ‘การสัก’ ไงล่ะ เสน่ห์ของความมินิมอลบนเรือนร่างเป็นสิ่งที่ไม่มีทางลืมนึกถึงได้เลย เพราะเกาหลีใต้คือหนึ่งในประเทศที่คนบินไปเพื่อสักมากที่สุดที่หนึ่งของโลก อุดมไปด้วย Tattoo Artist มีชื่อเสียงฝีมือฉกาจมากมาย แต่น่าเศร้าที่กฎหมายของประเทศนี้ยังจับคำว่า ‘ถูกกฎหมาย’ ของการสักใส่ไว้ในกรงไม่ให้หนีไปไหน ซึ่งย้อนไปไกลตั้งแต่ปี 1992 จนล่าสุดถึงปี 2022 สาเหตุของความย้อนแย้งของกฎหมายต่อสายตาของผู้คนทั่วโลก ว่าอะไรทำให้ประเทศที่งานศิลปะเจริญรุ่งเรืองสุดขีดในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะดนตรี แฟชั่น และแน่นอนว่า ‘การสัก’ ถึงถูกแบนจากประเทศของตัวเอง UNLOCKMEN ชวนอ่านเรื่องเศร้าของการเป็นช่างสักในเกาหลีใต้ ที่พวกเขารู้สึกว่าถึงแม้จะเป็นประเทศที่เจริญแล้ว แต่ก็ยังถูกปฎิบัติราวกับอาชญากรอยู่ดี The K-TATTOO ความรุ่งเรืองที่สวนทางเรื่องรอยสักในเกาหลีใต้ น่าจะสามารถใช้มาตรวัดที่ไม่มากก็น้อยจากวัฒนธรรมภายในประเทศที่เรียกว่า K-TATTOO อันเป็นคำนิยามในทางเดียวกันกับคำที่ใช้กำหนดแนวดนตรีในประเทศ K-POP หรือซีรีส์แบบ K-DRAMA ความหมายง่าย ๆ ประมาณว่า ‘รอยสักที่อยู่บนเรือนร่างของศิลปินเกาหลี’ นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น รอยสักบนตัวของ
ถ้าพูดถึงประเทศแห่งความฝัน นอกจาก American Dream ก็มีญี่ปุ่นนี่ล่ะที่หัวข้อ ‘สู้เพื่อฝัน’ ถูกยกขึ้นมาพูดอย่างไม่เคยขาดในทุกสื่อ ไม่ว่าจะใน Soft Power หลักอย่างมังงะ อนิเมะ จนถึงวรรณกรรมหลาย ๆ เล่มเองก็ตั้งคำถามถึงสิ่งนี้เสมอ ถ้ายังจำกันได้ ตอนโอลิมปิกส์ปี 2020 ที่ผ่านมา ทีมวอลเลย์บอลของทีมชาติญี่ปุ่น ก็มีท่าตบลูกอย่างกับหลุดออกมาจากเรื่อง Haikyu!! จนเป็นที่ฮือฮาไปทั่วโลก และอีกหนึ่งสื่อสุนทรีย์ที่ขับเคลื่อนชีวิตมนุษย์กว่าศตวรรษอย่าง ‘ภาพยนตร์’ ของญี่ปุ่น เมื่อพูดถึงความฝันเราจึงได้เห็นภาพยนตร์ที่อิงจากชีวิตจริงมนุษย์ ซึ่งพูดถึงการตามความฝันแต่ไม่สำเร็จอยู่บ่อย ๆ UNLOCKMEN จะมาชวนทุกคนถอดบทเรียนจากหนัง 4 เรื่อง ว่าด้วยเรื่องราวของเหล่าผู้คนในวันที่สู้เพื่อฝัน แต่ความจริงก็ซัดหมักหนักใส่ชีวิตเหลือเกิน เพื่อเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังทำตามฝัน หรือเคยมีฝันทุกคนใช้ชีวิตแบบที่ต้องการกันต่อไปครับ Solanin (2010) : จงทำตามความฝันให้เหมือนกับว่าพรุ่งนี้จะไม่ได้ฝันอีกแล้ว ไอเดียสำคัญจากหนังซึ่งดัดแปลงจากมังงะของ Inio Asano เรื่องนี้ คือการพูดกับคนดูด้วยน้ำเสียงปกติ ในวันที่แดดแรงพอจะทำให้ผ้าแห้งว่า “ทำความฝันวันนี้ให้เต็มที่นะ ถ้าพรุ่งนี้ตายไปจะได้ไม่ต้องเสียใจทีหลัง” ‘ความตาย’ เป็นสิ่งใกล้ตัวเราทุกคนเสมอ ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ความตายฟรีสไตล์จริง
Kazuhiro Hori เริ่มวาดรูปเด็กสาวมัธยมในชุดนักเรียนแบบกะลาสีเรือตั้งแต่ปี 2009 และมันมีความหมายแฝงที่ห่างไกลจากการสร้างความลุ่มหลงทางอารมณ์ให้คนดูยิ่งนัก ตุ๊กตาหมีขนปุย เด็กผู้หญิงในเครื่องแบบชุดนักเรียน ขนมหวาน และสีชมพู เป็นของ 4 สิ่งที่ไม่ว่าจะอยู่ในองค์ประกอบเดียวกัน หรือแยกออกมาเป็นปัจเจกก็ให้ความรู้สึกของความน่ารักที่เปี่ยมด้วยความสดใสน่าดูเลยใช่มั้ยครับ แต่ถ้าคุณได้ดูภาพวาดจากงานของ Kazuhiro Hori ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งเหล่านี้คงไม่มีวันเหมือนเดิมได้อีกเลย UNLOCKMEN จะพาทุกคนไปรู้จักกับศิลปินญี่ปุ่นผู้วาดภาพที่เต็มไปด้วยองค์ประกอบทั้งหมดที่เราเกริ่นมา ซึ่งตั้งใจแสดงออกถึงความลุ่มหลงทางเพศให้คนดู แต่แฝงนัยยะให้เกิดผลกระทบสร้างความแขยงต่อความคิดของการล่วงละเมิดทางเพศโดยตรง Kazuhiro Hori เกิดปี 1969 ในประเทศญี่ปุ่น จบจากโรงเรียนศิลปะ Kanazawa College of Art ด้วยเอกวิชาภาพวาดสีน้ำมัน (Oil Painting) ปัจจุบันโฮริมีงานหลักเป็นอาจาย์สอนวิชา Fashion Design ในมหาวิทยาลัยพร้อมกับรับงานรองสอนศิลปะกับวาดรูปไปด้วย โดยรูปแบบงานของโฮริจัดอยู่ในหมวดของศิลปินจิตกรรมสายเหนือจริง (Surrealism) ขอเกริ่นรูปแบบงานพร้อมชมกิตติมศักดิ์ของคุณโฮรินิดนึง โดยงานของเขาจะเล่าเรื่องของวัฒนธรรมญี่ปุ่นแบบเรียกว่า 100% เลยก็ว่าได้ และโฮริไม่เคยมั่นใจเลยว่างานของตัวเองจะสามารถไปในระดับ Global ได้ “งานของฉันจะถูกเข้าใจในความคิดของชาติอื่นได้มั้ย?” แต่แล้วด้วยความชัดเจนของลายเส้นและความหนักแน่นต่อสิ่งที่ต้องการจะพูด งานของโฮริมันก็ไวรัลในสายตาของคนทั่วโลกไปแล้ว ทั้งจัดแสดงในลอสแอนเจลิส, นิวยอร์ก, มิวนิค และเพิ่งมาจัดแสดงที่ประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2022
นาทีนี้คงไม่มีข่าวเทคโนโลยีอะไรจะฮอตไปกว่าการรีวิว MacBook Air M2 ของ Apple บนสื่อออนไลน์-ออฟไลน์ทุกหัวอีกแล้ว (ใช้คำโบราณรู้อายุเลย) ก็เขาเล่นเปลี่ยนชิปประมวลผลตัวใหม่รุ่น M2 เรียกว่าล้ำสมัยที่สุดของ Apple บรรจุใส่ซีรีส์ MacBook Air อันกระทัดรัด ที่แรงจนไม่มีใครอดใจไหว แต่ออกรุ่นใหม่มาทั้งที จะอัพเกรดแค่ชิปประมวลผลก็ยังไงอยู่ ทาง Apple เลยออกสีใหม่ให้ตาวาวด้วยเลยละกัน พร้อมกับใส่ฟังก์ชั่นอีกมากมายเพิ่มเข้ามาด้วย เรามาดูกันดีกว่าว่ารุ่นนี้จะสเป็กบางเบาเป็นอากาศเหมือนชื่อ หรือแรงอย่างที่เคลมจริง ๆ หลังจาก UNLOCKMEN ได้ทดลองใช้งานจริง พร้อมกับสัมภาษณ์ตัวเองแล้วว่าชอบอะไรกับเจ้าเครื่องนี้บ้าง ไปดูกัน ขอชมดีไซน์การใช้งานภายนอกก่อนเข้าตัวเครื่องกันเสียหน่อย มาในเรื่องของ ‘สี’ และน่าจะเป็นสีใหม่ที่คนอยากเห็นของจริงพร้อมอยากได้มากที่สุด อย่าง Starlight Color ซึ่งผลคือ เป็นอย่างที่หลายคนคิดครับ … สวย! สีของจริงมิติคนละระดับกับในรูปบน istudio เยอะ การันตีความสวยจากการพกไปนั่งทำงานที่ Star Buck แล้วคนที่ผ่านไปมามองตลอดเวลา MacBook Air M2 มาด้วยขนาด 13 นิ้ว
ในความสัมพันธ์ของคู่รักเวลาที่ทะเลาะกันคุณเป็นคนแบบไหน ระหว่าง ‘ไม่พูดให้ปัญหาคลายตัวเอง’ หรือ ‘พูดให้หมดและจบตรงนั้น’ แน่นอนว่าไม่มีแบบที่ถูกและแบบที่ผิดแบบ 100% มีแต่แบบที่เหมาะสมสำหรับแต่ละสถานการณ์และของแต่ละคู่ต่างหาก แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นคนแบบไหน เราคิดว่าความสัมพันธ์จะยังไปต่อได้ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติเวลาอยู่ในอารมณ์หงุดหงิดของอีกฝ่ายเป็นอย่างดี พร้อมกับจัดการกับตัวเองให้ได้ว่าต้องไม่ทำให้เรื่องบานปลาย ควบคู่ไปกับการพิจารณาหนทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้น เพราะปัญหาเกิดขึ้นแล้ว คุณย้อนเวลากลับไปไม่ได้ จงดีล วิท อิท แมน! ขอคุยกันเลยได้มั้ย ไม่อยากให้เราทะเลาะไปมากกว่านี้ ดอกเตอร์ Jason Whiting เปรียบปัญหาความของสัมพันธ์เป็นเหมือนเมล็ดของวัชพืช และบางปัญหาต้องรีบจัดการตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่รากจะหยั่งแล้วยุ่งเหยิงยิ่งกว่าเดิม ในการทำงานกับความเครียดที่เกิดขึ้นนั้น การจับเข่าเข้าคุยกันเป็นหนทางที่ดีสำหรับการเริ่มต้นเคลียร์ และส่วนที่สำคัญคือคำพูดเปิดประโยคที่เลือกมาต้องถูกไตร่ตรองมาอย่างแม่นยำต่อความรู้สึกของอีกฝ่าย เช่นคุณอาจจะเริ่มต้นว่า “ผมไม่ต้องการให้เราทะเลาะกันเลย และผมก็ให้มีความรู้สึกแย่ ๆ ติดตัวเราสองคน มาคุยกันหน่อยได้มั้ย” ในงานวิจัยของดอกเตอร์เจสันยังเสริมต่อไปอีกว่า ถ้าแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนไปเลยตั้งแต่ต้น อีกฝ่ายมักจะแสดงผลตอบรับที่ดีกลับมา และอาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ในที่สุด คิดเป็นผลลัพธ์ที่จบลงตัวอย่างดีมีค่าตัวเลขมากถึง 96% และปัญหาจะจบลงภายใน 3 นาทีที่คุยกัน ย้ำอีกครั้งว่า การเริ่มต้นคุยด้วยคำถามที่คิดมาอย่างดีและเยือกเย็น บทสนทนาจะต่างจากการใส่อารมณ์ เค้นถาม และจี้อีกฝ่ายแบบหน้ามือเป็นหลังมือ การให้ความเคารพต่อกันและกันเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในฝ่ายที่สร้างปัญหาขึ้นมาหรือไม่ ต้องไม่ลืมที่จะจริงใจและแสดงความรับผิดชอบกับปัญหาเสมอ ถ้ายังต้องการที่จะไปต่อ พูดถึงการเริ่มต้นประโยคแล้ว