

Business
ไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมอดตาย! 5 ธุรกิจคนกลัวที่ปรับกลยุทธ์สู้วันเจอ COVID-19
By: unlockmen March 18, 2020 179006
ต้องยอมรับว่าวันนี้หลายคนหวั่นใจกับการไปอยู่ร่วมกับคนอื่นทั้งคนแปลกหน้าและคนใกล้ชิด เพราะยอดการติดชื้อที่เพิ่มขึ้นโดยจับมือใครดมไม่ได้ ค่าตรวจเชื้อก็โหดเอาเรื่อง แพงกว่าค่าซื้อประกันไปอีก ดังนั้น ทุกธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจึงต้องออกระบบการจัดการเพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับมา
UNLOCKMEN รวบรวมไอเดียจาก 5 ธุรกิจเสี่ยงที่ไม่ยอมแพ้และลุกขึ้นมาปรับตัว เปลี่ยนกลยุทธ์การให้บริการเพื่อเอาตัวรอดในสถานการณ์นี้ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับมาอีกครั้ง ใครที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมเดียวกัน เคยสับสนว่าจะทำอย่างไรนอกจากรอมาตรการเยียวยา เราว่านี่คือโอกาสดีที่ทุกคนจะลุกขึ้นมาเริ่มต้นปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อหาทางออกก่อน ใครอยากลอกวิชาการตลาดเดียวกันนี้ไว้ก็ไม่ว่ากัน นาทีนี้คงไม่มีใครจะมานั่งคิดค่าลิขสิทธิ์
“เพราะสุดท้าย เราหวังเสมอว่า พวกเราจะไม่อดตาย ก่อนที่ไวรัสจะเข้ามาฆ่าเรา”
เริ่มต้นด้วยธุรกิจที่กระทบทั้งขึ้นทั้งล่องเป็นแห่งแรกคือ “โรงภาพยนตร์” เพราะเดิมก็มีปัญหาเรื่องต้องชนกับบริษัทสตรีมมิงทุกเจ้าทั้ง Netflix, Apple TV, Disney+ และ Youtube จนรายได้หดแล้ว วันนี้พอมรสุม Covid-19 เข้ายิ่งทำให้การตีตั๋วน้อยเข้าไปใหญ่ จากเหตุผล 2 ข้อหลัก คือ
การแก้เกมเบื้องต้นเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของโรงภาพยนตร์จากเครือเมเจอร์ซินิเพล็กซ์จึงเป็นการประกาศเว้นระยะห่างในโรงภาพยนตร์ แบบแถวเว้นแถว และเว้นห่างระหว่างที่นั่งทุก 2 ที่นั่งเพื่อเป็นมาตรการป้องกัน COVID-19
ล่าสุดโรงภาพยนตร์ทั้งเครือเมเจอร์และ SF ได้ขยายมาตรการเพิ่มระดับความปลอดภัยด้วยการประกาศปิดโรงภาพยนตร์ตามมติ ครม. ชัตดาวน์สถานบันเทิง-ร้านนวดใน กทม.-ปริมณฑล 14 วัน ตั้งแต่วันที่ 18 – 31 มีนาคม 2563 นับว่าเป็นอีกหนทางของการปรับตัวสู้ ชะลอชั่วคราวรอสถานการณ์ดี ดูแลรักษาความสะอาดให้เนี้ยบเพื่อรอการกลับมาอีกครั้งที่น่าสนใจทีเดียว
เราคงต้องติดตามต่อว่าเมื่อพ้นสิ้นเดือนไปแล้ว รูปการณ์จะออกมาเป็นอย่างไร หรือระหว่างนี้การตลาดของฝั่งโรงภาพยนตร์จะกระตุ้นยอดขายด้วยการออกส่วนลดให้ซื้อออนไลน์ก่อนใช้งานจริงเพื่อสร้างความสภาพคล่องทางการเงินหรือไม่
อ้างอิงข้อมูล: 1
ลำดับถัดมาเราต้องพูดถึงโรงแรม ซึ่งแน่นอนว่าก็โดนจัดหนัก เพราะเป็นพื้นที่ที่คนแปลกหน้าเข้า-ออก ทั้งคนไทยและต่างประเทศ ดังนั้นมาตรการความปลอดภัยของโรงแรมเพื่อเรียกความเชื่อมั่นจึงต้องแน่นหนากว่า สำหรับโรงแรมในไทยตอนนี้ขอยกตัวอย่างของกลุ่มโรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ที่ออกมาเคลื่อนไหวแล้ว โดยวางมาตรการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ไล่อ่านไปทีละข้อแล้วจะเห็นว่ามาตรการของเขาแน่นหนากว่าบ้านที่เราอยู่เสียอีก และด้วยมาตรการระดับนี้ก็น่าเชื่อว่าบางทีการเข้าพักที่โรงแรมแบบนี้ น่าจะช่วยให้เราปลอดภัยได้ในระยะยาว เพราะไม่ต้องเดินออกไปหาซื้ออาหารเอง ไม่ต้องทำความสะอาดเอง ทุกอย่างก็ถูกจัดเตรียมไว้ให้เสร็จสรรพแล้ว พร้อมแก่การกักตัวอย่างยิ่ง
อ้างอิงข้อมูล: 1
“สารคัดหลั่ง ติดกันผ่านสารคัดหลั่งนะโรคนี้” เชื่อว่าหลายคนที่ออกกำลังกายอาจจะเกิดความรู้สึกหลอนไปเลย เพราะเดิมเราออกกำลังกายกันในยิม รู้ดีว่าเหงื่อใครต่อใครต้องมีกระจายใส่กันบ้าง แต่ตอนนี้ยังไม่มีรายงานไหนที่ยืนยันว่าเชื้อ Covid-19 สามารถแพร่กระจายผ่านเหงื่อ ส่วนมากมักจะกระจายผ่านสารคัดคลั่งที่ออกมาจากจมูกและปากมากกว่า ดังนั้นจึงพอเบาใจได้บ้าง
แต่แน่นอนว่า “ยิมที่ไม่ปรับตัว ก็ใช่ว่าจะผ่านไปได้ในสถานการณ์นี้” ดังนั้นหนึ่งในยิมดังอย่าง Virgin Active ก็ประกาศมาตรการดูแลความปลอดภัยเรียกความเชื่อมั่นด้วยเช่นกัน แบ่งเป็นมาตรการสำหรับพนักงานและผู้มาเข้าใช้งาน
มาตรการสำหรับพนักงาน
1. พนักงานทุกคนที่มีไข้ต้องมีใบรับรองแพทย์ก่อนจึงจะกลับมาทำงานได้ตามปกติ
2. ไม่อนุมัติให้พนักงานเดินทางไปประเทศกลุ่มเสี่ยง
3. กรณีพนักงานกลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงให้พักสังเกตอาการ 14 วัน
มาตรการสำหรับผู้เข้าใช้บริการ
1. เพิ่มจุดบริการเจลล้างมือและสเปรย์ฆ่าเชื้อ
2. เพิ่มจำนวนครั้งการทำความสะอาดฆ่าเชื้อ Gym Floor และเครื่องออกกำลังกาย
3. เพิ่มจำนวนครั้งการทำความสะอาดฆ่าเชื้อห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ตู้ล็อกเกอร์และทั่วบริเวณคลับ
เหตุการณ์นี้ยังไม่เห็นได้ชัดในบ้านเรา แต่ว่าเป็นกรณีศึกษาที่น่าเอาอย่างจากจีนสำหรับบริการอาหาร Delivery ทั้งหลายในวันโรคระบาดแพร่กระจายและคนไม่อยากออกจากบ้านจนต้องสั่งอาหาร ทำอย่างไรเราถึงจะมั่นใจได้ว่าอาหารที่มาถึงบ้านเรามันปลอดภัยที่สุด
“จีน” หนึ่งในประเทศต้นทางที่วันนี้ควบคุมการแพร่กระจายของผู้ติดเชื้อได้ดีขึ้น ลดสถานพยาบาลลงเราคนที่รักษาหายจากโควิด-19 แล้ว บริษัทฟาร์สฟู้ดในจีนหลายแห่งเขาใช้วิธี “contactless” หรือ “ให้บริการลูกค้าแบบไร้สัมผัส” เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าอาหารที่สั่งให้ไปส่งยังไงก็ปลอดภัยที่สุดอย่างแน่นอน
1. Mcdonald ในจีน
2. Starbucks สาขาปักกิ่ง
อ้างอิงข้อมูล: 1
สุดท้ายเราขอยกตัวอย่างกลยุทธ์การตลาดปรับตัวของธุรกิจที่พับโครงการกันระนาวอย่างธุรกิจอีเวนต์ ไม่ว่าจะไซซ์เล็กและใหญ่ขนาดไหนล้วนได้รับผลกระทบกันทั้งนั้น ความน่าสนใจคือธุรกิจอีเวนต์คือศูนย์กลางที่จะจับลูกค้ากับพ่อค้าแม่ขายมาเจอกัน และโดยมากมักไม่ใช่ธุรกิจเดียว เปิดบูธทีก็มีหลายกิจการมารวมอยู่ในนั้น
สำหรับกรณีศึกษาด้านการตลาดที่เราเอามาฝากยกให้เคสของ “มหกรรมสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ” ที่หวยลงเพราะจัดในช่วงพอดี ตอนนี้เขาเปลี่ยนช่องทางไปจัดอีเวนต์ทางออนไลน์แทนแล้ว ซึ่งก็ถือว่าเป็นการเปิด Festival อย่างยิ่งใหญ่ทางออนไลน์ครั้งแรก ใครที่อยากจะเข้าไปดูความเคลื่อนไหวว่าเราจะได้สิทธิพิเศษอะไรเพิ่ม แตกต่างจากปกติที่เราไปหรือเปล่า เข้าไปดูได้ที่ https://www.facebook.com/bookthai
อีกมุมสำหรับใครที่คิดว่าคนแห่ไปออนไลน์แล้วออนไลน์จะยืนนิ่งเฉย ๆ ให้มีคู่แข่งเพิ่มขึ้นเข้ามาแย่งตลาดในช่วง Covid-19 เราคงต้องบอกว่าไม่ใช่ เพราะช่วงเวลานี้ธุรกิจออนไลน์ก็เร่งทำแคมเปญสื่อสารลดแลกแจกแถมผู้บริโภค และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์เช่นกัน
ช่วงเวลาที่ไทยต้องช่วยไทย คนต้องเห็นใจกัน การจัดโปรโมชั่นเรียกคะแนนยามยากเหล่านี้มักจะออกมาให้เห็นกัน
5 ธุรกิจที่เรานำเสนอไป ถ้าวิธีการมันเวิร์กสำหรับคุณ เชิญลอกเลียนและทำตามได้เลย ไม่จดลิขสิทธิ์ เพราะมันคือทางออกของพวกเราและความปลอดภัยของส่วนรวม ทำไปยังไงก็ได้มากกว่าเสีย ส่วนใครที่ไม่อยู่ในอุตสาหกรรมเหล่านี้ ถึงจะไม่สามารถใช้ได้โดยตรง แต่ถ้าดึงเอาข้อดีบางส่วนออกมาประยุกต์เพื่อสร้างความเชื่อมั่น เราก็เชื่อว่ามันก็เป็นทางออกที่ใช้งานได้ดีไม่ต่างกัน